Homeบทความบทความ :: คุณพ่อนุพันธุ์ ทัศมาลีก้าวไปกับโป๊ปก้าวไปกับโป๊ป #279 : สื่อมวลชนคาทอลิกควรเสริมสร้างความเป็นหนึ่งเดียวกัน

ก้าวไปกับโป๊ป #279 : สื่อมวลชนคาทอลิกควรเสริมสร้างความเป็นหนึ่งเดียวกัน

 สื่อมวลชนคาทอลิกควรเสริมสร้างความเป็นหนึ่งเดียวกัน (Catholic media needs ‘prophetic gaze of communion)

เมื่อวันพุธที่ 7 มิถุนายน 2023 ระหว่างการประชุมสื่อมวลชนคาทอลิกประจำปีในเมืองบัลติมอร์ (Baltimore) รัฐแมริแลนด์ ประเทศสหรัฐอเมริกา ระหว่างวันอังคารที่ 6 ถึง วันศุกร์ที่ 9 มิถุนายน 2023 ประกอบไปด้วย นักข่าว ผู้จัดการด้านสื่อสารมวลชน และบรรณาธิการหลายร้อยคน ซึ่งส่วนใหญ่มาจากประเทศสหรัฐอเมริกา มารวมตัวกันทางออนไลน์ เพื่อสร้างเครือข่ายและแบ่งปันแนวคิดสำหรับอนาคตของการทำงานด้านสื่อมวลชนของพระศาสนจักรคาทอลิก

ดร.เปาโล รัฟฟินี ประธานสมณกระทรวงเพื่อการสื่อสาร (Dr. Paolo Ruffini, the Prefect of the Dicastery for Communication) เรียกร้องให้ผู้สื่อสารคาทอลิกสร้างแรงบันดาลใจจากความเป็นหนึ่งเดียวกัน และการมีส่วนร่วมดังเช่นการทำงานของบรรดาอัครสาวกกลุ่มแรก

ดร. เปาโล รัฟฟินี กล่าวคำปราศรัยต้อนรับผู้ประกอบวิชาชีพสื่อ ซึ่งส่วนใหญ่มาจากสหรัฐอเมริกา โดยมี ดร. นาตาซา โกเวการ์ ผู้อำนวยการแผนกเทววิทยาและงานอภิบาลของสมณกระทรวงเข้าร่วมการประชุมด้วย

เนื่องจากพระสันตะปาปาฟรังซิส เข้ารักษาตัวในโรงพยาบาลเมื่อวันพุธที่ 7 มิถุนายน 2023 ที่ผ่านมา ดร. รัฟฟินีจึงไม่สามารถอยู่ที่การประชุมสื่อมวลชนคาทอลิกได้ และกลับไปยังกรุงโรมทันทีหลังจากกล่าวสุนทรพจน์ของเขาจบลง

วันเปนเตกอสเตหรือหอบาเบล (Pentecost or Babel?)

ในสุนทรพจน์ของ ดร. รัฟฟินีกล่าวว่า การประชุมมีขึ้นเพียงไม่กี่วันหลังจากวันสมโภชพระจิตเจ้า ซึ่งเป็นเหตุการณ์ที่ทำลายโซ่ตรวนแห่งความกลัวที่ผูกมัดบรรดาอัครสาวก หลังจากการสิ้นพระชนม์ของพระเยซูเจ้า และให้พลังแห่งพระจิตเจ้าแก่พวกเขา เพื่อประกาศการฟื้นคืนพระชนมชีพของพระองค์ให้โลกรู้

อย่างไรก็ตาม ดร. รัฟฟินีตั้งข้อสังเกตว่า บางครั้งในยุคสมัยของเรา ก็ดูเหมือนมีความคล้ายคลึงกับความสับสนที่เกิดขึ้นภายหลังการทำลายหอบาเบล ดังที่เล่าไว้ในหนังสือปฐมกาล “มันเหมือนกับว่าต่างคนต่างเข้าใจผิด แล้วก็มาบ่นว่าความเข้าใจผิดนั้น”

พระพรที่แลกเปลี่ยนกันในการใช้สื่อสารมวลชน (Mutual gift of self in media)

ผู้เชี่ยวชาญด้านสื่อคาทอลิก ควรระลึกว่าการสื่อสารของพระศาสนจักร เกิดขึ้นจากการตอบรับการเรียกของพระคริสตเจ้าผู้ทรงฟื้นคืนพระชนมชีพ

“ถ้าเราดูที่รากศัพท์ภาษาละตินของคำว่า 'การสื่อสาร' (communication) เราจะพบว่ามันรวมคำอื่นอีกสองคำเข้าด้วยกันคือคำว่า “ด้วยกัน” (together) และ “ของขวัญ” (munus)

ดร. รัฟฟินีกล่าว “สิ่งนี้บอกกับเราว่า เหนือสิ่งอื่นใด การสื่อสารคือของขวัญที่มีร่วมกันในตัวเรา เป็นของขวัญที่มาจากความสัมพันธ์ที่เราสร้างขึ้นระหว่างกัน”

“ความรักและความเห็นอกเห็นใจ” เป็นภาษาสากลที่ทำให้คริสตชนยุคแรกเป็นที่จดจำของทุกคน และทำให้การมองโลกของพวกเขาแตกต่างออกไป และน่าดึงดูดใจสำหรับคนอื่น ๆ ราวกับเป็น “เครื่องหมายที่ไม่สามารถลบเลือนได้”

“คริสตชนยุคแรกมี 'หัวใจเดียวและจิตวิญญาณเดียว' ดังนั้น การมีส่วนร่วมของพวกเขายังทำให้การสื่อสารของพวกเขาลึกซึ้งยิ่งขึ้นโดยหยั่งรากลึกในพระเจ้า”

การสื่อสารเป็นการมีส่วนร่วม (Communication as communion)

ดร. รัฟฟินีหันความสนใจไปที่ความพยายามของพระศาสนจักรในการสื่อสารที่ดีในสังคมสมัยใหม่ของเรา เขาเชื้อเชิญผู้เชี่ยวชาญด้านการสื่อสารคาทอลิก ให้ยึดคำศัพท์อื่นที่มีรากฐานทางนิรุกติศาสตร์เดียวกันกับการสื่อสาร นั่นก็คือคำว่า "ศีลมหาสนิท"

“ศีลมหาสนิท คือสิ่งที่ทำให้เราเป็นสมาชิกของกันและกัน ศีลมหาสนิทเป็นความลับของการสื่อสารของพระศาสนจักร”

งานสื่อสารมวลชนที่ดีที่สุดไม่มีส่วนเกี่ยวข้องกับการขายผลิตภัณฑ์ แต่เกี่ยวข้องกับการเสนอความสัมพันธ์ และโอกาสในการพบปะผู้คน และ "เรื่องราวที่มีเอกลักษณ์และเต็มไปด้วยความสง่างาม"

“การสื่อสารในพระศาสนจักรหมายถึง การสร้างความเป็นหนึ่งเดียวของเราขึ้นใหม่ โดยเสนอตัวเราเป็นเครื่องมือในการสื่อสาร เป็นพยานว่าเราเป็นหนึ่งเดียวกัน”

ความรักต้องชี้นำความก้าวหน้าทางเทคโนโลยี (Love must guide technological progress)

เทคโนโลยีและโซเชียลมีเดียอาจเปลี่ยนแปลงโลกของเราในช่วงไม่กี่ปีที่ผ่านมา แต่สังเกตว่าเราถูกเรียกให้เป็นผู้นำความก้าวหน้าทางด้านเทคโนโลยี

“เราต้องใช้เทคโนโลยีด้วยหัวใจ ซึ่งเป็นสิ่งที่ทำให้สติปัญญาของเราไม่เหมือนใคร เพราะภารกิจของเราไม่ได้ดำเนินการด้วยสติปัญญา หรือความสามารถของเราในการเชื่อมโยงความรู้เท่านั้น แต่ยังรวมถึงความสามารถของเราที่จะรักด้วย”

ดร. รัฟฟินี อธิบายถึงเอกสารที่เพิ่งเปิดตัวของสมณกระทรวงฯ ที่ชื่อว่า “สู่การแสดงตัวตนอย่างเต็มรูปแบบ: ภาพสะท้อนด้านอภิบาลเกี่ยวกับการมีส่วนร่วมของโซเชียลมีเดีย” (Towards Full Presence: A Pastoral Reflection on Social Media Engagement)

เอกสารดังกล่าวนำเสนอภาพสะท้อนทางเทววิทยาและงานอภิบาล เพื่อช่วยชี้นำการใช้และการมีปฏิสัมพันธ์ของพระศาสนจักรกับสื่อสังคมออนไลน์ในลักษณะที่พิจารณา แทนที่จะเพียงมอบอำนาจด้านบรรณาธิการให้กับอัลกอริธึม (algorithms คือ คำสั่งหรือเงื่อนไขแบบทีละขั้นตอนที่จะทำให้หุ่นยนต์ คอมพิวเตอร์ หรืออุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์ทำสิ่งที่เรากำหนดให้) ของบริษัทที่ดำเนินการด้านสื่อสังคมออนไลน์

“อัลกอริธึมไม่ได้คำนึงถึงความเปราะบาง แต่ความรักเกิดจากความเปราะบาง เกิดจากความเจ็บปวดของอีกฝ่าย เกิดจากอารมณ์ของพวกเขา สิ่งนี้ยังได้รับการกล่าวในเชิงกวีเกี่ยวกับพระเจ้าอีกด้วย เช่น อำนาจทุกอย่างของพระเจ้า, ความสมบูรณ์แบบของพระองค์, ถึงกระนั้นก็ไม่นิรันดร พระเจ้าอ่อนแอ พระเจ้าร้องไห้ พระเจ้าทนทุกข์ ระบบอัลกอริทึมทำไม่ได้”

ความคิดสร้างสรรค์ของมืออาชีพที่ขับเคลื่อนโดยพระจิตเจ้า (Creativity of professionals animated by the Spirit)

โดยสรุป ดร. รัฟฟินี เชิญชวนให้ผู้เชี่ยวชาญด้านสื่อคาทอลิก “มองให้ไกล” (beyond) แง่มุมทางเทคโนโลยีของอุตสาหกรรม และขับเคลื่อนตลาดโดยคำนึงถึงตัวเลขการมีส่วนร่วมและผลกำไร

“สิ่งที่เราต้องการคือ ความคิดสร้างสรรค์ที่สุภาพและอดทน ของผู้ที่ไม่แสวงหาดอกไม้ไฟ (ชื่อเสียงและความสำเร็จ) ในช่วงเวลาหนึ่ง แต่ต้องการความสัมพันธ์ที่ซื่อสัตย์ซึ่งขับเคลื่อนโดยพระจิตเจ้าที่รวมเราเข้าด้วยกัน”

“เป้าหมายที่การสื่อสารคาทอลิกของเราต้องพยายามคือ ความเป็นหนึ่งเดียวกัน (communion)”

สถิติการเยี่ยมชม

9680037
Today
Yesterday
This Week
Last Week
This Month
Last Month
All days
1393
4078
5471
9631860
166404
260177
9680037
Your IP: 3.135.216.174
Server Time: 2024-04-29 14:38:32

แบบฟอร์ม

instagram

พระศาสนจักร


สื่อ YOUTUBE


Laudato si’

บทเรียนคำสอน





บทภาวนา

พิธีกรรมต่างๆ

เอกสารพระศาสนจักร

บทความคำสอน



KAMSONCHAN

 

   องค์กรคาทอลิก              คณะนักบวช  
 

สภาพระสังฆราชคาทอลิกแห่งประเทศไทย
คณะกรรมการคาทอลิกเพื่อคริสตศาสนธรรม
แผนกคริสตศาสนธรรม
อัครสังฆมณฑลกรุงเทพฯ
ศูนย์คริสตศาสนธรรม อัครสังฆมณฑลกรุงเทพฯ
สังฆมณฑลจันทบุรี
คณะรักกางเขนแห่งจันทบุรี
มูลนิธิสงเคราะห์เด็ก พัทยา
คามิลเลียนโซเชียลเซนเตอร์ ระยอง

  สังฆมณฑลนครราชสีมา                       
ศูนย์คริสตศาสนธรรม สังฆมณฑลนครราชสีมา
สังฆมณฑลอุบลราชธานี
ศูนย์คริสตศาสนธรรม สังฆมณฑลอุบลราชธานี   
สังฆมณฑลราชบุรี
ศูนย์คริสตศาสนธรรม สังฆมณฑลราชบุรี
ศูนย์คริสตศาสนธรรม สังฆมณฑลราชบุรี
สังฆมณฑลนครสวรรค์
สังฆมณฑลเชียงใหม่
  สังฆมณฑลสุราษฎ์ธานี
สังฆมณฑลอุดรธานี
ศูนย์คริสตศาสนธรรม สังฆมณฑลอุดรธานี

สภาการศึกษาคาทอลิกประเทศไทย
คณะกรรมการคาทอลิกเพื่อความยุติธรรมและสันติ (ยส.)
คณะกรรมการคาทอลิกเพื่อพระคัมภีร์
คณะกรรมการคาทอลิกเพื่อสุขภาพอนามัย
สื่อมวลชนคาทอลิกประเทศไทย
สื่อมวลชนคาทอลิกประเทศไทย (อุดมสาร)
  ชมรมอธิการิณีเจ้าคณะนักบวชแห่งประเทศไทย
คณะภคินีเซนต์ปอลเดอร์ชาร์ต
คณะภคินีศรีชุมพาบาล       
คณะพระมหาไถ่แห่งประเทศไทย
คณะเซนต์คาเบรียล
คณะซาเลเซียน
คณะซาเลเซียน (ซิสเตอร์)
กางเขนแดงสาร

 



JSN Megazine template designed by JoomlaShine.com