Homeบทความบทความ :: คุณพ่อเอนก นามวงษ์จากประตูแห่งความเชื่อ สู่ประตูศักดิ์สิทธิ์ (ตอนที่ 7)

จากประตูแห่งความเชื่อ สู่ประตูศักดิ์สิทธิ์ (ตอนที่ 7)

(ภาพประกอบจากอินเตอร์เน็ต)

 

                 ความเดิมเมื่อตอนที่แล้ว นำเสนอเอกสารของพระศาสนจักรที่เชิญคริสตชนถูกเรียกให้เป็นผู้ศักดิ์สิทธิ์และนำเสนอการดำเนินชีวิตที่ศักดิ์สิทธิ์ของคริสตชนพระเป็นเจ้าไม่ได้ปล่อยให้เขาต้องดำเนินชีวิตตามลำพัง, ค้นหาวิธีการตามลำพังแต่พระเยซูเจ้าได้ทรงส่งพระจิตเจ้าเข้ามาในตัวทุกคนเพื่อปลุกกระตุ้นภายในให้เขารักพระเป็นเจ้าด้วยสุดดวงใจ, สุดวิญญาณ, สุดความนึกคิดและสุดความสามารถของเขา (เทียบมก. 12,30)

                 เหตุที่คริสตชนต้องได้รับความช่วยเหลือจากพระเป็นเจ้าในการเป็น “คริสตชนที่ศักดิ์สิทธิ์” 

                 อันดับแรกคือ ความสัมพันธ์ระหว่างพระเป็นเจ้ากับคริสตชนในฐานะที่เราเป็นลูกของพระองค์  หนังสือฮีบรูบทที่ 8 ข้อที่ 10 เขียนว่า “นี่​คือ​พันธ​สัญญา​ที่​เรา​จะ​ทำ​กับ​ตระกูล​อิสราเอลภายหลัง​วัน​เหล่า​นั้นพระ​เจ้า​ตรัสเรา​จะ​ใส่​บท​บัญญัติ​ของ​เรา​ใน​จิตใจ​ของ​เขาเรา​จะ​จารึก​ไว้​ใน​ดวงใจ​ของ​เขาและ​เรา​จะ​เป็น​พระ​เจ้า​ของ​เขาและ​เขา​จะ​เป็น​ประชากร​ของ​เราเมื่อเราเป็นประชากรของพระเป็นเจ้า เราจำเป็นต้องดำเนินชีวิตตามที่นักบุญเปาโลกล่าวว่า“ข้าพ​เจ้า​ถูก​ตรึง​กาง​เขน​กับ​พระ​คริสต​เจ้า​แล้วข้าพ​เจ้า​มี​ชีวิต​อยู่มิใช่​ตัว​ข้าพ​เจ้า​อีก​ต่อไปแต่​พระ​คริสต​เจ้า​ทรง​ดำรง​ชีวิต​อยู่​ใน​ตัว​ข้าพ​เจ้าชีวิต​ที่​ข้าพ​เจ้า​กำลัง​ดำเนิน​อยู่​ใน​ร่างกาย​ขณะนี้ข้าพ​เจ้า​ดำเนิน​ชีวิต​ใน​ความ​เชื่อถึง​พระ​บุตรของ​พระ​เจ้า​ผู้​ทรง​รัก​ข้าพ​เจ้า​และ​ทรง​มอบ​พระ​องค์​เพื่อ​ข้าพ​เจ้า” (กท. 2:20)

                 ดังนั้น เพื่อจะดำเนินชีวิตเป็นหนึ่งเดียวกับพระเยซูเจ้าได้ คริสตชนจึงตัองได้รับความช่วยเหลือจากพระเป็นเจ้าเจ้า

                 อันดับที่สอง จากพระสมณสาสน์ของนักบุญพระสันตะปาปา ยอห์น ปอลที่  2 เรื่อง พระเมตตาของพระเป็นเจ้า (Dives in Misericordia)1 ในหัวข้อเรื่อง  “แหล่งที่มาของความอึดอัดใจ”  ท่านนักบุญยอห์น ปอลที่ 2 ได้เขียนว่า “ภาพของโลกปัจจุบัน อันเปี่ยมด้วยความเลวทรามทั้งด้านกายและศีลธรรม จนทำให้โลกเราเป็นโลกที่เปี่ยมด้วยความขัดแย้งแตกต่างและความตรึงเครียด ในขณะเดียวกัน ก็เปี่ยมไปด้วยอันตรายต่อเสรีภาพของมนุษย์ ต่อมโนธรรมและต่อศาสนา ภาพนี้ทำให้เกิดความไม่สบายใจของมนุษย์ในปัจจุบัน ไม่เพียงแต่ผู้ไร้โอกาส และถูกข่มเหงเท่านั้น แม้แต่ผู้ที่ได้สิทธิพิเศษเพราะความร่ำรวย ความก้าวหน้าและอำนาจ ก็รู้สึกไม่สบายใจ แม้จะมีคนจำนวนไม่น้อยที่พยายามเข้าใจถึงสาเหตุของความไม่สบายใจนี้ หรือพยายามที่จะเผชิญกับสถาสนการณ์ดังกล่าว ด้วยเครื่องมือฝ่ายโลก อาศัยเทคโนโลยี ความร่ำรวยและอำนาจ แต่ลึกลงไปในจิตวิญญาณของมนุษย์ ความไม่สบายใจนี้รุงแรงมากกว่าสิ่งบำบัดฝ่ายโลก ตามที่สภาสังคายนาวาติกันที่ ได้กล่าวไว้อย่างถูกต้องแล้วว่า ความไม่สบายใจนี้เกี่ยวโยงกับปัญหาขึ้นพื้นฐานของความเป็นอยู่มวลมนุษย์ เป็นเรื่องที่เกี่ยวโยงอย่างใกล้ชิด กับความเป็นอยู่ของมนุษย์ในโลก เป็นความไม่สบายใจสำหรับอนาคตของมนุษย์ และมนุษยชาติทั้งปวง ซึ่งจำเป็นที่จะต้องมีการแก้ปัญหาอย่างเด็ดขาด ความเร่งด่วน.......”

                 ท่านนักบุญยอห์นปอลที่ 2 ให้ความเห็นว่าสถานการณ์ของมนุษย์ในปัจจุบัน มีความยากเกินกว่ามนุษย์จะช่วยเหลือและเยียวยาตนเองให้เป็นคริสตชนที่ศักดิ์สิทธิ์ได้ คริสตชนจึงจำเป็นต้องได้รับความเมตตาจากพระเป็นเจ้า ซึ่งพระเมตตาของพระเป็นเจ้าคือคุณสมบัติและความครบบริบูรณ์อันสูงสุดของพระเป็นเจ้า พระเยซูเป็นผู้เผยแสดงพระเมตตาของพระเป็นเจ้าให้ปรากฎและเป็นจริง พระศาสนจักรเองก็ได้ร่วมมือกับพระเยซูเจ้าในการสำแดงพระเมตตาของพระเป็นเจ้านี้

                 ดังนั้น คริสตชนจึงเป็นต้องได้รับการช่วยเหลือจากพระเป็นเจ้า


(อ่านต่อฉบับหน้า)


1 พระเมตตาของพระเป็นเจ้า (Dives in Misericordia)แปลโดยพระคุณเจ้ายอด พิมพิสาร C.Ss.R. บทที่ 6 หัวข้อที่ 11 หน้า 59-62

สถิติการเยี่ยมชม

9674650
Today
Yesterday
This Week
Last Week
This Month
Last Month
All days
84
5289
84
9631860
161017
260177
9674650
Your IP: 18.188.61.223
Server Time: 2024-04-28 00:52:08

แบบฟอร์ม

instagram

พระศาสนจักร


สื่อ YOUTUBE


Laudato si’

บทเรียนคำสอน





บทภาวนา

พิธีกรรมต่างๆ

เอกสารพระศาสนจักร

บทความคำสอน



KAMSONCHAN

 

   องค์กรคาทอลิก              คณะนักบวช  
 

สภาพระสังฆราชคาทอลิกแห่งประเทศไทย
คณะกรรมการคาทอลิกเพื่อคริสตศาสนธรรม
แผนกคริสตศาสนธรรม
อัครสังฆมณฑลกรุงเทพฯ
ศูนย์คริสตศาสนธรรม อัครสังฆมณฑลกรุงเทพฯ
สังฆมณฑลจันทบุรี
คณะรักกางเขนแห่งจันทบุรี
มูลนิธิสงเคราะห์เด็ก พัทยา
คามิลเลียนโซเชียลเซนเตอร์ ระยอง

  สังฆมณฑลนครราชสีมา                       
ศูนย์คริสตศาสนธรรม สังฆมณฑลนครราชสีมา
สังฆมณฑลอุบลราชธานี
ศูนย์คริสตศาสนธรรม สังฆมณฑลอุบลราชธานี   
สังฆมณฑลราชบุรี
ศูนย์คริสตศาสนธรรม สังฆมณฑลราชบุรี
ศูนย์คริสตศาสนธรรม สังฆมณฑลราชบุรี
สังฆมณฑลนครสวรรค์
สังฆมณฑลเชียงใหม่
  สังฆมณฑลสุราษฎ์ธานี
สังฆมณฑลอุดรธานี
ศูนย์คริสตศาสนธรรม สังฆมณฑลอุดรธานี

สภาการศึกษาคาทอลิกประเทศไทย
คณะกรรมการคาทอลิกเพื่อความยุติธรรมและสันติ (ยส.)
คณะกรรมการคาทอลิกเพื่อพระคัมภีร์
คณะกรรมการคาทอลิกเพื่อสุขภาพอนามัย
สื่อมวลชนคาทอลิกประเทศไทย
สื่อมวลชนคาทอลิกประเทศไทย (อุดมสาร)
  ชมรมอธิการิณีเจ้าคณะนักบวชแห่งประเทศไทย
คณะภคินีเซนต์ปอลเดอร์ชาร์ต
คณะภคินีศรีชุมพาบาล       
คณะพระมหาไถ่แห่งประเทศไทย
คณะเซนต์คาเบรียล
คณะซาเลเซียน
คณะซาเลเซียน (ซิสเตอร์)
กางเขนแดงสาร

 



JSN Megazine template designed by JoomlaShine.com