Homeบทความบทความ :: คุณพ่อเอนก นามวงษ์พระมารดาแห่งเมตตาธรรม

พระมารดาแห่งเมตตาธรรม

 
 พระมารดาแห่งเมตตาธรรม

สมณโองการประกาศปีศักดิ์สิทธิ์แห่งเมตตาธรรม “พระพักตร์แห่งความเมตตา” (Misericordiae Vultus) ของสมเด็จพระสันตะปาปาฟรังซิส มีทั้งหมด ๒๕ ข้อ ด้วยกัน หลังจากที่พระสันตะปาปาได้อธิบายเรื่อง พระเมตตาของพระเป็นเจ้า ที่มาที่ไปของการประกาศปีศักดิ์สิทธิ์แห่งเมตตาธรรมและแนวทางปฏิบัติภายในปีศักดิ์สิทธิ์พิเศษนี้ ก่อนจบ ในข้อที่ ๒๔ ท่านได้เขียนถึงพระแม่มารีย์ว่า “บัดนี้ความคิดของข้าพเจ้าหวนกลับไปยังพระมารดาแห่งความเมตตา[1]……

พระมารดาแห่งความเมตตา คำนี้ มาจากไหนกัน?

พระมารดาแห่งความเมตตา อันที่จริงคำพูดนี้ บรรดาคริสตชนคุ้นเคยกันมาตั้งแต่เด็ก ๆ ซึ่งคำนี้อยู่ในบทสวด “วันทาพระราชินี” พระแม่แห่งความเมตตา กรุณา ท่านคือชีวิต ความอ่อนหวาน และความหวังของเรา (บทสวดแบบเก่า)

พระมารดาแห่งความเมตตา คำนี้เราพบได้ในบันทึกของนักบุญโฟสตินาข้อที่  ๐๓๓๐ พระแม่มารีย์ยืนยันว่า แม่มิได้เป็นเพียงราชินีสวรรค์เท่านั้นแต่เป็นพระมารดาแห่งความเมตตาและเป็นแม่ของลูกด้วย(I am not only the Queen of Heaven, but also the Mother of Mercy and your Mother.)[2]

พระมารดาแห่งความเมตตา คำนี้พระแม่มารีย์ได้เผยให้กับนักบุญบริจิตแห่งสวีเดนว่า “แม่เป็นราชินีแห่งสวรรค์ และเป็นมารดาแห่งความเมตตา จะนำคนบาปไปสู่พระเป็นเจ้า” การประจักษ์ของพระแม่มารีย์แก่ ยวง ดิเอโก ประเทศเม็กซิโก ค.ศ.๑๕๓๑ ได้ตรัสกับดิเอโกว่า “แม่ไม่ได้อยู่ที่หรือ? แม่ไม่เป็นแม่ของลูกหรือ? ลูกไม่ได้อยู่ภายในร่มเงาการปกป้องของแม่หรือ? แม่ไม่ได้เป็นความชื่นชมยินดีของลูกหรือ? ลูกไม่ได้อยู่ภายในเสื้อคลุมภายใต้วงแขนของแม่หรือ? แล้วลูกต้องการอะไรอีก?  นี่เป็นคำพูดของที่บ่งบอกถึงความเป็นมารดาแห่งความเมตตาอย่างแท้จริง

พระสมณสาสน์ของพระสันตะปาปานักบุญยอห์น ปอลที่ ๒ เรื่อง พระเมตตาของพระเป็นเจ้า (Dives in Misericordia) ได้เขียนว่า “พระนางมารีย์จึงเป็นบุคคล ผู้มีความรู้อย่างลึกซึ้งเกี่ยวกับธรรมล้ำลึกแห่งพระเมตตาของพระเป็นเจ้า พระนางรู้ดีถึงสิ่งที่จะต้องแลกเปลี่ยน พระนางจึงรูว่ามีคุณเพียงใด ดังนั้น เราจึงเรียกพระนางว่า พระแม่แห่งความเมตตา หรือ พระมารดาแห่งความเมตตา” [3]

เหตุผลที่เราเรียกพระแม่มารีย์ว่า เป็นมารดาแห่งความเมตตา

๑. พระแม่มารีย์เป็นสตรีมีประสบการณ์พระเมตตาของพระเป็นเจ้าเป็นพิเศษ[4]

นักบุญพระสันตะปาปายอห์นปอลที่ ๒ ได้ให้เหตุผลว่า พระนางมารีย์ยังเป็นผู้ที่ได้รับพระเมตตาเป็นพิเศษอย่างยิ่ง และอย่างที่ไม่มีผู้ใดเคยได้รับมาก่อน ในขณะเดียวกันและในแนวพิเศษ อาศัยดวงใจที่เสียสละ พระนางสามารถมีส่วนร่วมในการเผยแสดงพระเมตตาของพระเป็นเจ้า ความเสียสละนี้เกี่ยวพันอย่างใกล้ชิด กับกางเขนแห่งพระบุตรของพระนาง เหตุว่า พระนางยืนอยู่แทบเชิงกางเขน บนเนินเขากัลวาริโอ

การเสียสละของพระนางนับว่ามีส่วนเป็นพิเศษในการเผยแสดงพระเมตตา กล่าวคือการที่พระเป็นเจ้าทรงยึดมั่นในความรักของพระองค์ พันธสัญญาซึ่งพระองค์ทรงมีพระประสงค์มาตั้งแต่นิรันดร์กาล แต่ทรงมาผูกมัดกับมนุษย์ กับประชาชนและกับมนุษย์ชาติในกาลเวลา เป็นการแบ่งปันการเผยแสดงซึ่งสำเร็จไปด้วยอานุภาพของกางเขน ไม่มีผู้ใดเคยมีประสบการณ์ในขั้นเดียวกันนี้ กับพระมารดาของพระผู้ทรงถูกตรึงกางเขนถึงธรรมล้ำลึกแห่งกางเขน อันเป็นการพบปะซึ่งเหนือคำบรรยายระหว่างพระเมตตาอันเอื้ออาทรควบคู่ไปกับความรัก ไม่มีผู้ใดต้องรับธรรมล้ำลึก อันได้แก่มิติอันแท้จริงของพระเป็นเจ้าเกี่ยวกับการไถ่กู้ ซึ่งสำเร็จลงบนเนินเขากัลวาริโอ ด้วยการสิ้นพระชนม์ขององค์พระบุตร พร้อมๆ ไปกับการยกถวายดวงใจแห่งการเป็นมารดาของพระนาง ควบคู่ไปกับการยินยอมน้อมรับของพระนาง

๒. ทรงบังเกิดจากพระนางมารีย์พรหมจารี

นี่คือส่วนหนึ่งของบทสวด “สัญลักษณ์อัครสาวกหรือบทข้าพเจ้าเชื่อ” พระนางมารีย์ทรงมีส่วนร่วมในแผนการประวัติศาสตร์แห่งความรอดของพระเป็นเจ้า เป็นผู้นำพระเมตตาของพระเป็นเจ้า (พระเยซูเจ้า) เข้ามาสู่โลก สู่ประวัติศาสตร์ของมนุษยชาติ “ท่าน​จะ​ตั้ง​ครรภ์​และ​ให้​กำเนิด​บุตร​ชาย​คน​หนึ่ง ท่าน​จะ​ตั้ง​ชื่อ​เขา​ว่า​เยซู เขา​จะ​เป็น​ผู้ยิ่งใหญ่​และ​พระ​เจ้า​ผู้​สูงสุด​จะ​ทรง​เรียก​เขา​เป็น​บุตร​ของ​พระ​องค์ พระ​เจ้า​จะ​ประ​ทาน​พระ​ที่นั่ง​ของ​กษัตริย์​ดา​วิด​บรรพบุรุษ​ให้แก่​เขา เขา​จะ​ปกครอง​วงศ์​ตระกูล​ของยา​โคบ​ตลอดไป​และ​พระ​อาณา​จักร​ของ​เขา​จะ​ไม่​สิ้นสุด​เลย (ลก 1:31-33) “เมือง​เบธเล​เฮ​ม ดินแดน​ยูดาห์ เจ้า​มิใช่​เล็ก​ที่สุด​ใน​บรรดา​หัวเมือง​แห่ง​ยูดาห์ เพราะ​ผู้นำ​คน​หนึ่ง​จะ​ออก​มา​จาก​เจ้า ซึ่ง​จะ​เป็น​ผู้นำ​อิสราเอล ประชากร​ของ​เรา (มธ 2:6)

สมณโองการ พระพักตร์แห่งความเมตตา(Misericordiae Vultus) ของสมเด็จพระสันตะปาปาฟรังซิส ท่านได้อธิบายว่า "ไม่มีผู้ใดเข้าถึงธรรมล้ำลึกแห่งการบังเกิดของพระเยซูเจ้าเฉกเช่นพระนางมารีย์ ชีวิตทั้งหมดของแม่พระคือ สำเนาแห่งผู้ทรงเมตตาที่เสด็จมารับสภาพมนุษย์ พระมารดาของพระผู้ถูกตรึงตายบนไม้กางเขนและเสด็จกลับฟื้นพระชนม์ชีพ ทรงเสด็จเข้าถึงตำหนักพระเมตตาของพระเจ้า เพราะพระนางมารีย์ทรงมีส่วนร่วมอย่างใกล้ชิดธรรมล้ำลึกแห่งความรักของพระองค์ เมื่อถูกเลือกให้เป็นมารดาของพระบุตรของพระเจ้า พระแม่มารีย์ถูกเตรียมด้วยความรักของพระเจ้าตั้งแต่เริ่มแรก ให้เป็นสำเภาแห่งพันธสัญญาระหว่างพระเจ้ากับมนุษย์ พระแม่ทรงเก็บรักษาพระเมตตาของพระเจ้าไว้ในดวงพระทัยพร้อมกับความกลมเกลียวเสมานฉันท์อย่างครบครันกับพระเยซูบุตรของพระแม่..”

 จดหมายของพระสันตะปาปา ถึงพระอัครสังฆราชไรโน ฟิสิเชลลี่ ได้ลงท้ายจดหมายว่า “อาศัยการวอนขอของพระมารดาผู้ทรงเมตตา พ่อมั่นใจว่าการเตรียมการสำหรับปีศักดิ์สิทธิ์ที่พิเศษนี้จะได้รับการปกป้องจากพระนาง”

"ปีศักดิ์สิทธิ์แห่งเมตตาธรรม ช่วงเวลานี้ได้เชื่อมโยงกับสิ่งเดียวที่สำคัญที่สุดคือ ศีลศักดิ์สิทธิ์แห่งการคืนดี (ศีลอภัยบาป) และ การประกอบพิธีบูชาขอบพระคุณที่สะท้อนถึงพระเมตตาธรรมของพระเจ้า มันเป็นความจำเป็นมากที่ต้องมีการเฉลิมฉลองเหล่านี้กับการประกาศยืนยันความเชื่อ และกับการสวดภาวนาเพื่อตัวสัตบุรุษเองและเพื่อความตั้งใจของเขา/เธอว่า พวกเขา/เธอนั้นมีความปรารถนาดีต่อพระศาสนจักรและโลกทั้งมวลด้วย.." (พระสันตะปาปาฟรังซิส)

เพื่อร่วมฉลองปีศักดิ์สิทธ์แห่งเมตตาธรรม อย่าลืม มารดาแห่งเมตตาธรรม



[1] สมเด็จพระสันตะปาปาฟรังซิส, พระพักตร์แห่งเมตตาธรรม (Misericordiae Vultus), (สมณโองการ) ข้อ ๒๔

[2] divine-mercy-in-my-soul online from https://liturgicalyear.files.wordpress.com/.../divine-mercy-in-my-soul.pdf no.๐๓๓๐

[3] สมเด็จพระสันตะปาปา ยอห์น ปอล ที่ ๒, พระเมตตาของพระเป็นเจ้า(Dives in Misericordia), แปลโดยพระคุณเจ้ายอด พิมพิสาร, C.Ss.R.. หน้า ๕๑-๕๒

[4] สมเด็จพระสันตะปาปา ยอห์น ปอล ที่ ๒, พระเมตตาของพระเป็นเจ้า(Dives in Misericordia), แปลโดยพระคุณเจ้ายอด พิมพิสาร, C.Ss.R.. หน้า ๕๐

สถิติการเยี่ยมชม

10487783
Today
Yesterday
This Week
Last Week
This Month
Last Month
All days
2216
3833
8759
10448190
8759
124638
10487783
Your IP: 3.144.114.8
Server Time: 2024-12-03 03:42:44

แบบฟอร์ม

instagram

พระศาสนจักร


สื่อ YOUTUBE


Laudato si’

บทเรียนคำสอน





บทภาวนา

พิธีกรรมต่างๆ

เอกสารพระศาสนจักร

บทความคำสอน



KAMSONCHAN

 

   องค์กรคาทอลิก              คณะนักบวช  
 

สภาพระสังฆราชคาทอลิกแห่งประเทศไทย
คณะกรรมการคาทอลิกเพื่อคริสตศาสนธรรม
แผนกคริสตศาสนธรรม
อัครสังฆมณฑลกรุงเทพฯ
ศูนย์คริสตศาสนธรรม อัครสังฆมณฑลกรุงเทพฯ
สังฆมณฑลจันทบุรี
คณะรักกางเขนแห่งจันทบุรี
มูลนิธิสงเคราะห์เด็ก พัทยา
คามิลเลียนโซเชียลเซนเตอร์ ระยอง

  สังฆมณฑลนครราชสีมา                       
ศูนย์คริสตศาสนธรรม สังฆมณฑลนครราชสีมา
สังฆมณฑลอุบลราชธานี
ศูนย์คริสตศาสนธรรม สังฆมณฑลอุบลราชธานี   
สังฆมณฑลราชบุรี
ศูนย์คริสตศาสนธรรม สังฆมณฑลราชบุรี
ศูนย์คริสตศาสนธรรม สังฆมณฑลราชบุรี
สังฆมณฑลนครสวรรค์
สังฆมณฑลเชียงใหม่
  สังฆมณฑลสุราษฎ์ธานี
สังฆมณฑลอุดรธานี
ศูนย์คริสตศาสนธรรม สังฆมณฑลอุดรธานี

สภาการศึกษาคาทอลิกประเทศไทย
คณะกรรมการคาทอลิกเพื่อความยุติธรรมและสันติ (ยส.)
คณะกรรมการคาทอลิกเพื่อพระคัมภีร์
คณะกรรมการคาทอลิกเพื่อสุขภาพอนามัย
สื่อมวลชนคาทอลิกประเทศไทย
สื่อมวลชนคาทอลิกประเทศไทย (อุดมสาร)
  ชมรมอธิการิณีเจ้าคณะนักบวชแห่งประเทศไทย
คณะภคินีเซนต์ปอลเดอร์ชาร์ต
คณะภคินีศรีชุมพาบาล       
คณะพระมหาไถ่แห่งประเทศไทย
คณะเซนต์คาเบรียล
คณะซาเลเซียน
คณะซาเลเซียน (ซิสเตอร์)
กางเขนแดงสาร

 



JSN Megazine template designed by JoomlaShine.com