Homeบทความบทความ :: คุณพ่อเอนก นามวงษ์“ปีศักดิ์สิทธิ์แห่งเมตตาธรรม”

“ปีศักดิ์สิทธิ์แห่งเมตตาธรรม”

(ภาพประกอบจากอินเตอร์เน็ต)

 

ปีศักดิ์สิทธิ์แห่งเมตตาธรรม             
โดย คพ. เอนก นามวงษ์

1. ปีศักดิ์สิทธิ์หรือปียูบิลี (Jubilee)

                 ตามธรรมประเพณีของพระศาสนจักร ปีศักดิ์สิทธิ์ หรือปียูบิลี เป็นช่วงเวลาที่สำคัญของพระศาสนจักร เป็นช่วงเวลาของการให้อภัยบาป เป็นช่วงเวลาแห่งการกลับใจและอุทิศตนเอง เพื่อพระเป็นเจ้าด้วยความชื่นชมยินดี เพื่อความเป็นหนึ่งเดียวกับเพื่อนพี่น้องคริสตชน มีความหวังในพระเป็นเจ้า และพระเยซูเจ้าทรงเป็นพระผู้ไถ่บาปมนุษย์ พระหรรษทานประทานมาให้มนุษย์โดยผ่านทางพระองค์

                 ปีศักดิ์สิทธิ์ มีรากฐานมาจากหนังสือพระคัมภีร์ ในหนังสือเลวีนิติได้บันทึกไว้ว่า “ท่านจะต้องประกาศว่าปีที่ห้าสิบนั้นเป็นปีศักดิ์สิทธิ์ และประกาศการปลดปล่อยสำหรับทุกคนที่อาศัยอยู่ในแผ่นดิน ปีนั้นจะได้ชื่อว่า ‘ปีเป่าเขาสัตว์’ สำหรับท่าน แต่ละคนจะได้รับที่ดินของตระกูลคืนมา แต่ละคนจะกลับไปยังครอบครัวของตน” (ลนต 25:10)

                 จากหนังสือเลวีนิติ จะพบว่า ทุก ๆ 50 ปี จะมีการประกาศปี Jubilee หรือปีศักด์สิทธิ์ ปีศักดิ์สิทธิ์จะถูกเรียกว่า “ปีเป่าเขาสัตว์”ระหว่างปีแห่งเขาสัตว์ หรือปีศักดิ์สิทธิ์นั้น ประชากรของพระเป็นเจ้าจะได้รับการฟื้นฟูเรื่องเศรษฐกิจ สังคมและครอบครัว....

  • ที่ดินจะได้รับการคืนสู่เจ้าของเดิม (ลนต 25:23-34)
  • คนที่เป็นทาส จะได้รับปลดปล่อยเป็นอิสระ (ลนต 25:35-54)
  • สมาชิกในครอบครัวได้กลับมาอยู่ร่วมกันอีกครั้งหนึ่ง (ลนต 25:41)
  • หนี้สินได้รับการยกหนี้ (ฉธบ 15:1-10)

                 หากดูตามเลวีนิติบทที่ 25 ข้อที่ 10 จะเห็นว่า วัตถุประสงค์ของการประกาศปีศักดิสิทธิ์คือ ช่วยผู้ที่ถูกกดขี่ข่มเหง ผู้ที่ถูกเอารัดเอาเปรียบ

                 ปีศักดิ์สิทธิ์ พระเป็นเจ้ายังสัญญาว่าจะดูแลและอวยพรประชากรของพระองค์ด้วย พระเป็นเจ้าจะให้พืชผลในแผ่นดินมีอย่างอุดมสมบูรณ์ โดยที่ประชากรของพระองค์ไม่ต้องหว่านพืช “ปีเป่าเขาสัตว์นี้จะเป็นปีศักดิ์สิทธิ์สำหรับท่าน ตลอดปีนี้ ท่านจะกินพืชผลที่งอกขึ้นเองในทุ่งนา” (ลนต 25:12)

                 ปีศักดิ์สิทธิ์ อันที่จริงเป็นการเตรียมภาพลาง ๆ ล่วงหน้าขององค์พระผู้ไถ่ ที่จะเสด็จมาในการเทศน์สอนของพระเยซูเจ้า พระองค์ได้ประกาศ “ปีแห่งความโปรดปรานจากพระเจ้า” (ลก 4:19) ซึ่งช่วงเวลาปีแห่งความโปรดปรานจากพระเจ้านั้นคือ ช่วงเวลา 33 ปี ที่พระเยซูเจ้าได้ประกาศข่าวดีนั่นเอง ปีศักดิ์สิทธ์ ในพระธรรมใหม่ ให้ความหมายเหมือนกับความหมายในพระธรรมเดิม นั่นคือ

  • สมาชิกในครอบครัวได้กลับมาอยู่ร่วมกันอีกครั้งหนึ่ง “ไม่มีชาวยิวหรือชาวกรีก ไม่มีทาสหรือไท ไม่มีชายหรือหญิงอีกต่อไป เพราะท่านทุกคนเป็นหนึ่งเดียวกันในพระคริสตเยซู” (กท 3:28)
  • คนที่เป็นทาส จะได้รับปลดปล่อยเป็นอิสระ จากการเป็นทาสของบาป “จะต้องประกาศในพระนามของพระองค์ให้นานาชาติกลับใจเพื่อรับอภัยบาปโดยเริ่มจากกรุงเยรูซาเล็ม” (ลก 24:47)
  • สมาชิกในครอบครัวได้กลับมาอยู่ร่วมกันอีกครั้งหนึ่ง ขณะที่ยอห์นถูกจองจำอยู่ในคุก เขาได้ยินข่าวกิจการของพระเยซูเจ้า จึงใช้ศิษย์ไปทูลถามพระองค์ว่า“ท่านคือผู้ที่จะมาหรือเราจะต้องรอคอยใครอีก” พระเยซูเจ้าตรัสตอบว่า “จงไปบอกยอห์นถึงสิ่งที่ท่านได้ยินและได้เห็นคนตาบอดกลับแลเห็น คนง่อยเดินได้ คนโรคเรื้อนหายจากโรค คนหูหนวกได้ยิน คนตายกลับคืนชีพ คนยากจนได้รับการประกาศข่าวดี” (มธ 11:2-5)

                 ดังนั้น ปีศักดิ์สิทธิ์จะเป็นปีที่พระเยซูปลดปล่อยเราเป็นอิสระ เหมือนกับในพระธรรมเดิม แต่ลึกซึ้งกว่านั่นคือ ปลดปล่อยคริสตชนเป็นอิสระจากการเป็นทาสของบาป (รม 6:15-19)

 

2. การประกาศปีศักดิ์สิทธิ์ในพระศาสนจักร

                 การประกาศปีศักดิ์สิทธิ์ในพระศาสนจักรจะแบ่งออกเป็น 2 ประเภท

                 1. ประกาศปีศักดิ์สิทธิ์ตามเวลาที่พระศาสนจักรกำหนด

                 2. ประกาศปีศักดิ์สิทธิ์ตามโอกาสที่สำคัญๆของพระศาสนจักร
                     (Extraordinary of Holy Year)

                 อันที่จริงพระสันตะปาปาสามารถประกาศปีศักดิ์สิทธิ์ได้ทุกเมื่อ หรือในช่วงเวลาใดก็ได้ สุดแต่วัตถุประสงค์ของพระองค์


ปีศักดิ์สิทธิ์ตามกำหนดเวลา

                 การประกาศปีศักดิ์สิทธิ์ครั้งแรกในพระศาสนจักร เมื่อวันที่ 22 กุมภาพันธ์ ค.ศ 1300/พ.ศ. 1843 โดยพระสันตะปาปา โบนิเฟสที่ 8 โดยประกาศสมณโองการ “Antiquorum harvest fida relatio” ในสมณโองการฉบับนี้ ได้กำหนดฉลองปีศักดิ์สิทธิ์ครั้งถัดไปในอีก 100 ปี นั้นคือ จะฉลองปีศักดิ์สิทธิ์อีกทีในปี ค.ศ. 1400

                 เนื่องจาก 100 ปี เป็นเวลาที่ยาวไป จึงได้กำหนดให้ประกาศปีศักดิ์สิทธิ์ต่อ ๆ มา ทุก ๆ 50 ปี

                 ปี ค.ศ 1390/พ.ศ. 1933 สมัยพระสันตะปาปาอูรบัน ที่ 6 กำหนดให้ฉลองปีศักดิ์สิทธิ์ทุก 33 ปี โดยยึดหลักพระชนมายุของพระเยซูเจ้า

                 จนกระทั่งปีค.ศ. 1450/พ.ศ. 1993 ปีศักดิ์สิทธิ์ ได้ลดจำนวนปีลง เหลือทุก 25 ปี เพื่อว่าช่วงชีวิตหนึ่งของคริสตชนจะได้มีโอกาสฉลองปีศักดิ์สิทธิ์ของพระศาสนจักร

 

ปีศักดิ์สิทธิ์พิเศษ (Extraordinary of Holy Year)

                 ในประวัติการประกาศปีศักดิ์สิทธิ์พิเศษของพระศาสนจักรคาทอลิกตามบันทึกมีการประกาศในวโรกาสต่าง ๆ ดังนี้ เช่น

  • ค.ศ. 1628/พ.ศ.2171
     
  พระสันตะปาปาเออร์บันที่ 8 ทรงประกาศเป็นปีศักดิ์สิทธิ์พิเศษ เพื่อการภาวนาสำหรับสันติภาพ
หลังจากที่พระองค์ได้ทรงประกาศปีศักดิ์สิทธิ์ในปี ค.ศ. 1625/พ.ศ. 2168
  • ค.ศ. 1933/พ.ศ. 2476

  พระสันตะปาปาปิอุสที่ 11 ทรงประกาศเพื่อเป็นการระลึกถึงการครบรอบ 1900 ปี
ของการสิ้นพระชนม์ของพระเยซูเจ้า
  • ค.ศ. 1966/พ.ศ. 2509

  พระสันตะปาปาปอลที่ 2 ทรงประกาศในโอกาสครบ 50 ปี
ของการประกาศปีศักดิ์สิทธิ์พิเศษในปี 1933/พ.ศ. 2476
  • ค.ศ. 1983/พ.ศ. 2526

  พระสันตะปาปายอห์นปอลที่ 2 ทรงประกาศในโอกาสครบ 1950 ปี ของการไถ่กู้ของพระคริสตเจ้า
เป็นการประกาศต่อเนื่องครบ 50 ปี จากที่ประกาศในปี ค.ศ. 1933/พ.ศ. 2476 โดยพระสันตะปาปาปิอุสที่ 11
  • ค.ศ. 2015/พ.ศ. 2558

  พระสันตะปาปาฟรังซิส ทรงประกาศในโอกาสครบรอบ 50 ปี ของการปิดสภาสังคายนาวาติกันที่ 2
เมื่อ วันที่ 2 ธันวาคม ค.ศ. 1965/พ.ศ. 2508

 

3. ปีศักดิ์สิทธิ์แห่งเมตตาธรรม(8 ธันวาคม 2015 – พฤศจกายน 2016)

ผู้ประกาศ : พระสันตะปาปาฟรังซิส

ประกาศปีศักดิ์สิทธ์เนื่องในโอกาส : โอกาสครบรอบ 50 ปี ของการปิดสภาสังคายนาวาติกันที่ 2 เมื่อ 2 ธันวาคม ค.ศ. 1965/พ.ศ. 2508

เหตุผลที่ประกาศปีศักดิ์สิทธิ์ :

                 ในสมณโองการ “พระพักตร์แห่งเมตตาธรรม (Misericordiae Vultus)” ได้เขียนว่า

  1. พระเยซูคริสตเจ้า ทรงเป็นพระพักตร์แห่งพระเมตตาของพระบิดาเจ้า เป็นบทสรุปธรรมล้ำลึกของความเชื่อคริสตชน เป็นการบรรลุจุดสูงสุดในพระองค์ พระเมตตาได้ประจักษ์และดำรงอยู่ในองค์พระเยซูเจ้าชาวนาซาเร็ธ
  2. พระเมตตาของพระเป็นเจ้า เป็นดั่งน้ำพุแห่งความชื่นชมยินดี  ความสงบ และสันติสุขและความรอดของเราขึ้นอยู่กับเมตตาธรรม
  3. เมตตาธรรมเป็นคำที่เผยแสดงธรรมล้ำลึกแห่งพระตรีเอกภาพพระเมตตาเป็นพระราชกิจของพระเจ้าที่พิเศษสูงสุดที่ซึ่งพระองค์ทรงเสด็จมาพบกับเรา  ในช่วงเวลาที่เราถูกเรียกมารำพึงถึงความเมตตาของพระเป็นเจ้า  เราจะเป็นเครื่องหมายที่ทรงประสิทธิผลของพระราชกิจของพระบิดาในการดำเนินชีวิตของเรา

                 ด้วยเหตุผลนี้ พระสันตะปาปาฟรังซิสจึงประกาศปีศักดิ์สิทธิ์(พิเศษ)แห่งเมตตาธรรมเพื่อเป็นช่วงเวลาพิเศษสำหรับพระศาสนจักร  เวลาซึ่งการเป็นพยานของผู้มีความเชื่อจะเติบโตอย่างเข้มแข็งและมีประสิทธิภาพยิ่งขึ้น

ระยะเวลาปีศักดิสิทธิ์ : ระหว่างวันที่ 8 ธันวาคม 2015 – 20 พฤศจิกายน 2016

                 เหตุผลที่พระสันตะปาปาเลือกเปิดวันที่ 8 ธันวาคม เพราะเป็นวันสมโภชพระนางมารีย์ผู้ปฏิสนธินิรมล เป็นการระลึกถึง พระราชกิจของพระเจ้า จากจุดเริ่มต้นของประวัติศาสตร์แห่งมนุษยชาติ หลังจากที่อาดัมและเอวาได้ทำบาป พระเจ้าไม่ทรงประสงค์ที่จะทอดทิ้งมนุษย์ให้อยู่ตามลำพังท่ามกลางความลำเค็ญของความชั่วร้าย พระองค์จึงทรงมุ่งพระเนตรไปยังพระนางมารีย์ผู้ศักดิ์สิทธิ์และปราศจากมลทินด้วยความรัก (เทียบ อฟ.1:4) พระองค์ทรงเลือกพระนางเป็นพระมารดาของพระผู้ไถ่

                 ดังนั้น พระสันตะปาปาได้เลือกวันที่ 8 ธันวาคม เพราะเป็นวันที่มีความหมายอย่างมากในประวัติศาสตร์ของพระศาสนจักรในยุคปัจจุบัน โดยความจริงแล้วพระองค์จะเปิดประตูศักดิ์สิทธิ์ในโอกาสครอบรอบ 50 ปี ของการปิดสภาสังคายนาวาติกันที่ 2 พระศาสนจักรตระหนักถึงความจำเป็นยิ่งใหญ่ ที่จะต้องรักษาเหตุการณ์สำคัญนี้ให้ดำรงอยู่

พระวาจาสำหรับปีศักดิ์สิทธิ์แห่งเมตตาธรรม : จงเป็นผู้เมตตากรุณาดังที่พระบิดาของท่านทรงพระเมตตากรุณาเถิด” (ลก.6:36)

พระประสงค์ของพระสันตะปาปาในช่วงเวลาของปีศักดิ์สิทธิ์:เชิญชวนคริสตชนควรรำพึงไตร่ตรอง กิจการแห่งเมตตาธรรมทั้งฝ่ายร่างกาย และฝ่ายจิต

ปีศักดิ์สิทธ์ช่วงเวลาแห่งการรับพระคุณการุณย์:

                 การให้พระคุณการุณย์ เป็นส่วนหนึ่งของปีศักดิ์สิทธิ์แห่งเมตตาธรรม ในหนังสือคำสอนพระศาสนจักรข้อ 1471 ได้อธิบายข้อความเชื่อ และการปฏิบัติเกี่ยวกับพระคุณการุณย์ในพระศาสนจักรนั้นก็มีความสัมพันธ์กันอย่างใกล้ชิดกับผลของศีลอภัยบาป “พระคุณการุณย์คือ การยกโทษบาปชั่วคราวที่เรากระทำต่อหน้าพระเจ้า ยกไปแล้วในแง่ความผิดการยกบาป ซึ่งคริสตชนมีความพร้อมในฐานะเป็นหนี้ และตกอยู่ในเงื่อนไขที่กำหนดไว้ ได้มาโดยความช่วยเหลือของพระศาสนจักรซึ่งเป็นผู้จัดการเรื่องการใช้โทษ และรับจากคลังสมบัติแห่งพระบารมีของพระคริสตเจ้าและบรรดานักบุญ” (เปาโลที่ 6 คำสอนเรื่องพระคุณการุณย์) พระการุณย์นั้นแบ่งเป็นสมบูรณ์และไม่สมบูรณ์อยู่กับว่าปลดปล่อยบางส่วนหรือทั้งหมดจากบาปเบาที่ต้องรับเพราะบาป” (คำสอนเรื่องพระคุณการุณย์ 2 เทียบ 3) คริสตชนสามารถได้รับพระคุณการุณย์สำหรับตนเองหรืออุทิศแก่ผู้ล่วงลับ (กฎหมายพระศาสนจักร ม.994)

                 สรุปง่าย ๆ ก็คือ พระคุณการุณย์คือ การอภัยโทษบาปของเรา ตามเงื่อนไขของพระศาสนจักรกำหนด ส่วนรายละเอียดเงื่อนไขการรับพระคุณการุณย์ของสังฆมณฑล จะกล่าวถึงในโอกาสต่อไป

                 การให้พระคุณการุณย์ในโอกาสปีศักดิ์สิทธิ์  พระเจ้าทรงประทานอภัยโดยปราศจากพันธะใด ๆ ในการสิ้นพระชนม์และการกลับคืนพระชนมชีพของพระเยซูคริสตเจ้า แสดงถึงอำนาจที่ทรงทำลายบาปของมนุษยชาติ การคืนดีกับพระเจ้าเป็นไปได้โดยผ่านทางธรรมล้ำลึกปัสกาและการภาวนาของพระศาสนจักร พระเจ้าทรงพร้อมเสมอที่จะประทานอภัยและไม่ทรงเหนื่อยล้าที่จะอภัย การรับพระคุณการุณย์เป็นประสบการณ์ความศักดิ์สิทธิ์ของพระศาสนจักรแห่งการไถ่กู้ของพระคริสตเจ้า การให้อภัยและความรักของพระเจ้าแผ่ขยายไปทุกที่ ขอให้เราใช้ช่วงเวลาของปีศักสิทธิ์นี้อย่างเคร่งครัด เพื่อวอนขอการอภัยจากพระบิดาสำหรับบาปของเราและห่อหุ้มพวกเราด้วย “พระคุณการุณย์” พระเมตตาของพระองค์

การเปิดประตูศักดิ์สิทธิ์ :

                 การเปิดประตูศักดิ์สิทธิ์ เป็นเครื่องหมายที่สำคัญของการฉลองปีศักดิ์สิทธิ์ประตูศักดิ์สิทธิ์เป็นเครื่องหมายของ “ทาง” ของผู้จารึกแสวงบุญ ซึ่งผู้จารึกแสวงบุญหรือบรรดาคริสตชนได้ถูกเรียกให้มายังพระหรรษทาน โดยผ่านทางประตูศักดิ์สิทธิ์ นั่นคือ องค์พระเยซูเจ้าเอง พระองคตรัสว่า “เราเป็นประตู” (ยน 10:7)

                 ดังนั้น ประตูศักดิ์สิทธิ์จึงเป็นเครื่องหมายเชิงสัญลักษณ์หมายถึงการเปิดทางให้ผู้มีความเชื่อทุกคนได้เดินผ่านประตูเพื่อไปรับพระหรรษทานผ่านทางศีลอภัยบาป สังฆมณฑลได้กำหนดให้มี ประตูศักดิ์สิทธิ์ ที่อาสนวิหาร พระนางมารีอาปฏิสนธินิรมล จันทบุรี

                 ทำไมต้องเอาค้อนเคาะประตูศักดิ์สิทธิ์ในพิธีเปิดปีศักดิ์สิทธิ์  การเอาค้อนเคาะประตู เป็นการกระทำเชิงสัญลักษณ์ที่หมายถึง การหลั่งพระหรรษทานมาสู่วิญญาณของผู้มีความเชื่อทุกคน เหมือนดั่งที่โมเสสก็ยกมือขึ้นใช้ไม้เท้าตีก้อนหินนั้นสองครั้ง น้ำก็ไหลทะลักออกมา คนทั้งหลายและฝูงสัตว์ก็ได้ดื่ม (กดว 20:11)

                 สุดท้าย พระสันตะปาปาทรงปิดสมณโองการ ปีศักดิ์สิทธิ์แห่งเมตตาธรรมว่า ในปีศักดิ์สิทธิ์นี้ขอให้พระศาสนจักรได้ประกาศพระวาจาอย่างกึกก้องและชัดเจน เพื่อเป็นสารและเครื่องหมายแห่งการให้อภัย ความเข้มแข็ง การช่วยเหลือและความรัก และขออย่าได้เหนื่อยล้าที่จะประกาศพระเมตตา ขอให้พระศาสนจักรเป็นเสียงของชายและหญิงทุกคน ที่กล่าวย้ำอย่างมั่นใจไม่รู้จบว่า ‘ข้าพเจ้าหวังในพระองค์ตลอดทั้งวัน ข้าแต่องค์พระเจ้าโปรดทรงระลึกถึงพระกรุณาและความรักมั่นคงที่ทรงมีตลอดมา’ (สดด 25:6)”

สถิติการเยี่ยมชม

10487025
Today
Yesterday
This Week
Last Week
This Month
Last Month
All days
1458
3833
8001
10448190
8001
124638
10487025
Your IP: 18.117.107.78
Server Time: 2024-12-03 03:14:51

แบบฟอร์ม

instagram

พระศาสนจักร


สื่อ YOUTUBE


Laudato si’

บทเรียนคำสอน





บทภาวนา

พิธีกรรมต่างๆ

เอกสารพระศาสนจักร

บทความคำสอน



KAMSONCHAN

 

   องค์กรคาทอลิก              คณะนักบวช  
 

สภาพระสังฆราชคาทอลิกแห่งประเทศไทย
คณะกรรมการคาทอลิกเพื่อคริสตศาสนธรรม
แผนกคริสตศาสนธรรม
อัครสังฆมณฑลกรุงเทพฯ
ศูนย์คริสตศาสนธรรม อัครสังฆมณฑลกรุงเทพฯ
สังฆมณฑลจันทบุรี
คณะรักกางเขนแห่งจันทบุรี
มูลนิธิสงเคราะห์เด็ก พัทยา
คามิลเลียนโซเชียลเซนเตอร์ ระยอง

  สังฆมณฑลนครราชสีมา                       
ศูนย์คริสตศาสนธรรม สังฆมณฑลนครราชสีมา
สังฆมณฑลอุบลราชธานี
ศูนย์คริสตศาสนธรรม สังฆมณฑลอุบลราชธานี   
สังฆมณฑลราชบุรี
ศูนย์คริสตศาสนธรรม สังฆมณฑลราชบุรี
ศูนย์คริสตศาสนธรรม สังฆมณฑลราชบุรี
สังฆมณฑลนครสวรรค์
สังฆมณฑลเชียงใหม่
  สังฆมณฑลสุราษฎ์ธานี
สังฆมณฑลอุดรธานี
ศูนย์คริสตศาสนธรรม สังฆมณฑลอุดรธานี

สภาการศึกษาคาทอลิกประเทศไทย
คณะกรรมการคาทอลิกเพื่อความยุติธรรมและสันติ (ยส.)
คณะกรรมการคาทอลิกเพื่อพระคัมภีร์
คณะกรรมการคาทอลิกเพื่อสุขภาพอนามัย
สื่อมวลชนคาทอลิกประเทศไทย
สื่อมวลชนคาทอลิกประเทศไทย (อุดมสาร)
  ชมรมอธิการิณีเจ้าคณะนักบวชแห่งประเทศไทย
คณะภคินีเซนต์ปอลเดอร์ชาร์ต
คณะภคินีศรีชุมพาบาล       
คณะพระมหาไถ่แห่งประเทศไทย
คณะเซนต์คาเบรียล
คณะซาเลเซียน
คณะซาเลเซียน (ซิสเตอร์)
กางเขนแดงสาร

 



JSN Megazine template designed by JoomlaShine.com