ก้าวไปกับโป๊ป #209 : อนาคตที่แตกต่างอยู่ในมือคุณ

อนาคตที่แตกต่างอยู่ในมือคณ (‘A different future is in your hands’)

เช้าวันพุธที่ 2 กุมภาพันธ์ 2023 วันที่สามของการเสด็จเยือนสาธารณรัฐประชาธิปไตยคองโก (the Democratic Republic of Congo) อย่างเป็นทางการ พระองค์ได้ทรงพบปะกับบรรดาเยาวชนและครูคำสอน ณ สนามกีฬาแห่งมรณสักขีในเมืองกินชาซา (the Martyr’s Stadium Kinshasa) เมืองหลวงของสาธารณรัฐประชาธิปไตยคองโก

พระองค์ทรงตรัสว่า ให้บรรดาเยาวชนของคองโกได้จับมือของกันและกัน และระลึกว่า นิ้วมือของแต่ละคนเป็นตัวแทนของส่วนผสมหรือองค์ประกอบที่ทำให้เกิดความแตกต่างกันกันในอนาคต

ประการแรก พระองค์ตั้งข้อสังเกตว่า มือของแต่ละคนไม่เหมือนกัน เช่นเดียวกับที่แต่ละคนเป็นสมบัติที่มีเอกลักษณ์และไม่สามารถทำซ้ำได้ ในขณะเดียวกัน เราแต่ละคนต้องเลือกว่าจะกำมือแน่นหรือจะแบมือเพื่อถวายแด่พระเจ้าและผู้อื่น

การอธิษฐานภาวนาอย่างมีชีวิตชีวา (Living prayer)

นิ้วหัวแม่มือของเราอยู่ใกล้หัวใจที่สุด ดังนั้นจึงเป็นสัญลักษณ์ของการอธิษฐานซึ่งเป็นพลังขับเคลื่อนชีวิตของเรา การอธิษฐานเป็นส่วนประกอบพื้นฐานสำหรับอนาคตของเรา และเราจำเป็นต้องฟังพระวาจาของพระเจ้าและปลูกฝัง “การอธิษฐานที่มีชีวิตชีวา” เพื่อที่จะเติบโตภายในใจ

“พระเยซูเจ้ามีชัยชนะเหนือความชั่วร้าย พระองค์ทรงข้ามสะพานไปสู่การฟื้นคืนชีพ ดังนั้น จงยกมือขึ้นหาพระองค์ทุกวัน สรรเสริญพระองค์และขอพระพรจากพระองค์”

เราควรพูดกับพระเยซูเจ้าในฐานที่พระองค์ทรงเป็นเพื่อนที่ดีที่สุดของเรา ฝากความกลัวไว้กับพระองค์ และบอก “ความลับที่ลึกที่สุดในชีวิตของเราให้กับพระองค์ทรงทราบ”

“พระเจ้าทรงรักการอธิษฐานภาวนาที่เป็นรูปธรรมและจริงใจแบบนี้ สิ่งนี้ยอมให้พระองค์เข้ามาแทรกแซงเข้าสู่ชีวิตประจำวันของเราด้วยวิธีพิเศษ โดยมาพร้อมกับ 'พลังแห่งสันติสุข' ของพระองค์ ซึ่งก็คือพระจิตเจ้า”

การสร้างหมู่คณะ (Community-building)

จากนั้นพระสันตะปาปาฟรานซิสก็กล่าวถึง “นิ้วชี้” ซึ่งหมายถึง "ชุมชน" พระองค์ทรงเรียกร้องให้คนหนุ่มสาวชาวคองโกอย่าแยกตัวเองจากกันและกัน แต่ให้โอบกอดคนรอบข้างที่ดูโดดเดี่ยวหรือกำลังทุกข์ทรมาน การใช้ยาเสพติดหรือการใช้เวทมนตร์ ทำให้ผู้ติดยารู้สึกว่ามีอำนาจ แต่ในความเป็นจริงกลับพรากบุคคลนั้นไปจากทุกสิ่งที่พวกเขารัก

โซเชียลมีเดียยังสามารถทำให้ผู้ที่ใช้เวลาเลื่อนหรือปัด (การเล่นโทรศัพท์มือถือ) มากเกินไปสับสนได้ ไม่มีอะไรสามารถทดแทนพลังงานที่เราได้รับจากการอยู่ด้วยกัน นั่นก็คือ ประกายในดวงตาของเรา และความสุขในการแลกเปลี่ยนความคิดระหว่างกันและกัน

ชาวคองโกรุ่นเยาว์ได้รับเรียกให้สร้างชุมชน ส่งเสริมความเป็นพี่น้องกัน และฝันถึงโลกที่เป็นหนึ่งเดียวมากขึ้น “ฉันรู้ว่าคุณได้แสดงให้เห็นซ้ำแล้วซ้ำเล่าว่า แม้จะเสียสละอย่างยิ่งใหญ่ คุณก็พร้อมที่จะยืนหยัดเพื่อปกป้องสิทธิมนุษยชนและความหวังของอนาคตที่ดีกว่าสำหรับทุกคนในประเทศ”

ซื่อสัตย์เพื่อต่อต้านการทุจริต (Honesty to combat corruption)

ความซื่อสัตย์เป็นส่วนผสมที่สามสำหรับอนาคตที่ดีกว่า และเป็นยาต้านพิษ "มะเร็งแห่งการทุจริต"

พระสันตะปาปาฟรานซิสทรงตรัสอย่างจริงใจต่อประชาชนในสาธารณรัฐประชาธิปไตยคองโกให้ปฏิเสธการคอร์รัปชันทุกรูปแบบ โดยทรงกระตุ้นเป็นภาษาฝรั่งเศสว่า "อย่าพูดถึงการทุจริต!" “อย่าถูกความชั่วเอาชนะ จงเอาชนะความชั่วด้วยความดี”

พระสันตะปาปาทรงระลึกถึงชายหนุ่มวัย 26 ปี ฟลอริเบิร์ต บวานา ชุย ซึ่งถูกสังหารเมื่อ 15 ปีที่แล้วในเมืองโกมา เนื่องจากขวางทางผ่านของอาหารที่บูดเน่าซึ่งอาจเป็นอันตรายต่อสุขภาพของผู้คน พระสันตะปาปาตรัสว่า ชายหนุ่มคริสตชนผู้นี้ อธิษฐานภาวนาขอคำแนะนำและปฏิเสธ "สิ่งโสโครกของการคอรัปชั่น"

“หากมีใครเสนอสินบนหรือสัญญาว่าจะช่วยเหลือและให้เงินจำนวนมาก อย่าตกหลุมพราง อย่าถูกหลอก! อย่าถูกดูดเข้าไปในบึงแห่งความชั่วร้าย!”

การให้อภัยที่จะไม่ทำซ้ำอดีต (Forgiveness to not repeat the past)

พระสันตะปาปาหันไปที่นิ้วนางซึ่งเป็นสัญลักษณ์ของ "การให้อภัย" และทรงระลึกว่าสิ่งที่ยิ่งใหญ่ที่สุดในชีวิตของเราเกี่ยวข้องกับ "ความอ่อนแอ ความเหน็ดเหนื่อย และความยากลำบาก"

"การให้อภัย หมายถึงความสามารถในการเริ่มต้นใหม่ การให้อภัยไม่ได้หมายถึงการลืมอดีต แต่หมายถึงการปฏิเสธที่จะทำซ้ำ"

การรับใช้แม้ในเรื่องเล็กน้อย (Service in littleness)

พระสันตะปาปาทรงสังเกตว่านิ้วก้อยเป็นนิ้วสุดท้ายและนิ้วที่เล็กที่สุดของเรา และเป็นตัวแทนของ “การรับใช้” ของเรา การกระทำของเราต่อผู้อื่นมักจะดูเหมือนน้ำหยดหนึ่งในมหาสมุทร แต่ “การที่เราตัดสินใจกลายเป็นคนเล็กน้อยต่างหากที่ดึงดูดพระเจ้า

ปฏิเสธที่จะท้อแท้ (Refuse to grow discouraged)

โดยสรุป พระสันตะปาปาทรงกระตุ้นให้เยาวชนชาวคองโกคาทอลิกทำงานเพื่ออนาคตที่ดีขึ้นในประเทศของตน โดยพิจารณาองค์ประกอบทั้งห้านี้บ่อยๆ ได้แก่ การอธิษฐานภาวนา การสร้างชุมชน ความซื่อสัตย์ การให้อภัย การรับใช้ และสุดท้าย “อย่าท้อแท้!”