Homeถาม-ตอบ กับคุณพ่อชัยยะ กิจสวัสดิ์ ควรจะอ่านพระคัมภีร์อย่างไร? และทำไมต้องเรียน?

ควรจะอ่านพระคัมภีร์อย่างไร? และทำไมต้องเรียน?

ควรจะอ่านพระคัมภีร์อย่างไร?
และทำไมต้องเรียน?

         นักบุญยอห์นพูดถึงวัตถุประสงค์ของพระคัมภีร์ไว้ว่า “เรื่องราวเหล่านี้ถูกบันทึกไว้ เพื่อท่านทั้งหลายจะได้เชื่อว่า พระเยซูเจ้าเป็นพระคริสตเจ้า พระบุตรของพระเจ้า และเมื่อมีความเชื่อนี้แล้ว ท่านทั้งหลายก็จะมีชีวิตเดชะพระนามของพระองค์” (ยน 20:31)

         หากที่ผ่านมาเราอ่านพระคัมภีร์แล้วยังไม่บรรลุวัตถุประสงค์ดังที่นักบุญยอห์นกล่าวไว้ นั่นอาจเป็นเพราะเราไม่รู้จักวิธีอ่านหนังสือพระคัมภีร์ก็เป็นได้ !

         ปกติ วิธีอ่านหนังสือย่อมแตกต่างกันไปตามวัตถุประสงค์ของหนังสือแต่ละชนิด ดังเช่น

• หนังสือที่เขียนเพื่อให้ข้อมูลหรือเพื่อการศึกษา เช่นสารานุกรม ตำราเรียน เราต้องอ่านช้าๆ ขีดเส้นใต้ ย่อ อ่านซ้ำ จนกว่าจะจดจำเนื้อหาได้

• หนังสือที่เขียนเพื่อความสนุกสนานหรือหย่อนใจ เช่นหนังสือการ์ตูน นวนิยาย  เราอาจอ่านผ่านไปได้เร็วๆ

• หนังสือภาคปฏิบัติ เช่น ตำราอาหาร เราต้องอ่านไปทำไป

         สำหรับหนังสือพระคัมภีร์ซึ่งเป็น “พระวาจาของพระเจ้า ที่ตรัสด้วยภาษามนุษย์เพื่อให้เราเชื่อและมีชีวิต”วิธีอ่านจึงต้องแตกต่างจากหนังสือตำราเรียนหรือตำรากับข้าวอย่างแน่นอน

         ในฐานะที่พระคัมภีร์เป็น “พระวาจาของพระเจ้า”แปลว่าพระเจ้ากำลังตรัสกับเรา และในเมื่อพระองค์กำลังตรัสกับเรา เราจึงต้อง...

          1.       เปิดใจต้อนรับพระวาจาทั้งครบ ไม่ใช่เลือกรับเฉพาะข้อความที่สอดคล้องกับชีวิตหรือความพึงพอใจของตน อีกทั้งต้องไม่ยึดติดกับอคติหรือทฤษฎีส่วนตัวแล้วหาพระวาจามาสนับสนุนความคิดของตน

          2.       รับฟังให้ได้อรรถรสและเข้าให้ถึงอารมณ์ความรู้สึกของพระวาจาที่พระเจ้ากำลังตรัสกับเราแต่เนื่องจากพระองค์ตรัสกับเราด้วยภาษามนุษย์หลายยุคหลายสมัยซึ่งมีวัฒนธรรม สภาพแวดล้อม วิธีคิด วิธีสื่อสารแตกต่างจากสมัยของเรา เราจึงต้อง “ศึกษา” พระคัมภีร์อย่างน้อยให้รู้ภูมิหลังทางประวัติศาสตร์ รูปแบบการเขียน ฯลฯ เพื่อจะได้เข้าใจพระวาจาดีขึ้นและลึกซึ้งมากขึ้น

          3.       ไตร่ตรองพระวาจาของพระเจ้าให้เข้าใจความคิดและความปรารถนาของพระองค์จน “เห็นจริงด้วยตนเอง” ว่าพระองค์ทรงสอน “อะไร” และ “ทำไม” ทั้งนี้โดยอาศัยพระหรรษทานและความช่วยเหลือของพระเจ้า หากปราศจากการไตร่ตรอง ความเชื่อของเราก็เป็นได้เพียงการรับคำยืนยันของผู้อื่น เป็นความเชื่อ “มือสอง”ซึ่งรังแต่จะทำให้ความทุ่มเทและการผูกพันตนเองกับสิ่งที่ตนเชื่อลดน้อยถอยลงจนน่าใจหาย

          4.       ปฏิบัติตามสิ่งที่ได้รับจากการไตร่ตรองจนกระทั่งชีวิตของเราคือการปฏิบัติตามพระประสงค์ของพระเจ้าทุกขณะจิต

                   ยิ่งปฏิบัติตามพระประสงค์ของพระเจ้ามากเท่าใด เรายิ่งเห็นจริง ยิ่งเชื่อ ยิ่งวางใจ ยิ่งรัก และยิ่งปรารถนาจะปฏิบัติตามพระประสงค์ของพระองค์มากขึ้นเท่านั้น !           

          ที่สุด ไม่ว่าเราจะสอน จะอ่าน หรือจะศึกษาพระคัมภีร์ สิ่งที่ต้องระลึกอยู่เสมอคือเราไม่ได้กำลังสอนหรือศึกษาวิชาประวัติศาสตร์ของชนชาติอิสราเอลหรือของบุคคลสำคัญดังเช่นอับราฮัม โมเสส ดาวิด หรือคนชื่อเยซู ซึ่งจะต้องจดจำรายละเอียดในอดีตให้ได้มากที่สุด แต่เรากำลังสอนและศึกษา “ข่าวดี” ของพระเยซูเจ้าเพื่อจะได้รู้จักความคิดและจิตใจของพระองค์มากขึ้น รักพระองค์เพิ่มขึ้น และติดตามพระองค์ได้ใกล้ชิดขึ้น

          โดยมีเป้าหมายสูงสุดคือ “มีชีวิต” (ยน 20:31)

          “ชีวิต” ที่เหมือนพระเจ้าและเต็มเปี่ยมไปด้วย “พลัง”!

สถิติการเยี่ยมชม

9601536
Today
Yesterday
This Week
Last Week
This Month
Last Month
All days
5005
7414
39487
9542498
87903
260177
9601536
Your IP: 3.137.218.215
Server Time: 2024-04-19 13:35:45

พระศาสนจักร


แบบฟอร์ม

instagram

สื่อ YOUTUBE


Laudato si’

บทเรียนคำสอน





บทภาวนา

พิธีกรรมต่างๆ

เอกสารพระศาสนจักร

บทความคำสอน



KAMSONCHAN

 

   องค์กรคาทอลิก              คณะนักบวช  
 

สภาพระสังฆราชคาทอลิกแห่งประเทศไทย
คณะกรรมการคาทอลิกเพื่อคริสตศาสนธรรม
แผนกคริสตศาสนธรรม
อัครสังฆมณฑลกรุงเทพฯ
ศูนย์คริสตศาสนธรรม อัครสังฆมณฑลกรุงเทพฯ
สังฆมณฑลจันทบุรี
คณะรักกางเขนแห่งจันทบุรี
มูลนิธิสงเคราะห์เด็ก พัทยา
คามิลเลียนโซเชียลเซนเตอร์ ระยอง

  สังฆมณฑลนครราชสีมา                       
ศูนย์คริสตศาสนธรรม สังฆมณฑลนครราชสีมา
สังฆมณฑลอุบลราชธานี
ศูนย์คริสตศาสนธรรม สังฆมณฑลอุบลราชธานี   
สังฆมณฑลราชบุรี
ศูนย์คริสตศาสนธรรม สังฆมณฑลราชบุรี
ศูนย์คริสตศาสนธรรม สังฆมณฑลราชบุรี
สังฆมณฑลนครสวรรค์
สังฆมณฑลเชียงใหม่
  สังฆมณฑลสุราษฎ์ธานี
สังฆมณฑลอุดรธานี
ศูนย์คริสตศาสนธรรม สังฆมณฑลอุดรธานี

สภาการศึกษาคาทอลิกประเทศไทย
คณะกรรมการคาทอลิกเพื่อความยุติธรรมและสันติ (ยส.)
คณะกรรมการคาทอลิกเพื่อพระคัมภีร์
คณะกรรมการคาทอลิกเพื่อสุขภาพอนามัย
สื่อมวลชนคาทอลิกประเทศไทย
สื่อมวลชนคาทอลิกประเทศไทย (อุดมสาร)
  ชมรมอธิการิณีเจ้าคณะนักบวชแห่งประเทศไทย
คณะภคินีเซนต์ปอลเดอร์ชาร์ต
คณะภคินีศรีชุมพาบาล       
คณะพระมหาไถ่แห่งประเทศไทย
คณะเซนต์คาเบรียล
คณะซาเลเซียน
คณะซาเลเซียน (ซิสเตอร์)
กางเขนแดงสาร

 



JSN Megazine template designed by JoomlaShine.com