ก้าวไปกับโป๊ป #87 : พระศาสนจักรในประเทศแคนาดา

#ทำไมพระสันตะปาปาฟรังซิสจึงต้องเสด็จไปแคนาดา (Why does Pope Francis have to go to Canada?)

#พระศาสนจักรคาทอลิกในแคนาดา (Catholic Church in Canada)

เริ่มตั้งแต่วันที่ 7 กรกฎาคม 1534 บาทหลวงชาวฝรั่งเศสเดินทางไปพร้อมกับนักสำรวจชื่อฌาค คาร์เทียร์ (Jacques Cartier) ได้ทำพิธีบูชาขอบพระคุณครั้งแรกบนชายฝั่งของคาบสมุทรแกส-เป (The Gaspé peninsula) โดยชาวฝรั่งเศสเรียกสถานที่แห่งนั้นว่านิวฟรองซ์ (Nouvelle France แปลว่า ฝรั่งเศสใหม่)

ในปี ค.ศ. 1608 การล่าอาณานิคมของฝรั่งเศสได้เริ่มต้นด้วยการก่อตั้งเมืองควิเบก (Québec) และในปี ค.ศ. 1642 ที่เมืองเมืองวิลล์ มารี (Ville Marie) ซึ่งปัจจุบันคือเมืองมอนทรีออล (Montréal เป็นเมืองที่ใหญ่ที่สุดในเขตการปกครองของรัฐควิเบก และเป็นเมืองที่ใหญ่ที่สุดเป็นอันดับ 2 ของประเทศแคนาดา) เมืองหลวงของแคนาดาปัจจุบันคือ กรุงออตตาวา (Ottawa)

ประเทศฝรั่งเศสได้ส่งบรรดามิชชันนารีจำนวนมากไปยังแผ่นดินใหม่นี้ ซึ่งทำงานเผยแพร่ศาสนาให้กับคนพื้นเมือง โดยมีนักบุญองค์แรกที่เป็นชาวพื้นเมืองคนแรกของแคนานาและของทวีปอเมริกาเหนือ ชื่อ #นักบุญคาเทรี เตกกะวิตา (St. Kateri Tekakwitha) โดยพระสันตะปาปากิตติคุณ เบเนดิกต์ ที่ 16 ได้ประกาศให้เป็นนักบุญ และเป็นผู้อุปถัมภ์ของระบบนิเวศวิทยาควบคู่ไปกับนักบุญฟรังซิสแห่งอัสซีซี เมื่อวันที่ 21 ตุลาคม 2012 (ระลึกถึงวันที่ 14 กรกฎาคม)

ปี ค.ศ. 1756-1763 เกิดสงครามเจ็ดปีระหว่างประเทศฝรั่งเศสและประเทศอังกฤษ ส่งผลให้พระศาสนจักรแองกลิกันได้เข้าไปเผยแพร่ในประเทศแคนาดาในขณะนั้น นอกจากนั้นแล้ว ยังมีชาวยูเครนจำนวนมากได้อพยพเข้าไปอยู่ทำให้ประเทศแคนาดาได้มีคริสตชนนิกายตะวันออกยูเครนอาศัยอยู่ มีจำนวนมากเป็นอันดับหนึ่งของทวีปอเมริกาเหนือในปัจจุบันอีกด้วย

#นักบุญพระสันตะปาปายอห์นปอลที่ 2 ได้เสด็จเยือนแคนาดา 3 ครั้ง (St. John Paul had three papal visits) คือ

1) ระหว่างวันที่ 9-20 กันยายน 1984

2) ระหว่างวันที่ 19-20 กันยายน 1987 และ

3) ระหว่างวันที่ 23-28 กรกฎาคม 2002 (โอกาสวันชุมนุมเยาวชนโลกที่เมืองโตรอนโต้)

#สังคมพหุศาสนาและพหุชาติพันธุ์ (A multireligious and multiethnic society)

ปัจจุบัน พระศาสนจักรคาทอลิกเป็นนิกายทางศาสนาที่ใหญ่ที่สุดในประเทศ มีสัดส่วนประมาณ 44% ของประชากรทั้งหมด ตามด้วยโปรเตสแตนต์จากนิกายต่าง ๆ (ซึ่งคิดเป็นเกือบหนึ่งในสาม) ซึ่งส่วนใหญ่เป็นสหคริสตจักร (คองกรีเกชันนัลลิส เมธอดิสต์ และเพรสไบทีเรียน) และยังรวมถึงแองกลิกัน ลูเธอรัน แบปทิสต์ และเพนเทคอสต์ด้วย คริสเตียนออร์โธดอกซ์มีจำนวนน้อยกว่า 2%

นอกจากนี้ยังมีชนกลุ่มน้อยทางศาสนาต่างๆ เช่น มุสลิม ยิว ซิกข์ พุทธ และฮินดู ในปี 2011 ประชากรของแคนาดาประมาณ 7% นับถือศาสนามุสลิม ฮินดู ซิกข์ และพุทธ ชาวแคนาดาจำนวนมากขึ้นเรื่อย ๆ ประกาศว่าไม่มีส่วนเกี่ยวข้องกับศาสนา

#ระบบโรงเรียนที่อยู่อาศัย (The residential school system)

พระศาสนจักรคาทอลิกได้ให้ความช่วยเหลือชาวพื้นเมืองแคนาดา ซึ่งเป็นโครงการที่ได้รับเงินทุนจากรัฐบาล โดยสร้างโรงเรียนพร้อมหอพักให้กับชาวพื้นเมืองเหล่านั้นได้อาศัย พร้อมกับสอนวัฒนธรรมชาวแคนาดาและยุโรปให้กับพวกเขา โดยแยกพวกเขาออกจากครอบครัวและให้อาศัยอยู่รวมกันในโรงเรียนต่าง ๆ

ผลที่ตามมาก็คือ มีเด็กจำนวนมากถูกทอดทิ้ง และถูกทารุณกรรมซึ่งก่อให้เกิดปัญหาระยะยาวในชุมชนพื้นเมือง โดยรวมแล้ว ระหว่างศตวรรษที่ 19 และ 20 มีคนพื้นเมือง 3 เผ่า ได้แก่ ชาติที่หนึ่ง (First Nation), เอสกิโม (Inuit), และ เมติส (Métis) ประมาณ 150,000 คนถูกบังคับให้เข้าเรียนในโรงเรียนเหล่านี้

นับตั้งแต่โรงเรียนแห่งสุดท้ายปิดตัวลงในปี 1997 อดีตนักเรียนได้เรียกร้องการยอมรับและค่าชดเชย ส่งผลให้ข้อตกลงการระงับคดีโรงเรียนที่อยู่อาศัยของอินเดีย (IRSSA) ลงนามในปี 2007 และคำขอโทษต่อสาธารณชนอย่างเป็นทางการจากนายกรัฐมนตรีสตีเฟน ฮาร์เปอร์ (Prime Minister Stephen Harper) ในขณะนั้นในปี 2008

จากการไต่สวน 7 ปีโดยคณะกรรมการความจริงและการปรองดองแห่งแคนาดา (TRC) ได้ข้อสรุปในปี 2015 ว่าเด็กกว่า 3,000 คนเสียชีวิตขณะเข้าเรียนในโรงเรียนเหล่านี้ เนื่องจากการละเลย โรคภัยไข้เจ็บ และการล่วงละเมิดต่าง ๆ

#เครื่องหมายอันน่าตกใจ (Shocking Mark)

เมื่อปลายเดือนพฤษภาคม 2021 ได้การค้นพบหลุมศพที่ไม่มีเครื่องหมายทางศาสนาหลายสิบหลุม ในบริเวณโรงเรียนคามลูปส์ อินเดียน เรสซิเดนเชียล ในรัฐบริติชโคลัมเบีย (Kamloops Indian Residential School, in British Columbia) ซึ่งได้รับความสนใจจากสาธารณชนต่อโศกนาฏกรรมครั้งนี้ และในเดือนกันยายน คณะบิชอปของแคนาดาได้ออกแถลงการณ์ขอโทษอย่างเป็นทางการ โดยให้คำมั่นสัญญาว่าจะให้เงิน 30 ล้านดอลลาร์แคนาดา สนับสนุนกระบวนการบำบัดและการปรองดอง พวกเขายังให้คำมั่นที่จะร่วมมือกับผู้นำของ ชาติที่หนึ่ง (First Nation) เอสกิโม (Inuit) และ เมติส (Métis) เพื่อค้นหาความจริงและในแผนการรักษาต่อไป

#พระสันตะปาปาฟรังซิสทรงทราบข่าว (Pope Francis knew the News.)

คณะบิชอปของแคนาดาพร้อมกับพระสันตะปาปาฟรานซิส ได้กล่าวแสดงความเสียใจต่อเหยื่อเมื่อวันที่ 6 มิถุนายน และ 28 มีนาคม - 1 เมษายน 2021 โดยได้พบกับคณะผู้แทนจากชนพื้นเมืองแคนาดา ชาวเอสกิโม และชาวเมติส ได้ยินเรื่องราวของพวกเขาเกี่ยวกับชีวิตในระบบโรงเรียนที่อยู่อาศัย ณ นครรัฐวาติกัน

#การสนทนากับคริสตจักรและนิกายอื่น ๆ (Dialogue with other Churches and religious denominations)

ในหลายประเด็นเหล่านี้ พระศาสนจักรคาทอลิกในแคนาดาทำงานร่วมกับพระศาสนจักรอื่น ๆ อย่างเป็นทางการตั้งแต่ปี 1997 นอกจากนี้ยังสร้างความสัมพันธ์ที่ดีกับศาสนาอื่น ๆ ในแคนาดา บนพื้นฐานของความเคารพซึ่งกันและกัน คุณค่านิยมของการอยู่ร่วมกัน และความเป็นน้ำหนึ่งใจเดียวกัน...