จากประตูแห่งความเชื่อ สู่ประตูศักดิ์สิทธิ์ (ตอนที่ 9)

(ภาพประกอบจากอินเตอร์เน็ต)

จากประตูแห่งความเชื่อ สู่ประตูศักดิ์สิทธิ์ (ตอนที่ 9)
PORTA FIDEI (The Door of Faith) to PORTA SANCTA (The Holy Door)

              

              ความเดิมเมื่อตอนที่แล้วได้พูดถึงว่า ความแตกต่างระหว่าง ความเมตตา (Mercy) และความกรุณา (Compassion) โดยอธิบายความหมายของคำว่า ความเมตตา มีความหมายอย่างไรในปีศักดิ์สิทธิ์แห่งเมตตาธรรม ซึ่งความเมตตาจะต้องมีคำว่า ความรักและการให้อภัย มาเกี่ยวข้องด้วย เช่น เรื่องบิดาผู้ใจดี (ลก 15: 11-33), เรื่องราวชาวสะมาเรียใจดี (ลก 10:29-37) เป็นต้น ฉบับนี้จะพูดถึง ความกรุณา 

              ความกรุณา หมายถึง เมื่อเห็นใครคนใดคนหนึ่งได้รับบาดเจ็บ ขาดแคลน เรามีความรู้สึกอยากจะช่วยเหลือคนเหล่านั้น เช่น เห็นคนนั่งไม่มีเสื้อใส่ท่ามกลางอากาศหนาวเย็น เราให้เสื้อของเราแก่เขา

              เราเห็นตัวอย่างของพระเยซูเจ้าได้ทรงกระทำที่แสดงให้เห็นถึงความกรุณาของพระเป็นเจ้า

              มัทธิว 9:36  “เมื่อ​พระ​องค์​ทอด​พระ​เนตร​เห็น​ประชาชน ก็​ทรง​สงสาร เพราะ​เขา​เหล่า​นั้น​เหน็ดเหนื่อย​และ​ท้อแท้​ประดุจ​ฝูง​แกะ​ที่​ไม่​มี​คน​เลี้ยง”

              เรามีความรู้สึกเหมือนพระเยซูเจ้าไหม? เรารู้สึกอยากจะช่วยเหลือคนที่ทิ้งวัด เพราะนักบุญยอห์นบันทึกว่า “เพราะ​พระ​เจ้า​ทรง​ส่ง​พระ​บุตร​มา​ใน​โลก​นี้​มิใช่​เพื่อ​ตัดสิน​ลงโทษ​โลก​แต่​เพื่อ​โลก​จะ​ได้​รับ​ความ​รอด​พ้น​เดชะ​พระ​บุตร​นั้น” (ยน 3:17)

              มัทธิว 20:34   “พระ​เยซู​เจ้า​ทรง​สงสาร ทรง​สัมผัส​นัยน์ตา​ของ​เขา ทัน​ใด​นั้น เขา​กลับ​มองเห็น และ​ติดตาม​พระ​องค์​ไป”

              การรักษาคนตาบอดของพระเยซูเจ้า เพราะการร้องตะโกนขอให้พระเยซูเจ้ารักษา เรามีความรู้สึกเหมือนพระเยซูเจ้าไหม? ถูกขอร้องและตอบสนองคำข้อร้องนั้นด้วยความกรุณา

              ลูกา 19:41-42 ขณะที่​พระ​เยซู​เจ้า​เสด็จ​มา​ใกล้​กรุง​เย​รู​ซา​เล็ม พระ​องค์​ทอด​พระ​เนตร​เมือง​นั้น​แล้ว​ทรง​พระ​กันแสง  ตรัส​ว่า ‘ถ้า​ใน​วันนี้​เจ้า​เพียง​แต่​รู้จัก​ทาง​นำ​ไป​สู่​สันติก็​จะ​เป็น​การ​ดี แต่​ทาง​นั้น​ถูก​ซ่อน​ไว้​จาก​ดวงตา​ของ​เจ้า​เสียแล้ว

              การที่พระเยซูเจ้าทรงพระกันแสง ต่อผู้ที่ปฏิเสธพระองค์ เป็นการพิสูจน์ให้เห็นว่า พระเป็นเจ้า ไม่มีพระประสงค์ที่จะลงโทษมนุษย์  แต่ทรงมีความกรุณาต่อมนุษย์เสมอ “ถ้า​ภารกิจ​ที่​นำ​ไป​สู่​การ​ตัดสิน​ลงโทษ​ยัง​มี​ความ​สว่าง​รุ่งโรจน์​แล้ว ภารกิจ​ที่​ให้​ความ​ชอบ​ธรรม​ก็​ยิ่ง​จะ​สว่าง​รุ่งโรจน์​มาก​กว่า​นั้น” (2 คร 3:9) ซึ่งพระเยซูเจ้าทรงรู้ดีถึงการถูกทำลายกรุงเยรูซาเล็ม “วัน​นั้น​จะ​มา​ถึง​เจ้า เมื่อ​ข้าศึก​สร้าง​ที่มั่น​ล้อม​เจ้า จะ​ตรึง​เจ้า​ไว้​อย่าง​แน่นหนา​รอบ​ทุก​ด้านจะ​บุก​ทำลาย​เจ้า​และ​ลูก​หลาน​ที่​อาศัย​อยู่​ใน​เจ้า​จน​ราบ​เป็น​หน้า​กลอง และ​จะ​ไม่​ปล่อย​ให้​มี​ก้อน​หิน​ซ้อน​กัน​อยู่​ใน​เจ้า​อีก เพราะ​เจ้า​ไม่​รู้จัก​เวลา​ที่​พระ​เจ้า​เสด็จ​มา​เยี่ยม​เจ้า” (ลก 19:43-44)

              นี่คือความหมายของความกรุณา

              ดังนั้น ความแตกต่างระหว่างความเมตตาและความกรุณา คือ

              ความเมตตา คือ การให้โอกาสใหม่อีกครั้ง มีการสำนึกผิด มีการให้อภัย มีความรักเข้ามาเกี่ยวข้องด้วย (หากไม่เข้าใจลองกลับไปอ่านตอนที่ 8)

              ความกรุณา คือ เป็นความรู้สึกที่จะช่วยเหลือผู้ที่ขาดแคลนทั้งกายและใจ

              สำหรับพระเป็นเจ้า มีทั้งความเมตตาและความกรุณาต่อเราเสมอพระองค์ให้อภัยเราจากบาปต่าง และยังคอยช่วยเหลือเราทั้งกายและใจด้วย

              ด้วยเหตุนี้เอง คติพจน์ปีศักดิ์สิทธิ์แห่งเมตตาธรรม จึงเน้นว่า “จง​เป็น​ผู้​เมตตากรุณา​ดังที่​พระ​บิดา​ของ​ท่าน​ทรง​พระ​เมตตากรุณา​เถิด” (ลก 6:36)

              “สุดท้าย​นี้ท่าน​ทั้ง​หลาย​จง​มี​ความ​คิด​เห็น​พ้อง​ต้องกัน ร่วมทุกข์ร่วมสุข​ด้วย​กัน รัก​กัน​ฉัน​พี่​น้อง เห็นใจ​กัน​และ​รู้จัก​ถ่อม​ตน” (1ปต 3:8); “ เพราะว่า เมื่อ​เรา​หิว ท่าน​ให้​เรา​กิน เรา​กระหาย ท่าน​ให้​เรา​ดื่ม เรา​เป็น​แขก​แปลก​หน้า ท่าน​ก็​ต้อนรับ เรา​ไม่​มี​เสื้อผ้า ท่าน​ก็​ให้​เสื้อผ้า​แก่​เรา เรา​เจ็บป่วย ท่าน​ก็​มา​เยี่ยม เรา​อยู่​ใน​คุก ท่าน​ก็​มา​หา”(มธ. 25:35-36);   “แล้ว​พระ​มหา​กษัตริย์​จะ​ตรัส​แก่​ผู้​ที่อยู่​เบื้องขวา​ว่า ‘เชิญ​มา​เถิด ท่าน​ทั้ง​หลาย​ที่​ได้​รับ​พระ​พร​จาก​พระ​บิดา​ของ​เรา เชิญ​มา​รับ​อาณา​จักร​เป็น​มรดก​ที่​เตรียม​ไว้​ให้​ท่าน​แล้ว​ตั้งแต่​สร้าง​โลก (มธ 25:34)


(อ่านต่อฉบับหน้า)