ธนาคารกับเวลา

(ภาพประกอบจากอินเตอร์เน็ต)

ทำไมเราถึงเรียก "ปัจจุบัน" ว่า "Present" ลองจินตนาการว่ามีธนาคารแห่งหนึ่ง
เข้าบัญชีให้คุณทุกเช้า เป็นเงิน 86,400 บาท ไม่มีการ “ยกยอด”คงเหลือไปวันรุ่งขึ้น 
ทุกตอนเย็นจะลบยอดคงเหลือทั้งหมดที่คุณไม่ได้ใช้ระหว่างวัน คุณจะทำอย่างไร?

ลองคิดดูนะคะ ว่าคุณจะนำเงินไปทำอะไรบ้าง จะทำอย่างไรกับมันบ้าง
กับเงินจำนวนเท่านี้ ไม่มีการสะสมยอดในวันถัดไป
คุณจะเลือกใช้ให้หมดทุกบาททุกสตางค์เลยรึป่าว?
แน่นอนที่สุด คุณต้องคิดอยากจะถอนมาใช้ทุกบาททุกสตางค์ ใช่ไหม!!! 
เราทุกคนมีธนาคารอย่างนั้นเหมือนกัน ธนาคารแห่งนี้ชื่อว่า "เวลา" 
มันเข้าบัญชีให้คุณ 86,400 วินาที ทุกคืนมันจะถูกล้างบัญชี 
ถือว่า “ขาดทุน” ตามจำนวนที่คุณพลาดโอกาสที่จะลงทุนในสิ่งดี ๆ 
มันไม่สะสมยอดคงเหลือ ไม่ให้เบิกเกินบัญชี ในแต่ละวันจะเปิดบัญชีใหม่ให้คุณ 
ทุกค่ำคืนจะลบยอดคงเหลือของทั้งวันออกหมด

ถ้าคุณเสียโอกาสที่จะใช้ประโยชน์ในระหว่างวัน ผลขาดทุนเป็นของคุณ 
ไม่สามารถถอยหลังกลับไปได้ ไม่มีการถอนของ "วันพรุ่งนี้" มาใช้ได้
คุณต้องมีชีวิตอยู่กับปัจจุบันด้วยยอดเงินฝากของวันนี้ 
ให้ลงทุนจากเงินฝากเหล่านี้ เพื่อได้ผลตอบแทนมาสูงสุด 
ไม่ว่าจะเป็นเพื่อสุขภาพ ความสุข และความสำเร็จ! นาฬิกากำลังเดิน ทำวันนี้ให้ดีที่สุด

คุณจะรู้ถึงคุณค่าของเวลา “หนึ่งปี” ให้ไปถาม “นักเรียนที่สอบตกต้องซ้ำชั้น” 
คุณจะรู้ถึงคุณค่าของเวลา “หนึ่งเดือน” ให้ไปถาม “คุณแม่ที่คลอดลูกก่อนกำหนด” 
คุณจะรู้ถึงคุณค่าของเวลา “หนึ่งสัปดาห์” ให้ไปถาม “นักเขียนหนังสือพิมพ์รายสัปดาห์”
คุณจะรู้ถึงคุณค่าของเวลา “หนึ่งชั่วโมง” ให้ไปถาม “คนรักที่กำลังรอคอยตามนัดหมาย” 
คุณจะรู้ถึงคุณค่าของเวลา “หนึ่งนาที” ให้ไปถาม “คนที่เพิ่งพลาดขบวนรถไฟ” 
คุณจะรู้ถึงคุณค่าของเวลา “หนึ่งวินาที” ให้ไปถาม “คนที่เพิ่งรอดชีวิตหวุดหวิดจากอุบัติเหตุ” 
คุณจะรู้ถึงคุณค่าของเวลา “เสี้ยววินาที” ให้ไปถาม “คนที่เพิ่งชนะได้รางวัลเหรียญทองโอลิมปิค”

ทำทุกขณะที่คุณมีให้มีคุณค่า! 
และทำให้มีคุณค่ามากขึ้นไปอีกเพราะคุณใช้มันร่วมกับคนพิเศษบางคน 
ให้พิเศษเพียงพอที่จะใช้เวลาของคุณ และจำไว้เสมอว่าเวลาไม่คอยใครแม้สักคนเดียว

เมื่อวานเป็นอดีต พรุ่งนี้ยังยากที่จะอธิบาย ปัจจุบัน จึงเป็นเหมือนของขวัญสำหรับเรา 
นั่นไงทำไมเราถึงเรียก "ปัจจุบัน" ว่า "Present"....

 

โดย คุณสุญาโณ จงตระกูลศิริ