ก้าวไปกับโป๊ป #312 : หยุดใช้พระนามของพระเจ้าเพื่ออ้างเหตุผลในการฆาตกรรมและการก่อการร้าย

หยุดใช้พระนามของพระเจ้าเพื่ออ้างเหตุผลในการฆาตกรรมและการก่อการร้าย (Stop using God's name to justify murder and terrorism)

“ข้าพเจ้าขอวิงวอนอีกครั้งให้หยุดใช้ศาสนาเพื่อปลุกปั่นความเกลียดชัง ความรุนแรง ลัทธิหัวรุนแรง ลัทธิคลั่งไคล้ และงดเว้นจากการใช้พระนามของพระเจ้า เพื่อพิสูจน์การกระทำของการฆาตกรรม การเนรเทศ การก่อการร้าย และการกดขี่” เป็นทวีตของพระสันตะปาปาเนื่องในโอกาส วันสากลแห่งสหประชาชาติรำลึกถึงเหยื่อของความรุนแรงตามศาสนาหรือความเชื่อ เมื่อวันที่ 22 สิงหาคม 2023 ที่ผ่านมา

ฟลอเรียน ริปกา ผู้อำนวยการของมูลนิธิเคียร์เช่ออินน็อทในประเทศเยอรมัน (Florian Ripka, Director of Kirche in Not Deutschland) บอกกับสถานีวิทยุวาติกันเกี่ยวกับสาเหตุหลักของการประหัตประหารว่า

เมื่อเร็ว ๆ นี้ เสรีภาพในการนับถือศาสนาถูกละเมิดในประเทศที่มีประชากรมากกว่าครึ่งหนึ่งของโลก ตามรายงานของมูลนิธิของสันตะสำนักเพื่อให้ความช่วยเหลือแก่พระศาสนจักรสากลที่ได้รับความเดือดร้อน (Pontifical Foundation Aid to the Church in Need International, Kirche in Not หรือ เคียร์เช่ออินน็อท) ซึ่งได้ศึกษาปัญหาเสรีภาพในการนับถือศาสนาทั่วโลกมานานหลายปี และช่วยเหลือเหยื่อของความรุนแรงที่เกิดจากความแตกต่างทางด้านศาสนาหรือความเชื่อ

เขาชี้ให้เห็นว่า การละเมิดสิทธิมนุษยชนทั้งหมดเพิ่มขึ้น รวมถึงเสรีภาพในการนับถือศาสนา มีสาเหตุทั่วโลก จากการรักษาและการรวมอำนาจไว้ในมือของผู้เผด็จการ และผู้นำของกลุ่มศาสนาที่ตีความตามตัวอักษร (fundamentalist) มากจนเกินไป

“เหตุผลที่สองเกี่ยวข้องกับประเทศอิสลาม “เรากังวลเกี่ยวกับสิ่งที่เกิดขึ้นในแอฟริกาตอนใต้ทะเลทรายซาฮารา ในประเทศต่าง ๆ เช่น บูร์กินาฟาโซ (Burkina Faso), ไนเจอร์ (Niger), มาลี (Mali), และโมซัมบิก (Mozambique) ในประเทศเหล่านี้ทั้งหมด เราเห็นว่ารัฐบาลดำเนินการน้อยลงเรื่อย ๆ กับสมาคมต่าง ๆ เช่น กลุ่มโบโก ฮารัม และผู้ติดตามกลุ่มที่เรียกว่ารัฐอิสลาม"

“และเหตุผลที่สามว่าทำไมสิทธิมนุษยชนแห่งเสรีภาพในการนับถือศาสนาถูกละเมิดก็คือประเทศที่มีชาตินิยมสุดโต่งเหมือนที่เรามีในอินเดีย” มีความแตกต่างระหว่างภาคเหนือของอินเดียและภาคใต้ เช่น ในเมืองเคเรลา (Kerela) ซึ่งโดยรวมแล้วมีเสรีภาพในการนับถือศาสนา

การประหัตประหารแบบลูกผสม (Hybrid types of persecution)

มูลนิธิเคียร์เช่ออินน็อท ยังกล่าวถึงการประหัตประหารแบบลูกผสม เช่น "หมัดเหล็กในถุงมือกำมะหยี่" (the iron fist in a velvet glove) และการประหัตประหารแบบกระหายเลือด บางประเทศใช้กฎหมายที่เป็นข้อขัดแย้ง ซึ่งจำกัดเสรีภาพในการนับถือศาสนา หรือเลือกปฏิบัติต่อชุมชนทางศาสนาบางกลุ่ม โดยทั่วไปจะไม่มีการประท้วง ในทางกลับกัน การโจมตีอย่างรุนแรงต่อผู้นับถือศาสนาที่ "ผิด" ได้รับการ "ทำให้เป็นมาตรฐาน" และส่วนใหญ่ไม่มีการดำเนินคดี (เช่น ในละตินอเมริกา)

โดยทั่วไปแล้ว กลุ่มศาสนาส่วนใหญ่ที่ถูกประหัตประหาร มาจากชุมชนศาสนาชนกลุ่มน้อย อย่างไรก็ตาม ชุมชนศาสนาส่วนใหญ่กำลังเผชิญกับการข่มเหงมากขึ้นเรื่อย ๆ (ไนจีเรีย นิการากัว)

ในประเทศที่พัฒนาแล้ว มีการใช้โซเชียลมีเดียเพื่อทำให้คนชายขอบและโจมตีกลุ่มศาสนา เหตุการณ์ดังกล่าวได้บ่อนทำลายค่านิยมพื้นฐาน รวมถึงเสรีภาพด้านมโนธรรม ความคิด ศาสนา การแสดงออก การเคลื่อนไหว และการชุมนุม

หลังการแพร่ระบาด ภูมิภาคส่วนใหญ่ของโลกได้เห็นผู้ศรัทธาจำนวนมากกลับมาเพื่อเฉลิมฉลองเทศกาลทางศาสนาที่สำคัญ ซึ่งเป็นการแสดงออกถึงศาสนาในที่สาธารณะ

มูลนิธิเคียร์เช่ออินน็อทสังเกตว่า การริเริ่มการเจรจาระหว่างศาสนาได้เพิ่มขึ้น พระสันตะปาปาฟรังซิสและผู้นำคริสตจักรอื่น ๆ ทั่วโลก ได้ขยายความสัมพันธ์กับชุมชนศาสนาอื่นๆ ดังตัวอย่างจากพระสมณสาสน์เราทุกคนเป็นพี่น้องกัน (Fratelli Tutti) และการประชุมระหว่างศาสนาหลายครั้ง