ผู้สูงอายุ

(ภาพประกอบจากอินเตอร์เน็ต)

          ในปัจจุบันนี้ประชากรโลก รวมถึงประเทศไทยด้วย จะมีแนวโน้มก้าวเข้าสู่ผู้สูงอายุซึ่งมีอายุ 60 ปีขึ้นไปมากขึ้น จากสถิติแนวโน้มประชากรโลกมีผู้สูงอายุเพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่องและคาดว่าในปี ค.ศ.2050 ประชากรโลกจะมีมากกว่า 9 พันล้านคน และในจํานวนนี้ประมาณ 2 พันล้านคนเป็นผู้สูงอายุ

          *จากรายงานของสหประชาชาติปรากฏว่า ใน พ.ศ. ๒๕๔๒ มีผู้สูงอายุที่มีอายุตั้งแต่ ๖๐ ปีขึ้นไปทั่วโลกประมาณ ๖๐๐ ล้านคน คิดเป็น ๑ ในทุก ๑๐ คนของประชากรโลกส่วนใหญ่ (ร้อยละ ๕๓) ของผู้สูงอายุอยู่ในทวีปเอเชียรองลงมา (ร้อยละ ๒๕) อยู่ในทวีปยุโรป ซึ่งเป็นทวีปที่มีประชากรมากเป็นอันดับที่ ๑ และที่ ๒ ของโลกตามลำดับ คาดการณ์ว่า ใน พ.ศ. ๒๕๙๓ จะมีผู้สูงอายุประมาณ ๒ พันล้านคน คิดเป็น ๑ ใน ทุก ๕ คนของประชากรโลก และจะเป็นครั้งแรกในประวัติศาสตร์ของมนุษยชาติที่มีประชากรผู้สูงอายุมากกว่าประชากรเด็กอายุ ๑๐ - ๑๔ ปี

          สำหรับประเทศไทยก็กำลังเข้าสู่ภาวะสังคมของผู้สูงอายุอย่างรวดเร็ว เห็นได้จาก ใน พ.ศ. ๒๕๐๓ สัดส่วนของผู้สูงอายุต่อประชากรทั่วประเทศมีเพียงร้อยละ ๒.๒  ต่อมาเพิ่มเป็นร้อยละ ๘.๘ ใน พ.ศ. ๒๕๔๓ และคาดว่าจะเพิ่มเป็นร้อยละ ๑๕.๓ ใน พ.ศ. ๒๕๖๓ แสดงให้เห็นว่า ในช่วงเวลา ๖๐ ปี สัดส่วนของผู้สูงอายุในประเทศไทยเพิ่มขึ้นถึง ๗ เท่าตัว*1

          จากข้อมูลดังกล่าว จะเห็นว่ากลุ่มผู้อายุ มีแนวโน้มที่จะมากขึ้น มากขึ้นและมากขึ้น พระศาสนจักรเองก็ตระหนักถึงแนวโน้มนี้ จึงให้ความสำคัญและไม่ลืมที่จะทำงานอภิบาลกับกลุ่มผู้สูงอายุ

          นักบุญพระสันตะปาปายอห์นปอลที่ ๒ได้สนับสนุนการทำงานอภิบาลกับกลุ่มผู้สูงอายุ ท่านได้เขียน“สาสน์ถึงผู้สูงอายุ” ในปี 1999โดยเริ่มต้นด้วยคำว่“ในฐานะที่ข้าพเจ้าเป็นผู้สูงอายุ ข้าพเจ้าปรารถนาที่จะพูดคุยกับท่าน............ความยากลำบากในชีวิตประจำวันจะได้รับความบรรเทาจากความช่วยเหลือของพระเป็นเจ้า”  นักบุญยอห์นปอลที่ 2 ยังได้ให้กำลังใจบรรดาผู้สูงอายุ ด้วยข้อความในพระคัมภีร์ว่า  “ผู้สูงอายุเป็นพระพรจากพระเป็นเจ้า” 

           

         “แต่จงเดินตามทางซึ่งพระยาห์เวห์พระเจ้าของท่านทรงบัญชาท่านไว้ทุกประการเพื่อท่านจะได้อยู่อย่างมีความสุขและจะมีชีวิตยืนยาวในแผ่นดินที่ท่านกำลังเข้ายึดครอง”  (ฉธบ. 5:33)

         “อับราฮัมมีอายุหนึ่งร้อยเจ็ดสิบห้าปีจึงสิ้นชีวิตในวัยชราอันยาวนานและผาสุกไปรวมอยู่กับบรรดาบรรพบุรุษ” (ปฐก 25:7-8)

           

          ท่านผู้สูงอายุ ท่านเป็นบุคคลที่มีค่าในพระศาสนจักร ท่านมีความรู้และความรอบรู้ ท่านคือบุคคลที่หนังสือสุภาษิตบทที่ 3 ข้อที่ 13-16 ได้เขียนไว้ว่า “มนุษย์ที่พบปรีชาญาณและคนที่ได้รับความเข้าใจย่อมเป็นสุขการได้ปรีชาญาณมาย่อมดีกว่าการได้เงิน เป็นกำไรมากกว่าการมีทองคำปรีชาญาณประเสริฐกว่าไข่มุกแม้สิ่งที่ลูกปรารถนามากที่สุดก็เทียบกับปรีชาญาณไม่ได้ชีวิตยืนยาวอยู่ในมือขวาของปรีชาญาณความมั่งคั่งและเกียรติยศอยู่ในมือซ้าย”



1 ข้อมูลจาก http://guru.sanook.com/1612/แนวโน้มการเพิ่มประชากรผู้สูงอายุทั่วโลกและในประเทศไทย/

สถิติการเยี่ยมชม

10486978
Today
Yesterday
This Week
Last Week
This Month
Last Month
All days
1411
3833
7954
10448190
7954
124638
10486978
Your IP: 3.146.37.222
Server Time: 2024-12-03 03:13:10

แบบฟอร์ม

instagram

พระศาสนจักร


สื่อ YOUTUBE


Laudato si’

บทเรียนคำสอน





บทภาวนา

พิธีกรรมต่างๆ

เอกสารพระศาสนจักร

บทความคำสอน



KAMSONCHAN

 

   องค์กรคาทอลิก              คณะนักบวช  
 

สภาพระสังฆราชคาทอลิกแห่งประเทศไทย
คณะกรรมการคาทอลิกเพื่อคริสตศาสนธรรม
แผนกคริสตศาสนธรรม
อัครสังฆมณฑลกรุงเทพฯ
ศูนย์คริสตศาสนธรรม อัครสังฆมณฑลกรุงเทพฯ
สังฆมณฑลจันทบุรี
คณะรักกางเขนแห่งจันทบุรี
มูลนิธิสงเคราะห์เด็ก พัทยา
คามิลเลียนโซเชียลเซนเตอร์ ระยอง

  สังฆมณฑลนครราชสีมา                       
ศูนย์คริสตศาสนธรรม สังฆมณฑลนครราชสีมา
สังฆมณฑลอุบลราชธานี
ศูนย์คริสตศาสนธรรม สังฆมณฑลอุบลราชธานี   
สังฆมณฑลราชบุรี
ศูนย์คริสตศาสนธรรม สังฆมณฑลราชบุรี
ศูนย์คริสตศาสนธรรม สังฆมณฑลราชบุรี
สังฆมณฑลนครสวรรค์
สังฆมณฑลเชียงใหม่
  สังฆมณฑลสุราษฎ์ธานี
สังฆมณฑลอุดรธานี
ศูนย์คริสตศาสนธรรม สังฆมณฑลอุดรธานี

สภาการศึกษาคาทอลิกประเทศไทย
คณะกรรมการคาทอลิกเพื่อความยุติธรรมและสันติ (ยส.)
คณะกรรมการคาทอลิกเพื่อพระคัมภีร์
คณะกรรมการคาทอลิกเพื่อสุขภาพอนามัย
สื่อมวลชนคาทอลิกประเทศไทย
สื่อมวลชนคาทอลิกประเทศไทย (อุดมสาร)
  ชมรมอธิการิณีเจ้าคณะนักบวชแห่งประเทศไทย
คณะภคินีเซนต์ปอลเดอร์ชาร์ต
คณะภคินีศรีชุมพาบาล       
คณะพระมหาไถ่แห่งประเทศไทย
คณะเซนต์คาเบรียล
คณะซาเลเซียน
คณะซาเลเซียน (ซิสเตอร์)
กางเขนแดงสาร

 



JSN Megazine template designed by JoomlaShine.com