ผู้สูงอายุ

(ภาพประกอบจากอินเตอร์เน็ต)

          ในปัจจุบันนี้ประชากรโลก รวมถึงประเทศไทยด้วย จะมีแนวโน้มก้าวเข้าสู่ผู้สูงอายุซึ่งมีอายุ 60 ปีขึ้นไปมากขึ้น จากสถิติแนวโน้มประชากรโลกมีผู้สูงอายุเพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่องและคาดว่าในปี ค.ศ.2050 ประชากรโลกจะมีมากกว่า 9 พันล้านคน และในจํานวนนี้ประมาณ 2 พันล้านคนเป็นผู้สูงอายุ

          *จากรายงานของสหประชาชาติปรากฏว่า ใน พ.ศ. ๒๕๔๒ มีผู้สูงอายุที่มีอายุตั้งแต่ ๖๐ ปีขึ้นไปทั่วโลกประมาณ ๖๐๐ ล้านคน คิดเป็น ๑ ในทุก ๑๐ คนของประชากรโลกส่วนใหญ่ (ร้อยละ ๕๓) ของผู้สูงอายุอยู่ในทวีปเอเชียรองลงมา (ร้อยละ ๒๕) อยู่ในทวีปยุโรป ซึ่งเป็นทวีปที่มีประชากรมากเป็นอันดับที่ ๑ และที่ ๒ ของโลกตามลำดับ คาดการณ์ว่า ใน พ.ศ. ๒๕๙๓ จะมีผู้สูงอายุประมาณ ๒ พันล้านคน คิดเป็น ๑ ใน ทุก ๕ คนของประชากรโลก และจะเป็นครั้งแรกในประวัติศาสตร์ของมนุษยชาติที่มีประชากรผู้สูงอายุมากกว่าประชากรเด็กอายุ ๑๐ - ๑๔ ปี

          สำหรับประเทศไทยก็กำลังเข้าสู่ภาวะสังคมของผู้สูงอายุอย่างรวดเร็ว เห็นได้จาก ใน พ.ศ. ๒๕๐๓ สัดส่วนของผู้สูงอายุต่อประชากรทั่วประเทศมีเพียงร้อยละ ๒.๒  ต่อมาเพิ่มเป็นร้อยละ ๘.๘ ใน พ.ศ. ๒๕๔๓ และคาดว่าจะเพิ่มเป็นร้อยละ ๑๕.๓ ใน พ.ศ. ๒๕๖๓ แสดงให้เห็นว่า ในช่วงเวลา ๖๐ ปี สัดส่วนของผู้สูงอายุในประเทศไทยเพิ่มขึ้นถึง ๗ เท่าตัว*1

          จากข้อมูลดังกล่าว จะเห็นว่ากลุ่มผู้อายุ มีแนวโน้มที่จะมากขึ้น มากขึ้นและมากขึ้น พระศาสนจักรเองก็ตระหนักถึงแนวโน้มนี้ จึงให้ความสำคัญและไม่ลืมที่จะทำงานอภิบาลกับกลุ่มผู้สูงอายุ

          นักบุญพระสันตะปาปายอห์นปอลที่ ๒ได้สนับสนุนการทำงานอภิบาลกับกลุ่มผู้สูงอายุ ท่านได้เขียน“สาสน์ถึงผู้สูงอายุ” ในปี 1999โดยเริ่มต้นด้วยคำว่“ในฐานะที่ข้าพเจ้าเป็นผู้สูงอายุ ข้าพเจ้าปรารถนาที่จะพูดคุยกับท่าน............ความยากลำบากในชีวิตประจำวันจะได้รับความบรรเทาจากความช่วยเหลือของพระเป็นเจ้า”  นักบุญยอห์นปอลที่ 2 ยังได้ให้กำลังใจบรรดาผู้สูงอายุ ด้วยข้อความในพระคัมภีร์ว่า  “ผู้สูงอายุเป็นพระพรจากพระเป็นเจ้า” 

           

         “แต่จงเดินตามทางซึ่งพระยาห์เวห์พระเจ้าของท่านทรงบัญชาท่านไว้ทุกประการเพื่อท่านจะได้อยู่อย่างมีความสุขและจะมีชีวิตยืนยาวในแผ่นดินที่ท่านกำลังเข้ายึดครอง”  (ฉธบ. 5:33)

         “อับราฮัมมีอายุหนึ่งร้อยเจ็ดสิบห้าปีจึงสิ้นชีวิตในวัยชราอันยาวนานและผาสุกไปรวมอยู่กับบรรดาบรรพบุรุษ” (ปฐก 25:7-8)

           

          ท่านผู้สูงอายุ ท่านเป็นบุคคลที่มีค่าในพระศาสนจักร ท่านมีความรู้และความรอบรู้ ท่านคือบุคคลที่หนังสือสุภาษิตบทที่ 3 ข้อที่ 13-16 ได้เขียนไว้ว่า “มนุษย์ที่พบปรีชาญาณและคนที่ได้รับความเข้าใจย่อมเป็นสุขการได้ปรีชาญาณมาย่อมดีกว่าการได้เงิน เป็นกำไรมากกว่าการมีทองคำปรีชาญาณประเสริฐกว่าไข่มุกแม้สิ่งที่ลูกปรารถนามากที่สุดก็เทียบกับปรีชาญาณไม่ได้ชีวิตยืนยาวอยู่ในมือขวาของปรีชาญาณความมั่งคั่งและเกียรติยศอยู่ในมือซ้าย”



1 ข้อมูลจาก http://guru.sanook.com/1612/แนวโน้มการเพิ่มประชากรผู้สูงอายุทั่วโลกและในประเทศไทย/