Homeเลนส์มุมกว้าง พระศาสนจักรคาทอลิกตอนที่ 16 : อัตตลักษณ์และโครงสร้างพระศาสนจักรคาทอลิก (สากล)

ตอนที่ 16 : อัตตลักษณ์และโครงสร้างพระศาสนจักรคาทอลิก (สากล)

ตอนที่ 16

อัตตลักษณ์และโครงสร้างพระศาสนจักรคาทอลิก (สากล)

            คำว่า “พระศาสนจักร” (Church หรือ Ecclesia) มาจากคำไทย 2 คำคือ พระศาสนา + อาณาจักร หมายถึง สังคมของผู้ที่มีความเชื่อเดียวกันตามหลักคำสอนของคริสตศาสนาที่มีรากฐานจากพระคัมภีร์ไบเบิ้ล และธรรมประเพณี และมีพิธีกรรมปฏิบัติเหมือนกัน ซึ่งไม่จำเป็นต้องอยู่ในรูปแบบที่กำหนดขอบเขตทางภูมิศาสตร์เฉกเช่นประเทศหรืออาณาจักรทั้งหลาย หากแต่เป็นการรวมกันของชุมชนแห่งความเชื่อ ความศรัทธา และแนวปฏิบัติทางความเชื่อของศาสนานั้นๆ ดังนั้น สมาชิกของพระศาสนจักรจึงมีอยู่ทั่วไปทุกหนทุกแห่ง จะไม่จำกัดเชื้อชาติ เผ่าพันธ์ วัฒนธรรม และภาษา ส่วนคำว่า “คาทอลิก” แปลว่า สากล ดังนั้น พระศาสนจักรคาทอลิก คือ ชุมชนแห่งความเชื่อ ความศรัทธาในพระเจ้าที่เป็นสากลสู่ทุกวัฒนธรรมแห่งปวงชน

            พระศาสนจักรคาทอลิกมีลักษณะที่สำคัญ 4 ประการ กล่าวคือ

1. ความเป็นเอกภาพ กล่าวคือ มีความเป็นหนึ่งเดียวกันทั่วโลก โดยมีสมเด็จพระสันตะปาปาทรงเป็นพระประมุขสูงสุดแห่งความเชื่อ มีกฏหมายภายในหรือกฎพระวินัย มีกฎระเบียบหลักปฏิบัติสู่ความเชื่อเดียวกัน มีพิธีกรรมเหมือนกัน มีกิจกรรมส่งเสริมความศรัทธาเดียวกันแม้จะแตกต่างทางวัฒนธรรม จากความหลากหลายในความเป็นหนึ่งเดียว จากพหุลักษณ์แต่เป็นอัตลักษณ์เดียวชัดเจน เราจึงสังเกตได้ว่า ไม่ว่าเราจะอยู่ที่ไหนของมุมโลก เราก็สามารถร่วมพิธีกรรมกันได้ เพียงแต่จะแตกต่างที่รายละเอียดเล็กๆ น้อยๆ เช่น ภาษาและประเพณีบางอย่าง ส่วนแก่นแท้และเนื้อหาสาระสำคัญยังคงเหมือนกันหมด เช่น พิธีบูชาขอบพระคุณ (Holy Mass) เป็นต้น

            การปกครองของพระศาสนจักรคาทอลิก มีลักษณะการปกครองในทำนองสมบูรณาญาสิทธิราช คือคล้ายๆ การปกครองในระบบกษัตริย์ มีลักษณะเหมือนปิระมิดซึ่งผู้ที่อยู่สูงสุดคือ สมเด็จพระสันตะปาปา ผู้สืบตำแหน่งจากนักบุญเปโตร (เซนต์ปีเตอร์) พระสันตะปาปาพระองค์แรก อัครสาวกเอกของพระเยซูคริสต์ ดังนั้น จึงมีการมอบอำนาจการสั่งสอนเป็นขั้นตอนลงมา ซึ่งเป็นอำนาจที่เกี่ยวข้องกับเรื่องพระสัจธรรม หรือคำสอนทางคริสตศาสนาเท่านั้น พระศาสนจักรสากล (หรือศูนย์กลางปกครองแม่ที่เป็นร่มใหญ่สุด) เป็นศูนย์กลางตั้งอยู่ที่สันตะสำนัก ณ นครรัฐวาติกัน กรุงโรม ถ่ายทอดอำนาจการเทศน์สอนความเชื่อของคริสตศาสนามายังทวีปพระศาสนจักรท้องถิ่นในทุกทวีป ลงมายังประเทศที่ตั้งอยู่ในทวีปนั้นๆ และในแต่ละประเทศก็แยกเป็นเขตศาสนปกครอง (Diocese) ซึ่งแต่ดั้งเดิมเราเรียกว่า “มิสซัง” (ภาลาติน MISSIO) แปลว่า เขตศาสนปกครองหรือเขตบริหารงานการศาสนาคริสต์ของนิกายโรมันคาทอลิก บางประเทศมีเป็นร้อยเขต ภายใต้แต่ละเขตศาสนาปกครองก็จะแตกย่อยมาเป็นวัด (churches) ในเขตศาสนปกครองนั้นๆ บางแห่งยังแยกเป็นการดูแลกลุ่มคริสตชนเล็กๆ ที่อาจไม่สะดวกต่อการมาวัดของสัตบุรุษเพราะอยู่ห่างไกล ดังนั้นภายใต้การปกครอง วัดบางวัดจึงมีหน่วยดูแลย่อยเรียกว่า “สถานสอนคำสอน” ซึ่งเป็นหน่วยเล็กๆ ที่พักพิง เพื่อการดูแลผู้ที่มีความศรัทธา (Mission Station)

            ถ้าหากเรามองปิระมิดในลักษณะจากด้านฐานล่างถึงจุดสุดยอด พระศาสนจักรท้องถิ่นเกิดขึ้นดังนี้ เริ่มจากครอบครัวที่มีความเชื่อเดียวกัน กลายเป็นหมู่บ้าน จากนั้นจึงรวมกันประกอบศาสนกิจ ณ ศูนย์รวมศรัทธาแห่งหนึ่ง (Mission Station) ผู้ดูแลอาจจะเป็นบาทหลวง หรือนักบวช หรือฆราวาสผู้มีความศรัทธาดีได้รับความไว้วางใจ เมื่อหมู่บ้านหลายๆ หมู่บ้านอยู่ใกล้ๆ กันมีความเชื่อเดียวกัน จึงกลายเป็นชุมชนแห่งความเชื่อ อาจจะมี 500 - 1000 คน จึงสร้างเป็นวัด ผู้ดูแลวัดคือบาทหลวง เมื่อวัดในเขตละแวกใกล้เคียงมีจำนวนเพิ่มขึ้นหลายวัดซึ่งทำให้ชุมชนความเชื่อใหญ่ขึ้น รวมกันหลายจังหวัด ประมุขผู้ปกครองจึงนำเสนอเพื่อยกระดับเป็น “เขตศาสนปกครอง” (Diocese) โดยคณะบาทหลวง คณะนักบวชชายหญิง สัตบุรุษในเขตนั้นๆ จะสรรหาผู้นำสูงสุดในเขตนั้น ปกติจะสรรหาจากบรรดาบาทหลวงท้องถิ่นที่มีความโดดเด่น มีคุณลักษณะเพียบพร้อมจำนวน 3 บุคคล และส่งชื่อไปให้พระสันตะปาปาทรงพิจารณา เพื่อทรงแต่งตั้งบุคคลหนึ่งในสามให้บวชเป็นบิช็อป (หรือมุขนายก) บิช็อปผู้นี้มีอำนาจเต็มในการปกครองต่อบรรดาบาทหลวง นักบวชชาย-หญิง สัตบุรุษ และเป็นผู้รับผิดชอบสูงสุดในเขตศาสนปกครอง และศาสนกิจเฉพาะในเขตของท่านเท่านั้น บรรดาบิช็อปทั่วโลกต้องมีความผูกพันในความเชื่อกับสมเด็จพระสันตะปาปา ถ้าหากเป็นเขตศาสนปกครองที่มีชุมชนความเชื่อขนาดใหญ่ มีจำนวนศาสนิกคาทอลิกมาก บิช็อปอาจได้เลื่อนสมณศักดิ์ขึ้นเป็น “อาร์คบิช็อป” (เช่น เขตศาสนปกครองแห่งกรุงเทพฯ และที่ท่าแร่-หนองแสง) ส่วน