ก้าวไปกับโป๊ป #5 : บุคคลออทิสติก

บุคคลออทิสติกสามารถเป็นชาวสะมาเรียผู้ใจดีได้ (Person with autism can be a Good Samaritan)

เมื่อวันศุกร์ที่ 1 เมษายน ค.ศ. 2022 พระสันตะปาปาฟรังซิสทรงพบปะคนออทิสติกชาวอิตาลีจำนวน 200 คน จากมูลนิธิออทิสติกอิตาลี เนื่องในโอกาสวันออทิสติกสากล (2 เมษายน) ทรงเรียกร้องให้มีวัฒนธรรมการรวมตัวกัน (a culture of inclusion) ความเป็นเจ้าของ และความเป็นน้ำหนึ่งใจเดียวกันสำหรับบุคคลออทิสติก เพื่อให้พวกเขาไม่เพียงได้รับความสนใจ แต่ยังมีส่วนร่วมและการเข้าถึงสังคม

พระสันตะปาปาทรงขอบคุณมูลนิธิฯ ที่ทำงานวิจัยและให้ความช่วยเหลือผู้ที่อ่อนแอมากที่สุด ผู้ด้อยโอกาสมากที่สุด และต้องต่อสู้กับวัฒนธรรมที่ทิ้งขว้าง (throw-away culture) ที่มองเพียงแค่การแข่งขันและผลประโยชน์ที่จะได้รับ บุคคลออทิสติกสามารถที่จะเป็นพลเมืองที่ดีได้ พวกเขาเป็นเพื่อนพี่น้องกับคนอื่น และใช้พระพรที่พวกเขามีในการรับใช้ชุมชน

วัฒนธรรมแห่งการรวมตัวกันและความเป็นเจ้าของ (Culture of inclusion and belonging)

ผู้พิการในรูปแบบต่าง ๆ เป็นตัวแทนของความท้าทายและโอกาสที่จะสร้างความเป็นหนึ่งเดียวกันให้เกิดขึ้นในสังคม โดยได้รับการสนับสนุนจากครอบครัว คุณครู องค์กรการกุศลต่าง ๆ และทุกคนในสังคมช่วยเหลือกัน สิ่งต่าง ๆ เหล่านี้เรียกร้องความกระตือรือร้นให้หันมามองบุคคลออทิสติก การมีทัศนคติที่ดีต่อเขา

บุคคลออทิสติกสามารถเป็นพลเมืองดีและช่วยเหลือสังคมได้ เช่นเดียวกับซิสเตอร์มาร์กาเร็ตที่เมืองคาสเทลโล (St Margaret of Città di Castello) ประเทศอิตาลี ผู้ที่ได้ถวายชีวิของตนเองแด่พระเจ้า และอุทิศตนเองเพื่อคนยากจน

การมีส่วนร่วม (Participation)

องค์ประกอบที่จำเป็นของวัฒนธรรมแห่งการรวมตัวกัน มีความเป็นไปได้ที่บุคคลออทิสติก (รวมถึงผู้พิการด้านต่าง ๆ) จะมีส่วนร่วมในกิจกรรมต่าง ๆ ในสังคม ทำลายกำแพงแห่งความไม่สมบูรณ์ทางด้านร่างกาย สร้างความมั่นใจว่าพวกเขาสามารถมีส่วนร่วมในการที่จะเป็นผู้ให้ได้ในสังคมและในพระศาสนจักร ทั้งนี้ โดยการสร้างสิ่งอำนวยความสะดวกเพื่อให้พวกเขาเข้าถึงระบบการศึกษา การจ้างงาน และพื้นที่สาธารณะสำหรับพวกเขา ซึ่งรวมถึงการรับฟังความคิดเห็นที่สร้างสรรค์ของพวกเขาด้วย เราต้องช่วยกันเปลี่ยนแปลงทัศนคติ สร้างความเสมอภาค การไม่เลือกปฏิบัติ ต่อผู้พิการต่าง ๆ ทั้งทางด้านสังคมและในพระศาสนจักร

การสร้างเครือข่าย (Networking)

ท่ามกลางการแพร่ระบาด สงคราม ผลกระทบที่เกิดขึ้นกับผู้ที่อ่อนแอ ผู้สูงอายุ ผู้พิการ และครอบครัวของพวกเขา เราต้องสร้างเครือข่ายเพื่อช่วยเหลือซึ่งกันและกัน ด้วยโครงการต่าง ๆ อย่างเป็นรูปธรรมและร่วมมือกัน โดยนำผู้ที่อ่อนแอที่สุดมาวางไว้ที่ใจกลางของสังคมและพระศาสนจักร

เศรษฐกิจเพื่อความเป็นหนึ่งเดียวกัน (An economy of solidarity)

เช่นเดียวกับชีวิตของบรรดาคริสตสมัยแรกเริ่มที่เป็นน้ำหนึ่งใจเดียวกัน พระวรสารยังเป็นแรงบันดาลใจให้เกิดความเป็นพี่น้องกันในศูนย์กลางของระบบเศรษฐกิจ เพื่อไม่ได้ทำให้คนยากจน บุคคลชายขอบ และผู้พิการ ถูกทำให้แยกตัวออกไป จากการแสวงหาผลประโยชน์ส่วนบุคคลและการทำเพื่อตนเองเท่านั้น

องค์กรสาธารณกุศลยังต้องการความช่วยเหลือ ผู้สนับสนุน (และผู้ที่พยายามทำจิตตารมณ์แบบนี้ให้เป็นจริงในพื้นที่ชีวิตของเขา) เพื่อที่จะทำให้เกิดความเข็งแกร่งทางด้านสังคม ความเป็นพี่น้องกัน ซึ่งเป็นหนทางอย่างเป็นรูปธรรมที่จะทำให้การทำธุรกิจเพื่อความเป็นหนึ่งเดียวกัน

พระสันตะปาปาฟรังซิสทรงเลี้ยงอาหารเที่ยงพวกเขาในห้องอาหารของพระองค์ กล่าวว่า จงเป็นชาวสะมาเรียหรือพลเมืองดี เช่นเดียวกับความใจดีของพระเจ้า ที่แสดงออกให้เราเห็นได้ใน ความใกล้ชิด (Closeness) ความเมตตากรุณา (Compassion) และ ความอ่อนโยน (Tenderness) ทั้ง 3 ลักษณะนี้ จะทำให้เราได้เห็นพระพักตร์ของพระเจ้า หัวใจของพระองค์ และรูปแบบของพระเจ้า ...