ก้าวไปกับโป๊ป #279 : สื่อมวลชนคาทอลิกควรเสริมสร้างความเป็นหนึ่งเดียวกัน

 สื่อมวลชนคาทอลิกควรเสริมสร้างความเป็นหนึ่งเดียวกัน (Catholic media needs ‘prophetic gaze of communion)

เมื่อวันพุธที่ 7 มิถุนายน 2023 ระหว่างการประชุมสื่อมวลชนคาทอลิกประจำปีในเมืองบัลติมอร์ (Baltimore) รัฐแมริแลนด์ ประเทศสหรัฐอเมริกา ระหว่างวันอังคารที่ 6 ถึง วันศุกร์ที่ 9 มิถุนายน 2023 ประกอบไปด้วย นักข่าว ผู้จัดการด้านสื่อสารมวลชน และบรรณาธิการหลายร้อยคน ซึ่งส่วนใหญ่มาจากประเทศสหรัฐอเมริกา มารวมตัวกันทางออนไลน์ เพื่อสร้างเครือข่ายและแบ่งปันแนวคิดสำหรับอนาคตของการทำงานด้านสื่อมวลชนของพระศาสนจักรคาทอลิก

ดร.เปาโล รัฟฟินี ประธานสมณกระทรวงเพื่อการสื่อสาร (Dr. Paolo Ruffini, the Prefect of the Dicastery for Communication) เรียกร้องให้ผู้สื่อสารคาทอลิกสร้างแรงบันดาลใจจากความเป็นหนึ่งเดียวกัน และการมีส่วนร่วมดังเช่นการทำงานของบรรดาอัครสาวกกลุ่มแรก

ดร. เปาโล รัฟฟินี กล่าวคำปราศรัยต้อนรับผู้ประกอบวิชาชีพสื่อ ซึ่งส่วนใหญ่มาจากสหรัฐอเมริกา โดยมี ดร. นาตาซา โกเวการ์ ผู้อำนวยการแผนกเทววิทยาและงานอภิบาลของสมณกระทรวงเข้าร่วมการประชุมด้วย

เนื่องจากพระสันตะปาปาฟรังซิส เข้ารักษาตัวในโรงพยาบาลเมื่อวันพุธที่ 7 มิถุนายน 2023 ที่ผ่านมา ดร. รัฟฟินีจึงไม่สามารถอยู่ที่การประชุมสื่อมวลชนคาทอลิกได้ และกลับไปยังกรุงโรมทันทีหลังจากกล่าวสุนทรพจน์ของเขาจบลง

วันเปนเตกอสเตหรือหอบาเบล (Pentecost or Babel?)

ในสุนทรพจน์ของ ดร. รัฟฟินีกล่าวว่า การประชุมมีขึ้นเพียงไม่กี่วันหลังจากวันสมโภชพระจิตเจ้า ซึ่งเป็นเหตุการณ์ที่ทำลายโซ่ตรวนแห่งความกลัวที่ผูกมัดบรรดาอัครสาวก หลังจากการสิ้นพระชนม์ของพระเยซูเจ้า และให้พลังแห่งพระจิตเจ้าแก่พวกเขา เพื่อประกาศการฟื้นคืนพระชนมชีพของพระองค์ให้โลกรู้

อย่างไรก็ตาม ดร. รัฟฟินีตั้งข้อสังเกตว่า บางครั้งในยุคสมัยของเรา ก็ดูเหมือนมีความคล้ายคลึงกับความสับสนที่เกิดขึ้นภายหลังการทำลายหอบาเบล ดังที่เล่าไว้ในหนังสือปฐมกาล “มันเหมือนกับว่าต่างคนต่างเข้าใจผิด แล้วก็มาบ่นว่าความเข้าใจผิดนั้น”

พระพรที่แลกเปลี่ยนกันในการใช้สื่อสารมวลชน (Mutual gift of self in media)

ผู้เชี่ยวชาญด้านสื่อคาทอลิก ควรระลึกว่าการสื่อสารของพระศาสนจักร เกิดขึ้นจากการตอบรับการเรียกของพระคริสตเจ้าผู้ทรงฟื้นคืนพระชนมชีพ

“ถ้าเราดูที่รากศัพท์ภาษาละตินของคำว่า 'การสื่อสาร' (communication) เราจะพบว่ามันรวมคำอื่นอีกสองคำเข้าด้วยกันคือคำว่า “ด้วยกัน” (together) และ “ของขวัญ” (munus)

ดร. รัฟฟินีกล่าว “สิ่งนี้บอกกับเราว่า เหนือสิ่งอื่นใด การสื่อสารคือของขวัญที่มีร่วมกันในตัวเรา เป็นของขวัญที่มาจากความสัมพันธ์ที่เราสร้างขึ้นระหว่างกัน”

“ความรักและความเห็นอกเห็นใจ” เป็นภาษาสากลที่ทำให้คริสตชนยุคแรกเป็นที่จดจำของทุกคน และทำให้การมองโลกของพวกเขาแตกต่างออกไป และน่าดึงดูดใจสำหรับคนอื่น ๆ ราวกับเป็น “เครื่องหมายที่ไม่สามารถลบเลือนได้”

“คริสตชนยุคแรกมี 'หัวใจเดียวและจิตวิญญาณเดียว' ดังนั้น การมีส่วนร่วมของพวกเขายังทำให้การสื่อสารของพวกเขาลึกซึ้งยิ่งขึ้นโดยหยั่งรากลึกในพระเจ้า”

การสื่อสารเป็นการมีส่วนร่วม (Communication as communion)

ดร. รัฟฟินีหันความสนใจไปที่ความพยายามของพระศาสนจักรในการสื่อสารที่ดีในสังคมสมัยใหม่ของเรา เขาเชื้อเชิญผู้เชี่ยวชาญด้านการสื่อสารคาทอลิก ให้ยึดคำศัพท์อื่นที่มีรากฐานทางนิรุกติศาสตร์เดียวกันกับการสื่อสาร นั่นก็คือคำว่า "ศีลมหาสนิท"

“ศีลมหาสนิท คือสิ่งที่ทำให้เราเป็นสมาชิกของกันและกัน ศีลมหาสนิทเป็นความลับของการสื่อสารของพระศาสนจักร”

งานสื่อสารมวลชนที่ดีที่สุดไม่มีส่วนเกี่ยวข้องกับการขายผลิตภัณฑ์ แต่เกี่ยวข้องกับการเสนอความสัมพันธ์ และโอกาสในการพบปะผู้คน และ "เรื่องราวที่มีเอกลักษณ์และเต็มไปด้วยความสง่างาม"

“การสื่อสารในพระศาสนจักรหมายถึง การสร้างความเป็นหนึ่งเดียวของเราขึ้นใหม่ โดยเสนอตัวเราเป็นเครื่องมือในการสื่อสาร เป็นพยานว่าเราเป็นหนึ่งเดียวกัน”

ความรักต้องชี้นำความก้าวหน้าทางเทคโนโลยี (Love must guide technological progress)

เทคโนโลยีและโซเชียลมีเดียอาจเปลี่ยนแปลงโลกของเราในช่วงไม่กี่ปีที่ผ่านมา แต่สังเกตว่าเราถูกเรียกให้เป็นผู้นำความก้าวหน้าทางด้านเทคโนโลยี

“เราต้องใช้เทคโนโลยีด้วยหัวใจ ซึ่งเป็นสิ่งที่ทำให้สติปัญญาของเราไม่เหมือนใคร เพราะภารกิจของเราไม่ได้ดำเนินการด้วยสติปัญญา หรือความสามารถของเราในการเชื่อมโยงความรู้เท่านั้น แต่ยังรวมถึงความสามารถของเราที่จะรักด้วย”

ดร. รัฟฟินี อธิบายถึงเอกสารที่เพิ่งเปิดตัวของสมณกระทรวงฯ ที่ชื่อว่า “สู่การแสดงตัวตนอย่างเต็มรูปแบบ: ภาพสะท้อนด้านอภิบาลเกี่ยวกับการมีส่วนร่วมของโซเชียลมีเดีย” (Towards Full Presence: A Pastoral Reflection on Social Media Engagement)

เอกสารดังกล่าวนำเสนอภาพสะท้อนทางเทววิทยาและงานอภิบาล เพื่อช่วยชี้นำการใช้และการมีปฏิสัมพันธ์ของพระศาสนจักรกับสื่อสังคมออนไลน์ในลักษณะที่พิจารณา แทนที่จะเพียงมอบอำนาจด้านบรรณาธิการให้กับอัลกอริธึม (algorithms คือ คำสั่งหรือเงื่อนไขแบบทีละขั้นตอนที่จะทำให้หุ่นยนต์ คอมพิวเตอร์ หรืออุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์ทำสิ่งที่เรากำหนดให้) ของบริษัทที่ดำเนินการด้านสื่อสังคมออนไลน์

“อัลกอริธึมไม่ได้คำนึงถึงความเปราะบาง แต่ความรักเกิดจากความเปราะบาง เกิดจากความเจ็บปวดของอีกฝ่าย เกิดจากอารมณ์ของพวกเขา สิ่งนี้ยังได้รับการกล่าวในเชิงกวีเกี่ยวกับพระเจ้าอีกด้วย เช่น อำนาจทุกอย่างของพระเจ้า, ความสมบูรณ์แบบของพระองค์, ถึงกระนั้นก็ไม่นิรันดร พระเจ้าอ่อนแอ พระเจ้าร้องไห้ พระเจ้าทนทุกข์ ระบบอัลกอริทึมทำไม่ได้”

ความคิดสร้างสรรค์ของมืออาชีพที่ขับเคลื่อนโดยพระจิตเจ้า (Creativity of professionals animated by the Spirit)

โดยสรุป ดร. รัฟฟินี เชิญชวนให้ผู้เชี่ยวชาญด้านสื่อคาทอลิก “มองให้ไกล” (beyond) แง่มุมทางเทคโนโลยีของอุตสาหกรรม และขับเคลื่อนตลาดโดยคำนึงถึงตัวเลขการมีส่วนร่วมและผลกำไร

“สิ่งที่เราต้องการคือ ความคิดสร้างสรรค์ที่สุภาพและอดทน ของผู้ที่ไม่แสวงหาดอกไม้ไฟ (ชื่อเสียงและความสำเร็จ) ในช่วงเวลาหนึ่ง แต่ต้องการความสัมพันธ์ที่ซื่อสัตย์ซึ่งขับเคลื่อนโดยพระจิตเจ้าที่รวมเราเข้าด้วยกัน”

“เป้าหมายที่การสื่อสารคาทอลิกของเราต้องพยายามคือ ความเป็นหนึ่งเดียวกัน (communion)”