Fundamentalism and Relativism

(ภาพประกอบจากอินเตอร์เน็ต)

บทความจากวารสารมิตรสงฆ์

Fundamentalism and Relativism

        เรื่องที่อยากจะแบ่งปันให้พี่น้องมิตรสงฆ์ในครั้งนี้อาจจะหนักสมองพอสมควร แต่เป็นเรื่องที่น่าสนใจ เป็นปัญหาในศาสนาและสังคมปัจจุบัน เป็นรายงานการประชุมของคณะกรรมการเทววิทยาของ FABC (สหพันธ์สภาพระสังฆราชเอเชีย) เลขที่ 135 ที่จัดขึ้นที่บ้านผู้หว่าน สามพราน ระหว่างวันที่ 24-26 เมษายน 2012 ในหัวข้อ "Youth in Asia : Challenges of Fundamentalism and Relativism" ผู้เข้าประชุมมีพระสังฆราชเอเชีย 26 ท่าน จาก 8 ประเทศ คือ อินโดนีเซีย, มาเลเซีย, ฟิลิปปินส์, บังคลาเทศ, อินเดีย, เกาหลี, เมียนมาร์ และไทย

        ในหลายส่วนของทวีปเอเชีย Fundamentalism ก่อให้เกิดอันตรายในหลายๆ ด้าน : ด้านศาสนา ศีลธรรมและการเมือง แม้แต่ทางโลก ผลักดันให้ผู้ติดสอยห้อยตามไปสู่สภาพสุดขั้ว(สุดโต่ง) และกีดกัน ซึ่งลงเอยด้วยความรุนแรงและการเปลี่ยนแปลงขนานใหญ่ ซึ่งเรื่องนี้ถือว่าเป็นสิ่งตรงกันข้ามกับแนวความคิดตามจารีตประเพณีของชาวเอเชีย ซึ่งเจริญชีวิตอยู่ด้วยความกลมกลืนในวัฒนธรรมและศาสนาที่หลากหลายของเอเชีย ในเวลาเดียวกันสภาพสุดขั้วของปัจเจกนิยม โลกานิยม อเทวนิยมทางวิทยาศาสตร์ และการใช้เสรีภาพที่บิดเบือนได้ผลักดันคนจำนวนมากให้ยอมรับ Relativism มิใช่ในเรื่องศีลธรรมเท่านั้น หากในทุกเรื่องที่เกี่ยวกับการเจริญชีวิตของมนุษย์ ทำให้ความจริงแบบวัตถุวิสัย(Objective) กลายเป็นความจริงที่ไม่อาจลุถึงได้ Fundamentalism และ Relativism เป็นส่วนหนึ่งในชีวิตประจำวันของเรา สภาพสุดขั้วนี้มิเพียงแต่มีผลกระทบต่อเยาวชนในเอเชียเท่านั้น หากต่อประชาชนจำนวนมากในทุกๆ ทวีป ทวีปเอเชียแม้มีวัฒนธรรมและศาสนาที่หลากหลายก็ได้รับผลกระทบจากปรากฏการณ์ที่มุ่งทำลายนี้ ผู้อ่านจะมีปฏิกิริยาทันทีต่อสภาพสุดขั้วทั้งสองนี้ คือเป็น Fundamentalist ซึ่งต่อสู้กับ Relativist หรือเป็น Relativist  ที่ต่อสู้กับ Fundamentalist สิ่งที่พึงระวังหรือทางออกก็คือ ต้องรักษาทางสายกลาง ดุลยภาพหลีกหนีสุดขั้วทั้งสองนี้ เรื่องสุดท้ายก็จะพูดถึงเยาวชนของเราทิ้งวัด และพูดถึง Fundamentalism ทางโลกร่วมสมัย และอเทวนิยมซึ่งกลายเป็นค่านิยมสมัยใหม่ของเยาวชนจำนวนมากมายในโลกปัจจุบัน หวังว่าผู้อ่านมิเพียงจะเข้าใจอย่างลึกซึ้งถึง Fundamentalism และ Relativism หากยังเข้าใจด้วยว่าลัทธิสุดขั้วทั้งสองนี้มีอิทธิพลอย่างไรต่อเยาวชนเอเชียในปัจจุบัน

        บัดนี้ให้เรามาทำความรู้จักกับ Fundamentalism(มูลฐานนิยม) และ Relativism(สัมพัทธ์นิยม) กัน

        Fundamentalism  คือ ทฤษฎีที่พร้อมจะทำสงครามเพื่อมูลฐานความเชื่อ เราคงคุ้นเคยกับผู้ที่เคร่งหรือคลั่งศาสนาอย่างสุดขั้ว ยึดติดกับความเชื่อดั้งเดิมที่ถ่ายทอดกันมาตามจารีต ประเพณี Catholic Fundamentalism ไม่ยอมรับฟังเสียงของคนอื่นที่คิดและปฏิบัติแตกต่างกับตน Catholic Fundamentalist แตกต่างจากพวกอนุรักษ์นิยมซึ่งยอมรับการเปลี่ยนแปลง การปรับปรุงและการเรียนรู้จากโลกสมัยใหม่ Fundamentalism เป็นส่วนหนึ่งของประวัติศาสตร์คริสต์ แรกๆ มีความหมายในเชิงบวกมากกว่าในเชิงลบ เป็นปฏิกิริยาต่อโลกานิยม นวสมัยนิยม และหลังนวสมัยนิยมเป็นปฏิกิริยาต่อโลกาภิวัตน์นิยม ซึ่งทำให้ความสัมพันธ์ในชาติและระหว่างชาติมีปัญหา โดยทำให้อัตลักษณ์ของชาติและวัฒนธรรมหนึ่งๆ เข้มแข็ง

        ส่วน Relativism(สัมพัทธ์นิยม) ในบทเทศน์บูชามิสซาวันเลือกตั้งสมเด็จพระสันตะปาปา(ซึ่งเรียกว่าบทเทศน์เผด็จการของสัมพัทธ์นิยม) พระคาร์ดินัลรัตซิงเกอร์กล่าวกับบรรดาพระคาร์ดินัลผู้เลือกตั้งว่า ความเชื่อของเรามีรากฐานอยู่บนบทข้าพเจ้าเชื่อของพระศาสนจักร บ่อยครั้งถูกตราว่าเป็นมูลฐานนิยม ส่วนสัมพันธ์นิยมนั้น "ถูกคลื่นซัดโคลงเคลงล่องลอยตามกระแสคำสอนทุกอย่าง" (อฟซ. 4:14) ซึ่งดูเหมือนเป็นท่าทีเดียวที่เหมาะกับสมัยใหม่ สัมพัทธ์นิยมกำลังเป็นเผด็จการที่ไม่ยอมรับสิ่งใดแน่นอนนอกจากตัวเอง พระองค์ยังกล่าวอีกว่าอุปสรรคปัจจุบันในการอบรมในสังคมและวัฒนธรรม ก็คือสัมพัทธ์นิยมที่ไม่ยอมรับสิ่งใดเลยว่าแน่นอนนอกจากตัวเอง ภายใต้คำเสรีภาพ เขากลับเป็นคุกขังตัวเอง และแยกคนอื่นจากกันและกัน สมเด็จพระสันตะปาปาเบเนดิกต์ยังกล่าวถึง "เผด็จการของสัมพัทธ์นิยม" ว่า "ถ้าใครคนหนึ่งเลือกสิ่งใดแบบปัจเจกวิสัย ก็ใช้ได้ถูกต้องเท่ากัน หมายความว่าไม่มีความจริงทางจริยธรรมแบบวัตถุวิสัย เพราะเรามีความเห็นแตกต่างกัน"

        เราสามารถโต้แย้งสัมพัทธ์นิยม ที่ยืนยันว่าในโลกนี้ไม่มีอะไรสมบูรณ์(Absolute) ไม่มีอะไรจริงตามวัตถุวิสัย(Objective) รวมทั้งสัมพัทธ์นิยมด้วย

  1. พวกสัมพัทธ์นิยม กล่าวหาคนอื่นผิดไม่ได้ เพราะสำหรับเขาไม่มีความจริง(Objective) ที่เป็นจริงในตัวของมัน การทำผิดจึงไม่มี
  2. พวกสัมพัทธ์นิยม ไม่สามารถบ่นถึงปัญหาความชั่วร้าย เพราะสำหรับพวกสัมพัทธ์นิยมไม่มีความชั่วร้าย ความชั่วร้ายไม่มีในโลก
  3. พวกสัมพัทธ์นิยมไม่สามารถตำหนิใคร หรือรับคำสรรเสริญ เพราะสำหรับสัมพัทธ์นิยม ไม่มีมาตรการสำหรับตัดสินว่าใครชั่วร้าย ควรตำหนิ หรือใครดีควรยกย่อง
  4. พวกสัมพัทธ์นิยม ไม่สามารถตำหนิความไม่ดีไม่งามของความอยุติธรรม เพราะสำหรับสัมพัทธ์นิยม ความไม่ดีไม่งามหรือความอยุติธรรมไม่มี
  5. พวกสัมพัทธ์นิยมไม่สามารถปรับปรุงจริยธรรมของตน เพราะจริยธรรมเป็นเรื่องของแต่ละบุคคล ไม่มีมาตรการอะไรบอกว่า อะไรผิด อะไรถูก อะไรดีกว่า อะไรเลวกว่า เพราะในการปรับปรุงแก้ไข ต้องยอมรับว่ามีอะไรที่ดีกว่าที่เป็นความจริง Objective
  6. พวกสัมพัทธ์นิยมไม่สามารถถกเถียงเรื่องจริยธรรมอย่างมีความหมาย เพราะจริยธรรมสำหรับเขาเป็นเรื่องของแต่ละบุคคล ซึ่งแตกต่างกัน สำหรับคนหนึ่งว่าถูก แต่สำหรับคนอื่นว่าไม่ถูกก็ได้
  7. พวกสัมพัทธ์นิยมไม่สามารถบังคับให้มีการอดกลั้น ในเมื่อไม่มีมาตรการว่าอะไรผิดอะไรถูก ความอดกลั้นจึงไม่มี เพื่อที่จะมีการอดกลั้นก็ต้องรู้ว่าอะไรเลวหรืออย่างน้อยเลวกว่า ดีกว่า และเลวกว่าจึงไม่มีในโลกของสัมพัทธ์นิยม

Relativism and Pluralism(พหุนิยม)

        บางสำนักเชื่อว่า Relativism และ Pluralism มีความสัมพันธ์กันอย่างใกล้ชิด ทำให้ Fundamentalism คริสต์ประณาม Pluralism ทางศาสนาว่าเป็น Relativism ในเอเชียเราไม่ถือว่า Pluralism เป็น Relativism ซึ่งไม่ยอมรับว่ามีความจริงแบบวัตถุวิสัย(Objective) ส่วน Pluralism ถือว่ามีความจริงแบบวัตถุวิสัย จากประสบการณ์ที่มีชีวิตอยู่ท่ามกลางประชาชมที่นับถือศาสนาต่างกัน เรายอมรับว่ามีความจริงในจารีตประเพณีทางศาสนาต่างๆ มีความเคารพต่อความจริง แม้เรายืนยันความเชื่อต่างกัน แต่เราก็มีความเข้าใจและความเชื่อมากมายที่เรายึดถือร่วมกัน เช่น การป้องกันชีวิต ความศักดิ์สิทธิ์ของการสมรส คุณค่าของครอบครัว ความยุติธรรม การเลือกอยู่ฝ่ายคนยากจน ฯลฯ Pluralism ในเอเชียให้โอกาสยิ่งใหญ่เพื่อทำการเสวนา เพื่อทำงานร่วมกันเพื่อสร้างอาณาจักรของพระเจ้า จึงต้องไม่ถือว่า Pluralism ทางศาสนาเป็นอุปสรรคซึ่งต้องขจัด สำหรับบางกลุ่ม ถือว่าต้องล้างบาปทุกคนที่ไม่ใช่คริสตชน การกระทำเช่นนี้ก็คือการไม่ยอมรับความจริงแบบวัตถุวิสัย ซึ่งทุกๆ จารีตประเพณีทางศาสนามีประสบการณ์อยู่ไม่อย่างใดก็อย่างหนึ่ง

อิทธิพลของ Relativism ต่อเยาวชนในปัจจุบัน

        ยังไม่มีการศึกษาอย่างจริงจังหรือมีข้อมูลว่า Relativism มีอิทธิพลอย่างไรต่อเยาวชนทางบวกหรือทางลบ แต่จากการทำงานอภิบาลกับเยาวชน เราทราบว่ารูปแบบของ Relativism ที่มีอิทธิพลต่อเยาวชนทุกวันนี้ คือ Relativism ทางศีลธรรม/ จริยธรรม มีเหตุจูงใจที่เกี่ยวข้อง น่าสนใจ 5 อย่างดังนี้

  1. Quest for Independence การแสวงหาอิสรภาพ

        เยาวชนอาจจะไม่เป็นพวก Relativism ร้อยเปอร์เซ็นต์ แต่มีการสำรวจว่า ปัจจุบัน วัฒนธรรมของเราเชื่อว่าความจริงเป็น Relative (อะไรก็ได้, สุดแล้วแต่) แต่ละคนเชื่อว่าความคิดความเข้าใจของตนนั่นแหละคือความจริง นี่คือปัญหาจากเยาว์วัยที่ขึ้นต่อผู้อื่น กำลังเติบโตเข้าสู่วัยรุ่นแห่งอิสรภาพ เยาวชนต้องการแสวงหาอัตลักษณ์ของตัวเอง ท้าทายอำนาจการแสวงหาอิสรภาพ นี่คือความต้องการยืนยันตัวเองในสังคม ฉะนั้นการยืนยันอิสรภาพนี้ในการคิดในการดำเนินชีวิตแบบแยบยลโดยไม่สำนึกว่าเป็น Relative แต่ก็แสดงออกถึงร่องรอยของ Relativism

     2.  Tolerance ความอดกลั้นอดทน

        บางสำนักบอกว่าความอดกลั้นอดทนนี้มีส่วนช่วยให้เกิด Relativism เมื่อเราถูกเรียกร้องให้อดกลั้นอดทนก็หมายความว่า เรามิเพียงยอมรับการกระทำของผู้อื่นเท่านั้น หากความคิดของผู้อื่นด้วย ความอดกลั้นอดทนบางครั้งก็มีอิทธิพลต่อความจริงแบบวัตถุวิสัย เช่น เราสอนเยาวชนให้มีความเคารพ มีการยอมรับ ไม่มีการปะทะกัน ในสังคมที่มีวัฒนธรรมหลากหลาย การอดกลั้นดีกว่าการไม่อดกลั้น ในเมื่อ Relativism ทางจริยธรรมไม่เชื่อในความเชื่อและการปฏิบัติทางจริยธรรมของตนว่าจริงกว่าความเชื่อของคนอื่น เขาจึงอดกลั้นได้ ซึ่งจริยธรรมแบบอัตตวิสัยทำไม่ได้ ดังนี้ Relativism ทางจริยธรรมถือว่าดีกว่าจริยธรรมแบบวัตถุวิสัย

      3.  Secularization โลกานิยม

        บางสำนักกล่าวว่าโลกานิยมเป็นผลของ Relativism ในเมื่อ Relativism อ้างว่าไม่มีความจริงสูงสุด(Absolute) สิ่งแรกที่จะต้องโยนทิ้งก็คือศาสนาที่เป็นสถาบัน การนิยมโลก เลิกเชื่อและปฏิบัติศาสนา หันเหตนจากพระเป็นเจ้า และไม่ไปวัดต่อไป ละทิ้งศาสนา ไปสู่สังคมโลกานิยม แต่ละบุคคลเชื่อว่าตนสามารถตัดสินใจเองว่าอะไรดีอะไรชั่ว เยาวชนทุกวันนี้ได้รับอิทธิพลมากจากความคิดเช่นนี้ วิถีชีวิตแบบนี้เป็นที่ดึงดูด เพราะไม่มีกฎเกณฑ์ทางจริยธรรมแบบวัตถุวิสัย และไม่มีใครจะกล่าวหาว่าใครผิด ในเมื่อแต่ละคนมีสิทธิที่จะเชื่อสิ่งที่ตนเองถือว่าเป็นความจริง

     4.  Globalised Morality จริยธรรมโลกาภิวัตน์

        ความเสียหายที่เกิดจากจริยธรรม Relativism ก็คือ ความจริง ความถูก ความผิด และความยุติธรรมทุกอย่าง Relative หมด เพียงเพราะคนกลุ่มหนึ่งคิดว่าบางสิ่งถูก แต่ที่จริงมิได้เป็นเช่นนั้น ทุกวันนี้เพื่อนมีอิทธิพลเหนือเพื่อนอย่างง่ายดาย เพราะต้องการเป็นที่ยอมรับในหมู่เพื่อน เพื่อนในที่นี้มิได้หมายถึงผู้อยู่ใกล้ชิดติดต่อกันโดยตรงเท่านั้น หากยังหมายถึงเครื่องมือสื่อสารต่างๆ เช่น โทรทัศน์ ซึ่งมีอิทธิพลต่อเยาวชนมากว่ารับสื่อความจริงแบบวัตถุวิสัยอย่างไร ประสบการณ์ที่เรามักได้ยินจากเยาวชนก็คือ "ถ้าคนอื่นเขาทำได้ ทำไมเราจึงทำไม่ได้" จริยธรรมโลกาภิวัตน์ก็คือ เสียงส่วนใหญ่กว่าชนะ

     5.  Loss of Cultural Identity การสูญเสียอัตลักษณ์ทางวัฒนธรรม

        การได้ข่าวง่ายๆ การเดินทาง การอพยพย้ายถิ่น ทำให้คุณค่าทางจริยธรรม ซึ่งบางวัฒนธรรมถือกันมาต้องสูญเสียไป เพราะความก้าวหน้าที่ละทิ้งสิ่งในอดีตและยอมรับวิถีชีวิตใหม่ เช่น การอยู่ด้วยกันก่อนแต่งงาน การมีเพศสัมพันธ์ก่อนแต่งงาน กำลังมีแนวโน้มอย่างรวดเร็วในเอเชีย สำหรับเยาวชนจำนวนมาก ความบริสุทธิ์พรหมจรรย์ที่มีคุณค่าทางวัฒนธรรมก็ไม่มีคุณค่าต่อไปแล้ว ความคิดแบบ Relativism ที่ว่าแต่ละคนสามารถเลือกสิ่งที่ตนคิดว่าดี ทำให้เยาวชนจำนวนมากคิดว่านั่นคือวิถีดำเนินชีวิตแบบใหม่

        สรุป คำถามที่เราได้ยินมากที่สุดก็คือ อะไรจะรักษาเยียวยา Relativism? มีทางรักษาไหม? สมเด็จพระสันตะปาปาเบเนดิกต์ที่ 16 ตรัสว่า Relativism เป็นปัญหาสำคัญของความเชื่อของเราในปัจจุบัน และมิใช่ปัญหาที่เรียกร้องความเข้าใจลึกซึ้งทางสติปัญญาเท่านั้น หากเรียกร้องคำตอบด้านอภิบาล เพื่อช่วยเหลือเยาวชนที่เราเอาใจใส่ในการต่อสู้กับ Relativism โดยไม่เสียความสำนึกในพระเจ้าที่ทรงเป็นความจริงใน ยน 18:38 ปอนทิอัสปิลาตถามพระเยซูว่า: "ความจริงคืออะไร" นี่เป็นความจริงที่ Relativist ถามเรา หน้าที่ของเราจะต้องเปิดเผยความจริงนี้ สำหรับเราพระเยซูเจ้าทรงเป็นความจริง(ยน 14:16) ในฐานะชุมพาบาล เราสามารถเสนอความจริงสูงสุด คือ พระเยซูคริสตเจ้า แต่เราต้องเสนอความจริงแบบที่เหมาะสมกับชีวิตของเยาวชนของเรา นี่คือสิ่งที่ท้าทายเรา เราต้องใช้วิจารณญาณดูว่าวิธีใดดีที่สุดและสัมฤทธิ์ผลที่สุดในการทำให้พระเยซูเจ้ามีชีวิตชีวาในความสุขใสแห่งความจริงที่พระองค์สามารถซาบซึมเข้าไปในทุกด้านแห่งชีวิตของเรา

        เราไม่อยากเสนอด้านลบของ Relativism ซึ่งถือว่าเป็นโอกาสท้าทายให้พระศาสนจักรมองดูตัวเองอีกครั้งหนึ่งในด้านความเข้าใจและการปฏิบัติที่ยึดถือกันมาหลายศตวรรษ เสียงบ่นตลอดเวลาของเยาวชนทุกวันนี้คือ คำสั่งสอนของพระศาสนจักรล้าสมัย ความเชื่อไม่ตรงกับชีวิตประจำวันของเขา การแบ่งแยกความเชื่อกับประสบการณ์ชีวิตกำลังทวีมากขึ้น

        ฉะนั้น Relativism ท้าทายเราทั้งผู้อภิบาล และนักเทววิทยาให้พิจารณาตัวเองมากขึ้นในการพัฒนาเทววิทยาไปสู่ความดีสูงสุด โดยไม่ตกหลุมเป็นเทววิทยาที่ทำให้รู้สึกดี(Feel Good Theology) ในเอเชีย ซึ่งมีการผสมผสานของศาสนาและวัฒนธรรม เรามีสิ่งมากมายเสนอให้ศาสนจักรสากล

      1.  Fundamentalism เป็นปฏิกิริยาต่อ Secularism, Modernism และ Postmodernism มีการต่อสู้กันระหว่างความเชื่อในศาสนาและเหตุผลของมนุษย์ สังคมปัจจุบันมีวิกฤตการณ์ทางศาสนาแบบโลกาภิวัตน์ แต่ในเวลาเดียวกันวิทยาศาสตร์ เทคโนโลยีและลัทธิเหตุผลนิยมก็ไม่สามารถแก้ปัญหาของมนุษย์โดยเฉพาะปัญหาต่างๆ ของความหมายในชีวิตส่วนตัวและส่วนรวม ไม่สามารถตอบสนองการแสวงหาของมนุษย์ที่มุ่งไปสู่จุดหมายสุดท้าย

            นอกจากนั้นพร้อมกับความล้มเหลวของ Modernism และระบบสื่อสารที่รวดเร็ว และการอพยพย้ายถิ่นของประชาชนที่มีวัฒนธรรมหนึ่งไปสู่อีกวัฒนธรรมหนึ่งทำให้เกิดสถานการณ์ใหม่ในโลกที่นำไปสู่ Postmodernism ซึ่งเปรียบเหมือนนาวาที่ล่องลอยอยู่ในความสับสนวุ่นวาย การล่มสลายของค่านิยมตามธรรมเนียมประเพณีนำไปสู่ความคลุมเครือทางจริยธรรมและความสับสนของค่านิยม ขบวนการใหม่ทางศาสนาก็เป็นการแสวงหาโครงสร้างใหม่ของความหมายและค่านิยม คือ Fundamentalism กำลังเฟื่องฟูอยู่ในสถานการณ์เช่นนี้

      2.  Fundamentalism เป็นปฏิปักษ์ต่อ Globalization มีแนวโน้มทำให้เกิดปัญหาระหว่างความสัมพันธ์ของชาติหนึ่งกับนานาชาติ วัฒนธรรมโลกาภิวัตน์ที่เกิดขึ้นก็เป็นสัญญาณว่าค่านิยมระดับท้องถิ่นและระดับชาติกำลังถูกคุกคามด้านอัตลักษณ์ ผลที่ตามมาก็คือ เกิดขบวนการ Fundamentalist เพื่อทำให้อัตลักษณ์ของชาติและวัฒนธรรมหนึ่งๆ เข้มแข็ง

      3.  หน้าตาทางการเมืองของ Fundamentalism ความพยายามดิ้นรนของชาตินิยมมากมาย ทำให้เกิดการอบรมในหลายๆ ชาติของเอเชีย เพื่อทำให้อัตลักษณ์ของชาติเหล่านี้เข้มแข็ง การให้ความรู้ทางวัฒนธรมและศาสนากำลังดำเนินการอยู่ขณะนี้ในเอเชีย

        วัตนธรรมและศาสนาของเอเชียซึ่งเน้นความสำคัญของครอบครัวหมู่คณะ ธรรมเนียมประเพณีและสังคม พบกับความยากลำบากมากในการปรับตัวเข้ากัน การพัฒนาใหม่ๆ นอกจากนั้นยังมีความกลัวว่าค่านิยมทางศาสนาของตนจะถูกลดคุณค่าหรือถูกทำลายโดยพลังของการทำให้เป็นแบบตะวันตกและโลกาภิวัฒน์ ความกังวลที่เกิดจากการขัดแย้งนี้ ทำให้เกิดฐานที่ทำให้ Fundamentalism เจริญรุ่งโรจน์ในเอเชีย

        เกิดการประทับใจว่าแต่ละประเทศมีศาสนาของตน และศาสนาในเอเชีย เช่น ฮินดู พุทธ อิสลาม เป็นศาสนาของประเทศต่างๆ ในเอเชียซึ่งผู้คนส่วนใหญ่นับถือ เพื่อให้อัตลักษณ์ของชาติเข้มแข็งและเพื่อมีอำนาจในโลก ศาสนาก็ถูกนำมาใช้ให้เกิดประโยชน์ ดังนั้น Nationalism และ Fundamentalism จึงมีความสัมพันธ์กัน ศาสนาถูกนำมาใช้เป็นเครื่องมือทางการเมืองเพื่อทำให้อัตลักษณ์ของชาติเข้มแข็ง เรื่องของศาสนาจึงถูกหล่อหลอมกับอนาคตทางการเมืองและสังคมของชาติ

        อัตลักษณ์ทางศาสนาถูกใช้เป็นโล่ป้องกันการโจมตีอย่างรุนแรงของ Globalization Fundamentallism มีแนวโน้มไปสู่พรรคการเมืองเผด็จการ กระหายการยกย่องตนเองและศักดิ์ศรี ทำให้คนอื่นไม่มีความสำคัญ และตั้งอัตลักษณ์ของตัวเอง

        สาระสำคัญที่เกี่ยวกับ Fundamentalism และ Relativism

        1) Kairos (เวลาของพระเจ้า, ความถูกต้อง) ของ Vatican II

        มีความก้าวหน้าตลอดเวลาไปสู่ความเป็นหนึ่งเดียวของมนุษยชาติ อันเนื่องมาจากปัจจัยของอารยธรรมสมัยใหม่ โดยเฉพาะความก้าวหน้ามากมายด้านเทคโนโลยี พร้อมกับผลที่ตามมาในด้านเศรษฐกิจ สังคม การเมือง วัฒนธรรม ศีลธรรม และศาสนา ความเจริญก้าวหน้านี้มีผลทำให้มนุษย์ที่มีวัฒนธรรม และศาสนาต่างกันเข้ามารวมกัน มีความสัมพันธ์ใกล้ชิด ดังนั้น พหุนิยมทางศาสนาจึงมีมากขึ้นในชุมชนทางการเมืองที่มีอยู่ แม้ในชุมชนที่กำลังพัฒนา ในสภาพการณ์เช่นนี้ เพื่อให้เกิดความสัมพันธ์แห่งสันติภาพและความปรองดอง และผดุงไว้ต่อไปในมนุษยชาติทั้งหมด จำเป็นจะต้องมีเสรีภาพในการนับถือศาสนาในทุกๆ แห่งโดยมีรัฐธรรมนูญรับประกันอย่างมีประสิทธิภาพ และมีความเคารพต่อหน้าที่และสิทธิของมนุษย์ในการดำเนินชีวิตทางศาสนาของเขาอย่างเสรีในสังคม เรื่องนี้ทำให้เกิดประเด็นบางอย่างซึ่งพระศาสนจักรเผชิญใน Vatican II อย่างหลีกเลี่ยงมิได้ โดยเฉพาะ 2 เรื่อง คือ :

        1.1)  ความเกี่ยวพันด้านมานุษยวิทยา แนวความคิดใหม่เรื่องเสรีภาพในการนับถือศาสนาในเอกสารของ Vatican II ได้รับการสนับสนุน เพราะเป็นการแสดงออกซึ่งศักดิ์ศรีของบุคคล เป็นการปฏิบัติความรับผิดชอบ เป็นการยืนยันความเกี่ยวพันที่สำคัญ 5 ข้อ ดังต่อไปนี้

                 ก. มนุษย์ทุกคนมีสิทธิในเสรีภาพของการนับถือศาสนา เพราะเขาเป็นบุคคลหนึ่ง

                 ข. วัตถุประสงค์ของเนื้อหาสาระของสิทธินี้ก็คือเสรีภาพจากการบีบบังคับจากบุคคล หรือกลุ่มทางสังคม หรืออำนาจมนุษย์ใดๆ

                 ค. เสรีภาพจากการใช้อำนาจบังคับนี้มี 2 ความหมาย คือ (1) ในเรื่องศาสนาไม่มีผู้ใดต้องถูกบังคับให้กระทำการใดที่ตรงกันข้ามกับความเชื่อของตน และ (2) ไม่มีผู้ใดต้องถูกรั้งไว้ไม่ให้กระทำตามความเชื่อของตน ไม่ว่าจะเป็นการส่วนตัวหรือเป็นการสาธารณะ ไม่ว่าคนเดียวหรือพร้อมกับผู้อื่น

                 ง. สิทธินี้มีพื้นฐานอยู่ในศักดิ์ศรีของบุคคลมนุษย์

                 จ. นี่คือสิทธิของบุคคล ซึ่งจะต้องได้รับการรับรู้ว่าเป็นสิทธิของพลเมืองในรัฐธรรมนูญของสังคมการเมือง

        1.2)  บทสรุปสั้นๆ ทางประวัติศาสตร์ของเรื่องนี้

        สิทธิต่างๆ มีพื้นฐานอยู่บนศักดิ์ศรีของบุคคลมนุษย์ บนค่านิยมทางจิตใจ นั่นคือ ความจริงและความดี ความจริงมีสิทธิทุกอย่าง ความผิดไม่มีสิทธิ์เลย

        ปัจจัยที่สองในคำสอนนี้ ก็คือการคำนึงเป็นพิเศษถึงความดีส่วนรวม และหน้าที่ตอบสนองของรัฐ ดังนี้ ศาสนาที่แท้จริงเป็นปัจจัยสำคัญที่สุดของความดีส่วนรวม เพราะความจริงทางศาสนาเป็นปัจจัยที่ทำให้เกิดเอกภาพทางการเมืองและความจริงนี้เป็นบ่อเกิดของศีลธรรม ซึ่งต้องมีปฏิกิริยาทางบวกต่อทุกภาคส่วนของชุมชน โดยเฉพาะในเรื่องที่เกี่ยวกับทางโลก

        พฤติกรรมทางประวัติศาสตร์เหล่านี้มีส่วนช่วยในการตัดสินใจของบรรดาปิตาจารย์ สมาชิกของสภาสังคายนาวาติกันที่ 2 ในการประกาศว่าเสรีภาพในการนับถือศาสนาเป็นสิทธิของบุคคล สมณสารของสมเด็จพระสันตะปาปาเน้นว่าศักดิ์ศรีของบุคคลมนุษย์เป็นสิทธิอันล่วงละเมิดมิได้ในเรื่องต่างๆ สมณสาร "Pacem in terris" และสมณเตือนใจ "Evangelii Nuntiandi" ก็พูดถึงการเคารพเสรีภาพของมโนธรรม ในการประกาศพระวรสาร "เป็นความผิดแน่นอนที่จะบังคับสิ่งใดสิ่งหนึ่งในมโนธรรมของพี่น้อง" สมเด็จพระสันตปาปา ยอห์น ปอลที่ 2 ในสาสน์วันสันติภาพสากล ปี 1998 กล่าวว่า "เสรีภาพในการนับถือศาสนาเป็นข้อเรียกร้องที่จำเป็นของศักดิ์ศรีของบุคคลมนุษย์... เสรีภาพของแต่ละบุคคลและหมู่คณะเป็นการนับถือและปฏิบัติศาสนาเป็นปัจจัยสำคัญสำหรับการอยู่ร่วมกันอย่างสันติ"

        ในเมื่อแต่ละบุคคลมีสิทธิ ก็หมายความว่าคนอื่นๆ ก็ต้องถูกบังคับให้รับรู้และเคารพสิทธินี้ พระศาสนจักรรับรู้เสมอ สิทธิของมนุษย์ที่ต้องไม่ถูกบังคับให้นับถือศาสนาคริสต์

        การพบปะกับคริสตจักรนิกายต่างๆ และศาสนาต่างๆ

        ด้วยความเคารพต่อคริสตจักรอื่นๆ สังคายนาวาติกันที่ 2 ใช้คำ "Subsistit in" (ดำรงอยู่ใน) เพื่อพยายามทำให้การยืนยันข้อคำสอน 2 อย่างกลมกลืนกัน คือ (1) พระศาสนจักรของพระคริสตเจ้ายังดำรงอยู่อย่างสมบูรณ์เต็มที่ก็แต่ในพระศาสนจักรคาทอลิกเท่านั้น และ (2) มีปัจจัยมากมายแห่งความศักดิ์สิทธิ์และความจริงอยู่นอกขอบเขตของพระศาสนจักรคาทอลิก จะเป็นพระศาสนจักรเฉพาะหรือคริสตจักรอื่นๆ ซึ่งยังไม่เป็นหนึ่งเดียวกับพระศาสนจักรคาทอลิกอย่างเต็มที่(ค่านิยมเหล่านี้เข้าใจว่านำมาจากพระศาสนจักรคาทอลิก) "ความรอดอันครบบริบูรณ์นั้นย่อมมาจากพระคริสตเจ้าเท่านั้น... แม้ว่าพระศาสนจักรจะยอมรับด้วยความเต็มใจ ซึ่งสิ่งที่ดีและศักดิ์สิทธิ์ในหลักธรรมคำสอนของศาสนาพุทธ ฮินดู และอิสลาม ว่าเป็นการสะท้อนความจริงที่ให้ความสว่างแก่มวลมนุษย์ แต่ก็มิได้ทำให้หน้าที่และความตั้งใจที่จะประกาศโดยไม่หยุดหย่อนว่า พระเยซูคริสตเจ้า ทรงเป็นหนทาง ความจริง และชีวิต" หมดสิ้นไป ความจริงที่ว่า ผู้นับถือศาสนาอื่น สามารถรับพระหรรษทานของพระเป็นเจ้า และได้รับความรอดจากพระคริสตเจ้า นอกเหนือจากหนทางธรรมดาที่พระองค์ได้กำหนดไว้นั้น มิได้ลบล้างการเรียกร้องสู่ความเชื่อและการรับศีลล้างบาปซึ่งพระเป็นเจ้าทรงมีพระประสงค์จะทรงประทานให้แก่มวลมนุษย์แต่อย่างใด" (พระศาสนาจักรในเอเชีย ข้อ 31)

        ทัศนะของพระศาสนจักรคาทอลิกเกี่ยวกับ Fundamentalism และ Relativism

        การยืนยันที่เป็นแก่นของทัศนะพระศาสนจักร Roman Catholic

  1. การบรรลุถึงความจริงเป็นสิ่งที่เป็นไปได้ พร้อมกับข้อผูกมัดทั้งหมดต่อความจริงนั้นในทุกระดับ พระศาสนจักรมีความจริงเป็นกรรมสิทธิ์ และผูกมัดตัวเองต่อความจริงนั้นอย่างแน่นแฟ้น และไม่ยอมรับ Relativism ทุกชนิดอย่างแน่วแน่
  2. บุคคลมนุษย์ที่มีลักษณะเฉพาะตัวหาใครเสมอเหมือนมิได้ ควรได้รับการเคารพ และไม่ถูกใช้เป็นเครื่องมือหรือหาผลประโยชน์

คำตอบของพระศาสนจักร Roman Chatholic ต่อการท้าทายของบริบทเอเชีย : ซึ่งได้แก่ ความหลากหลายของศาสนา ความแตกต่างของวัฒนธรรมชาติพันธุ์ และความไม่เท่าเทียมกันทางเศรษฐกิจ

      ก. ในเรื่องที่เกี่ยวกับความหลากหลายของศาสนา ต้องมีความภักดี ซื่อสัตย์ทุกอย่างต่อประสบการณ์ของตัวเองในฐานะเป็นคาทอลิก และมีความเคารพต่อบุคคลที่มีความเชื่ออื่น ความภักดีที่ไม่มีความเคารพ อาจนำไปสู่ความบ้าคลั่งทางศาสนา และความเคารพต่อผู้อื่นโดยไม่ซื่อสัตย์ต่อข้อผูกมัดแห่งความเชื่อของตน อาจทำให้เกิดการประนีประนอม และมีกลิ่นของการรวมนิกาย(Syncretism) และ Relativism

      ข. ในเรื่องที่เกี่ยวกับความหลากหลายของวัฒนธรรม เมื่อยอมรับว่าวัฒนธรรมผสมผสานของชาติเอเชียหลายๆ ชาติ สิ่งที่เรียกร้องก็คือ การมีรากฐานอยู่ในวัฒนธรรมของตัวเอง(ซึ่งเป็นของประธานจากพระเจ้า) และการเปิดตัวสู่วัฒนธรรมของผู้อื่น โดยปราศจากจุดด่างพล้อยของการเป็นผู้อยู่เหนือกว่า(มีปมเขื่องกว่า)หรือการแบ่งแยก

      ค. ในเรื่องที่เกี่ยวกับความไม่เท่าเทียมกันทางเศรษฐกิจ ซึ่งเป็นมูลเหตุของความหายนะของทวีป ได้มีการเคลื่อนไหวเพื่อแก้ไขความไม่สมดุลนี้ แต่บางครั้งก็พบกับการต่อต้านในการเรียกร้องสิทธิ์ ก่อให้เกิดความตึงเครียดและความรุนแรง Globalization ก็มีส่วนด้วย ทวีปมีการเคลื่อนไหวอย่างรวดเร็วบน Road Map เรื่องอุตสาหกรรมและความเจริญก้าวหน้าทางเทคโนโลยี

        พันธกิจของพระศาสนจักร Roman Catholic เกี่ยวกับความชั่วร้ายนี้ ก็คือ ต้องพยายามหาการอยู่ร่วมกันที่ผดุงไว้ซึ่งหน้าที่ประกาศกซึ่งวิพากษ์วิจารณ์ เมื่อต้องเผชิญหน้ากับสิ่งใดๆ ที่ตรงกันข้ามกับข่าวดี และในเวลาเดียวกันก็สามารถรักศัตรู ผู้ที่รับผิดชอบต่อสภาพการณ์เช่นนี้ในการต่อต้านความชั่วร้าย ก็สามารถสวมกอดผู้กระทำความชั่วร้าวด้วย

ข้อเรียกร้องในการเสวนาด้วยชีวิต

        บริบทเอเชียเรียกร้องการเสวนาด้วยชีวิต นี่คือความสัมพันธ์ระหว่างประชาชนชาวเอเชียซึ่งมีวัฒนธรรมและความเชื่อแตกต่างกัน พระอัครสังฆราช Ignatius of Semarang แห่งอินโดนีเซีย ได้อธิบายไว้อย่างจับใจว่า "ในเอเชีย ประชาชนเชื่อในสิ่งที่เขาเห็น ประชาชนให้คุณค่ากับคนและความสัมพันธ์มากกว่าข้อคำสอน"

การมีชีวิตจิตที่เป็นประจักษ์พยาน

         ความเชื่อคาทอลิกของเราต้องการความสัมพันธ์กับวิถีชีวิตประชาชนในเอเชีย แหล่งธรรมประเพณีวิปัสนาที่ยิ่งใหญ่ ต้องการเห็นคริสตชนเป็นเหมือนศิษย์ของพระเยซูคริสตเจ้า ซึ่งสะท้อนพระบุคคลของพระอาจารย์ พันธกิจของพระศาสนจักร ก็คือ ทำให้วิถีชีวิตของบุคคลและหมู่คณะตกผลึกเป็นภาพลักษณ์ของพระเจ้า

Fundamentalism and Relativism : ทำไมเยาวชนละทิ้งพระศาสนจักร

         การประกาศพระวรสารเป็นหน้าที่สำคัญและเร่งด่วนที่พระศาสนจักรในเชียเผชิญอยู่ เอเชียซึ่งยังมีประชากรที่ไม่เป็นคริสตชนอยู่เป็นจำนวนมาก เพื่อให้พันธกิจนี้สำเร็จ หน้าที่ของเยาวชนมีความสำคัญมาก พระศาสนจักรต้องการพูดกับเยาวชนเป็นการเร่งด่วนถึงความรับผิดขอบในการประกาศพระวรสารอย่างแข็งขัน

         ในเอเชียปัจจุบันนี้ เราสามารถเป็นพยานต่อปรากฏการณ์ที่เยาวชนจำนวนมากกำลังทิ้งพระศาสนจักร โดยเฉพาะในเอเชียตะวันออก เช่น เกาหลีใต้ ทำไมเยาวชนเหล่านี้กำลังทิ้งพระศาสนจักร อะไรเป็นสาเหตุสำคัญอยู่เบื้องหลังปรากฏการณ์ทางศาสนาและสังคมนี้ พระศาสนจักรสามารถตอบคำถามนี้ได้อย่างไร

          ในการสัมมนาครั้งนี้เราพูดถึง Fundamentalism และ Relativism เป็นสาเหตุอยู่เบื้องหลังการทิ้งพระศาสนจักรของเยาวชน เราพยายามจะให้คำตอบทางเทววิทยาและทางงานอภิบาลต่อปัญหาเหล่านี้

มี Fundamentalism 2 ชนิดที่แตกต่างกัน : Religious และ Anti-religious(Scientific)

          Fundamentalism 2 ชนิดที่แตกต่างกันนี้มีความสัมพันธ์กันอย่างไร หนึ่งในตัวประกอบร่วมกันก็คือ อิทธิพลอันตรายเหนือเยาวชน แม้ทั้งสองจะแตกต่างกันในการยอมรับหรือปฏิเสธว่ามีพระเจ้า แต่ทั้งสองก็มีอิทธิพลที่มีพลังเหนือเยาวชน คือ ดึงเขาออกจากพระศาสนจักร และเป็นสาเหตุให้เขาละทิ้งความเชื่อ

          ด้านหนึ่ง เราสามารถชี้ว่า เยาวชนกำลังทิ้งพระศาสนจักร เพราะ Religious Fundamentalism บ่อยๆ ครั้ง ทำให้เยาวชนไม่ประทับใจในด้านบวกทางศาสนา เราพูดได้ว่า Religious Fundamentalism ไม่ว่าในศาสนายิว ศาสนาคริสต์ และในศาสนาอิสลามมีรากเหง้าอยู่ในความกลัวลึกๆแรกๆ เป็นขบวนการป้องกันตัวเอง ต่อมาก็กลายเป็นการก้าวร้าวและรุนแรง

          อีกด้านหนึ่ง Religious Fundamentalism ถกเถียงกันเรื่องความสัมพันธ์ระหว่างความเชื่อและวิทยาศาสตร์ ทำให้เกิด New Atheism หรือ New Secular Fundamentalism ซึ่งเป็นวิทยาศาสตร์ที่ต่อสู้ดิ้นรนเพื่อตัวเอง New Atheism คือ Fundamentalism ชนิดใหม่ซึ่งปัจจุบันเรียกว่า "Scientism" ซึ่งไม่ยอมรับความเชื่อทางศาสนาทุกอย่างถือว่าเป็นเรื่องงมงาย New Atheism มีพื้นฐานอยู่บน Scientism ซึ่งตรงกันข้ามกับ Christian ใFundamentalism ซึ่งถือว่าผู้ที่ไม่เชื่อจะต้องตกนรก พวกนี้จะกล่าวโดยเต็มปากว่า "ไม่ต้องกังวลเรื่องอนาคต จงเจริญชีวิตอย่างเพลิดเพลิน เพราะไม่มีพระเจ้าแล้ว" สำหรับ New Atheists เหล่านี้ ศาสนาไร้เหตุผล เป็นอันตราย มีพิษ เป็นความชั่วร้าย โดยเฉพาะศาสนาคริสต์ใช้วิธีอธิบายแบบโบราณ ซึ่งวิทยาศาสตร์สมัยใหม่ไม่ยอมรับ มีหน้าที่สำคัญคือขัดขวางความเจริญก้าวหน้าทางวิทยาศาสตร์และสังคม

อิทธิพลของ Fundamentalism ต่อเยาวชนที่กำลังทิ้งพระศาสนจักร

          คำตอบส่วนใหญ่ต่องาน Atheistic เหล่านี้ออกมาจากหลายๆ กลุ่มคริสตชนทั่วโลก รวมทั้งเอเชีย โดยเฉพาะในเกาหลีใต้ ซึ่งเป็นประเทศพัฒนาในด้านวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี งานของ Scientific Atheist ได้รับการตอบรับที่เห็นอกเห็นใจจากคนเป็นอันมาก ในเวลาเดียวกันในเกาหลีใต้ก็มีกระแสที่แรงมากของ Fundamentalism คริสตชน สถานการณ์เช่นนี้ทำให้เกิดการขัดข้องขึ้นระหว่างกระแสทั้งสองนี้ ด้านหนึ่งประชาชนที่ยึดมั่นกับ Scientific Atheistic Fundamentalism มักจะรังเกียจกลุ่ม Fundamentalism คริสตชน ส่วนอีกด้านหนึ่งประชาชนที่ยึดถือ Fundamentalism คริสตชนก็พยายามประณาม New Atheist Scientism โดยไม่คำนึงถึงมิติทางวิทยาศาสตร์

          ในบริบททางวัฒนธรรมและสังคมสมัยใหม่ของเกาหลีใต้ New Atheist Scientism สามารถต้องใจเยาวชนมากทีเดียว ซึ่งมีชีวิตท่วมท้นด้วยข่าวสารเทคโนโลยีของยุควิทยาศาสตร์สมัยใหม่ ดื่มด่ำใน Computer, TV, IPads และ Smart Phone ไม่สนใจเรื่อง Metaphysics ไม่คิดถึงสวรรค์ต่อไปแล้ว เขาถูกครอบงำโดยวัตถุนิยม และ Relativism ที่มีพื้นฐานอยู่บน Scientism สำหรับเขาไม่มีสวรรค์ ไม่มีอะไร Transcendent(เหนือพื้นพิภพ) และที่สุดไม่มีพระเจ้า(เทียบเพลงสดุดี 14: คนโง่กล่าวว่า ไม่มีพระเจ้า ณ เบื้องบน)

คำตอบทางเทววิทยาและทางอภิบาลต่อ Fundamentalism

          หน้าที่เร่งด่วนที่สุดก็คือใช้วิจารณญาณว่า การบิดเบือนความเชื่อโดย Atheists ใหม่เหล่านี้ที่ทำให้เยาวชนติดเชื้อเกิดขึ้นที่ใดและยาวชนที่ทิ้งพระศาสนจักรมีคำวิพากษ์วิจารณ์ที่ถูกต้องอย่างไร

          ด้านหนึ่งนักเทววิทยาของพระศาสนจักรในเอเชียควรใช้ความพยายามให้เข้าใจอย่างลึกซึ้งและดีขึ้นเกี่ยวกับความรู้ด้านสังคมสมัยใหม่และปรัชญาว่าด้วยลักษณะและขอบเขตความรู้ของ Postmodernism เพื่อจัดการกับอิทธิพลของมันเหนือวัฒนธรรมของเยาวชน ที่จริงไม่มีอะไรแตกต่างกันนักระหว่าง Religious and Antireligious Fundamentalism

          เราต้องพยายามฟังดูว่าทำไมเยาวชนกำลังทิ้งพระศาสนจักร เราควรถามเยาวชนว่าทำไมเขาจึงละทิ้งความเชื่อและไม่ยอมรับพระศาสนจักรในด้านไหน เราตระหนึกถึงความต้องการของเขาด้านสติปัญญาและจิตใจหรือไม่ เราต้องถามตัวเองว่า เยาวชนทิ้งพระศาสนจักรเพราะขาดความเข้าใจบางอย่างหรือขาดความเข้าใจที่ถูกต้องเกี่ยวกับความเชื่อของคริสตชนหรือไม่ อาจารย์สอนเทววิทยาจริยธรรมที่มหาวิทยาลัย Boston กล่าวว่า "ในเมื่อการโจมตีของฝ่าย Atheists ใหม่ แสดงให้เห็นว่า เขาไม่มีความรู้เรื่องความเชื่อของคริสตชน ก็มีความจำเป็นอย่างยิ่งที่จะเรียกร้องให้เขามีความรู้มากขึ้น ธรรมประเพณีคาทอลิกของเราเดินสายกลางระหว่าง Religious Positivism of Fundamentalists and Scientism of new Atheists เราต้องเสนอทัศนะที่ครบครันและสมดุลของความเชื่อคริสตชน ศาสนาต่างๆ ของเอเชีย และวิทยาศาสตร์สมัยใหม่แก่เยาวชนของเรา เราต้องสอนเขาให้มี Bilingual Ability ความสามารถ 2 อย่าง คือความสามารถที่อยู่ได้กับทั้งศาสนาและวิทยาศาสตร์อย่างสบายไม่ลำบากใจ เพื่อที่จะสามารถเป็นประจักษ์พยานคริสตชนในยุควิทยาศาสตร์สมัยใหม่ ที่จริงการทำให้เกิดการปรองดองระหว่างวิทยาศาสตร์และความเชื่อคริสตชน ถือว่าเป็นหนึ่งในพันธกิจที่เร่งด่วนที่สุดในปัจจุบัน

          Two Dimensions of Relativism ในเอเชียมีรายงานว่าจำนวนเยาวชนในพระศาสนจักรกำลังลดลงเรื่อยๆ เหตุผลสำคัญหนึ่งของปรากฏการณ์ทางศาสนาและสังคม ก็คือ Relativism และ Extreme Individualism กับ Materialism ในทัศนะของ Relativism ปรากฏว่าไม่มีมาตรการสูงสุดอีกแล้วสำหรับค่านิยมทางจริยธรรม สมเด็จพระสันตะปาปา เบเนดิกต์ที่ 16(2005) แม้ก่อนเป็นพระสันตะปาปา พระองค์ทรงเตือนให้ระวังทัศนะทางจริยธรรมและค่านิยม Relativism ซึ่งได้ค่อยๆ แผ่เข้าไปในวัฒนธรรมของเยาวชนมากๆ ที่เป็นของ Generation "Whatever" และของ "Culture of Nice" ที่ท่วมท้นและเป็นอัมพาตด้วยการไหลบ่าของข่าวสารและความรู้ใหม่ๆ อาศัยเครื่องมืออิเล็กโทรนิกส์ เช่น Smart Phones เยาวชนไม่มีเวลาไตร่ตรองถึงความหมายลึกๆ ของชีวิต หันเหไปจากคำสั่งสอนมิใช่ของพระศาสนจักรคาทอลิกเท่านั้น หากยังของธรรมประเพณีและจริยธรรมเอเชียอีกด้วย สถิติแสดงชัดว่า Relativism ใ โดยเฉพาะเกี่ยวกับค่านิยมทางศีลธรรมกำลังแพร่หลายอย่างกว้างขวางในหมู่เยาวชนคาทอลิก

          สรุปง่ายๆ มี 2 มิติของ Relativism คือ Philosophical และ Social and Cultural Ethos ในด้านปรัชญา Relativism ได้แก่กลุ่มที่เชื่อว่าไม่มี Absolute truth ส่วนในด้าน Social and Cultural Ethos ถือว่าเป็น Moral Relativism, เป็น Culture of Complacence, เป็น Relative Understanding of Justice, เป็นท่าทีของเยาวชนที่ถือว่าอะไรถูกต้อง ตราบเท่าที่ตัวเองรู้สึกว่าดี(Relative) เพื่อตอบคำถามที่ว่าทำไมเยาวชนทิ้งพระศาสนจักร เราสามารถตอบได้ว่า เยาวชนบางคนทิ้งพระศาสนจักรเพราะเขาได้พบความจริงอื่นเป็นทางเลือกนอกจากความจริงของคริสตศาสนา ส่วนอีกบางคนทิ้งพระศาสนจักร เพราะความเชื่อของเขาไม่หยั่งรากลึกไม่แข็งแรงพอ ดังนั้นจึงโน้มเอียงไปหาค่านิยมอื่นๆ ทางโลก และวิถีดำเนินชีวิตเพื่อหาความสุข เช่น ปัจเจกนิยมและวัตถุนิยม

ข้อเสนอ : วิธีแก้ปัญหาจากประวัติศาสตร์

          สำหรับผู้มารับความเชื่อแรกๆ ในส่วนนี้ของโลก การตัดสินใจสมัครเป็นคริสตชนเป็นการตัดสินใจที่กล้าหาญเด็ดเดี่ยว ต้องเผชิญต่อการกดขี่ข่มเหงและการเบียดเบียนจากผู้มีอำนาจทางบ้านเมือง การกระทำทารุณจากสมาชิกของสังคม แม้จากครอบครัวและมิตรสหาย ท่านเหล่านั้นถือว่าค่านิยมที่ถือสืบต่อกันมาทางประเพณีและทางศาสนาดั้งเดิมเป็น Relative และยอมรับพระเยซูเจ้าแต่ผู้เดียว เป็น Absolute เป็นพระผู้ไถ่แต่องค์เดียว พร้อมทั้งข้อคำสอนในพระคัมภีร์ และข้อคำสอนอื่นๆ ของพระศาสนจักรคาทอลิก วิธีเดียวที่จะเอาชนะเนื้อหาสาระของ Relativism ที่ทำให้เยาวชนทิ้งพระศาสนจักร ก็คือให้หันไปดูเหตุผลว่าบรรพชนของเราที่มีความเชื่อในเอเชียในอดีตหันมานับถือพระเจ้าและพระศาสนจักรคาทอลิก และทำให้ศาสนบริการของพระศาสนจักรมีการเคลื่อนไหวก้าวหน้าอยู่เสมอ และเข้มแข็งขึ้นด้วยความปีติยินดีที่จะเจริญชีวิตในความเชื่อแบบคริสตชน เฉพาะพระพักตร์พระเยซูเจ้าผู้ทรงกลับคืนพระชนม์ชีพ นี่คือสิ่งที่บรรพชนของเราได้เลือกที่จะทำ แม้จะต้องสูญเสียทุกสิ่ง แม้กระทั่งชีวิตของตน เช่น กลุ่มเกาหลีแรกๆ ที่กลับใจเป็นคาทอลิก ต้องเสี่ยงชีวิต ถูกฆ่าตาย หลายท่านได้รับการประกาศสถาปนาเป็นนักบุญอย่างเป็นทางการแล้ว ท่านเหล่านั้นเป็นผู้คงแก่เรียนในลัทธิขงจื๊อ ได้กลับใจเป็นคาทอลิกที่ศรัทธาร้อนรน เป็นประจักษ์พยานด้วยความเชื่อและยอมสละชีวิต ท่านได้ศึกษาคำสอนคาทอลิกในหนังสือภาษาจีนอย่างจริงจัง ที่เขียนโดย Matteo Ricci(1552-1610) ได้พบความจริง และความรักของพระเจ้าในนั้น

          Banal Relativism in young people' s way of life : Culture of whatever ซึ่งตรงกันข้ามกับภาพพจน์ด้านสังคมระหว่างปี 1970 - 1980 ซึ่งเยาวชนถือว่าประเด็นสำคัญคือ ค่านิยมของความยุติธรรม สันติภาพ ศักดิ์ศรีของความเป็นมนุษย์และสิทธิมนุษยชน ปัจจุบันเยาวชนใส่ใจมุ่งหาปัจเจกนิยม บริโภคนิยมแทนที่จะสนใจเรื่องที่สำคัญกว่าที่รุ่นพ่อแม่สนใจ การเคารพต่อชีวิต ศักดิ์ศรีของความเป็นมนุษย์ถูกลดคุณค่า มีสถิติการฆ่าตัวตาย การทำแท้งสูงขึ้น ธรรมเนียมประเพณีของเอเชียที่เป็นมาตรฐานการดำเนินชีวิตตลอดเวลาหลายร้อยปี เช่นการเคารพผู้สูงอายุ การแบ่งปันช่วยเหลือในชุมชน ไม่เป็นที่ยอมรับของเยาวชน และผู้ใหญ่ก็ไม่ทราบจะทำอย่างไรกับเยาวชนที่ไม่พึงปรารถนาเหล่านี้ เป็นการยากที่จะถกเถียงกันเกี่ยวกับทัศนะทางศีลธรรม และความยุติธรรมในหมู่เยาวชนเหล่านี้ ในเมื่อทัศนะทางศีลธรรมและค่านิยมเป็นเรื่องของปัจเจก เป็นเรื่องส่วนบุคคล อะไรถูกต้อง? เป็นคำถามที่นำเยาวชนทุกวันนี้ไปถึงไหนแล้วไม่ทราบ สำหรับพวกเขาสิ่งที่สำคัญคือ ขอให้เขารู้สึกดี พอใจ และปลอดภัย

          สิ่งที่เขาเห็นพ้องต้องกันมากๆ ก็คือ เงินเป็นทุกสิ่ง เช่น เยาวชนในเกาหลีใต้ถูกครอบงำด้วยรูปร่างหน้าตา ศัลยกรรมเพื่อความงาม กระเป๋าหรูหราฟุ่มเฟือย เสื้อผ้าตามแฟชั่น เป็นเรื่องสำคัญในการสนทนาของพวกเขาแทบทุกวัน ความงามผิวเผินซึ่งแสดงออกซึ่งความร่ำรวยและการมีอิทธิพลกลายเป็นรูปบูชาของเยาวชน ในเมื่อปัจเจกนิยมมีความรุนแรงขึ้น เป็นการยากที่จะถกเถียงถึงสิ่งเหล่านี้ในฐานเป็นความดีส่วนรวมและเป็นประชาชนที่เจริญชีวิตในชุมชน เร็วๆ นี้ความรุนแรงในโรงเรียน เช่น การรังแกกันเป็นยอดข่าวในหนังสือพิมพ์และสื่อของแต่ละวัน จนรัฐบาลเกาหลีใต้ต้องตัดสินใจเข้าระงับความรุนแรงในโรงเรียน อะไรเกิดขึ้นกับเยาวชนเหล่านี้ เราไม่ทราบเหตุผลแท้จริงของความประพฤติเช่นนี้ บางทีพวกเขารู้สึกว่าไม่ค่านิยมที่แท้จริง ซึ่งเขาจะยึดถือและเข้าไปพึ่งได้ เราจะอนุมานอธิบายดังนี้ได้ไหม ทัศนคติทั่วโลกแบบ Relative ของเยาวชน พร้อมกับ Materialism และ Indivedualism เป็นอาการแสดงออกของความเปล่าเปลี่ยว ความหมดหวัง และความทุกข์ทรมาน

          คำถามเรื่องความเชื่อ : จะอธิบายอย่างไรเกี่ยวกับ Relativism ในฐานะเป็น Socio-Cultural Ethos ไม่ต้องสงสัยเลยว่าเยาวชนในพระศาสนจักรได้รับผลกระทบจาก Ethos นี้ของ Relativism และ Materialism ในฐานะเป็น Socio Culturalethos อาจยังไม่นำเยาวชนคาทอลิกออกจากพระศาสนจักรทันที เขาอาจยังอยู่ในพระศาสนจักร แต่อาจทำให้อัตลักษณ์แตกร้าวและเมล็ดพันธุ์ที่ทรงพลังหว่านลงในจิตใจ ที่สุดก็จะทำให้เขาทิ้งความเชื่อและพระศาสนจักร

          เรื่องนี้ทำให้เกิดคำถามว่า "สำหรับเยาวชน เป็นคริสตชนโดยเฉพาะเป็นคาทอลิก หมายความว่าอะไร? พวกเขายอมรับความเชื่อและให้นิยามความเชื่อของเขาอย่างไรในชีวิต? พวกเราในฐานเป็นชุมชนสามารถทำอะไรเพื่อเยาวชนเอเชียในพระศาสนจักรบ้าง กล่าวกันว่าเยาวชนคริสต์ปัจจุบันให้นิยามความเชื่อของเขาค่อนข้างเย็นชา ขาดความกระตือรือร้น เขาอาจจะเชื่อว่าพระเจ้ายังมีอยู่ เขาอาจจะเชื่อในพระตรีเอกภาพและข้อคำสอนหลักๆ ของคริสตศาสนา แต่กระนั้นเขารู้สึกว่าพระเจ้าไม่เกี่ยวข้องโดยเฉพาะในชีวิตส่วนตัวของเขา เป้าหมายสำคัญของชีวิตของเขา ก็คือ มีความสุข และรู้สึกว่าดีเกี่ยวกับคัวเอง

          คำตอบทาง Pastoral : นำความเชื่อสู่ชีวิต และนำชีวิตสู่ความเชื่อ เพื่อเอาชนะ Relativism ด้าน Socio-Cultura Ethos เราต้องมาคิดกันใหม่เกี่ยวกับหน้าที่อภิบาลเยาวชนและการสอนคำสอน เราน่าจะเชิญชวนเยาวชนให้นำชีวิตของเขาสู่ความเชื่อ และนำความเชื่อสู่ชีวิต เป็นการอธิบายเทววิทยาด้วยเหตุผลเพื่อหาความจริง ซึ่งหมายความว่าเราควรช่วยเขาให้เจริญชีวิตในความเชื่อ และมีอัตลักษณ์ของคาทอลิก การอบรมศึกษาด้านศาสนาควรเป็นอะไร นอกเหนือที่เป็นแต่เพียงการถ่ายทอดหรือการซ้ำคำสอนของพระศาสนจักรเท่านั้น การกระทำที่เป็นพลวัต เช่นการศึกษาพระคัมภีร์อย่างสม่ำเสมอ กาภาวนาในที่ประชุม และการปฏิบัติ Lectio Divina อาจเป็นความคิดที่ดีอย่างหนึ่ง การพบปะส่วนบุคคลมีคามหมายในการอบรมศึกษาทางศาสนาของคาทอลิกแน่นอนการพัฒนามาตรฐานที่ดีของการอบรมและอุปกรณ์การสอนเป็นสิ่งสำคัญ แต่เยาวชนจะประทับใจมากกว่าโดยอาศัยการพูดคุยกับบางคนที่เจริญชีวิตอย่างสุภาพแท้จริง หรืออย่างน้อยพยายามเจริญชีวิตตามความเชื่อของเขา บนความยินดีและสันติในความรักของพระเจ้าในบริบทของตน โดยอัตโนมัติมันนำเราไปสู่คำถามที่ว่า เราเป็นอะไรในฐานคาทอลิก บางทีเราที่เป็นผู้ใหญ่ได้รับผลกระทบของทัศนะแบบ Relativistic อย่างมากในหลายด้านของชีวิต เยาวชนอาจเป็นภาพสะท้อนของสิ่งที่ผู้ใหญ่เป็นในสายตาของเยาวชน เราอาจดูเหมือนว่าไม่เจริญชีวิตอย่างร่าเริงยินดีและอย่างมีความหมาย ในแสงสว่างแห่งพระวรสารในชีวิตประจำวัน หมกมุ่นอยู่กับการแสวงหาความสำเร็จทางโลกและความปลอดภัย ดังนั้นถึงเวลาแล้วที่เราจะต้องตื่นและภาวนาด้วยกันในฐานะผู้อภิบาล อาจารย์ บิดามารดา และผู้นำของพระศาสนจักร

สถิติการเยี่ยมชม

10486002
Today
Yesterday
This Week
Last Week
This Month
Last Month
All days
435
3833
6978
10448190
6978
124638
10486002
Your IP: 3.129.63.252
Server Time: 2024-12-03 00:46:14

แบบฟอร์ม

instagram

พระศาสนจักร


สื่อ YOUTUBE


Laudato si’

บทเรียนคำสอน





บทภาวนา

พิธีกรรมต่างๆ

เอกสารพระศาสนจักร

บทความคำสอน



KAMSONCHAN

 

   องค์กรคาทอลิก              คณะนักบวช  
 

สภาพระสังฆราชคาทอลิกแห่งประเทศไทย
คณะกรรมการคาทอลิกเพื่อคริสตศาสนธรรม
แผนกคริสตศาสนธรรม
อัครสังฆมณฑลกรุงเทพฯ
ศูนย์คริสตศาสนธรรม อัครสังฆมณฑลกรุงเทพฯ
สังฆมณฑลจันทบุรี
คณะรักกางเขนแห่งจันทบุรี
มูลนิธิสงเคราะห์เด็ก พัทยา
คามิลเลียนโซเชียลเซนเตอร์ ระยอง

  สังฆมณฑลนครราชสีมา                       
ศูนย์คริสตศาสนธรรม สังฆมณฑลนครราชสีมา
สังฆมณฑลอุบลราชธานี
ศูนย์คริสตศาสนธรรม สังฆมณฑลอุบลราชธานี   
สังฆมณฑลราชบุรี
ศูนย์คริสตศาสนธรรม สังฆมณฑลราชบุรี
ศูนย์คริสตศาสนธรรม สังฆมณฑลราชบุรี
สังฆมณฑลนครสวรรค์
สังฆมณฑลเชียงใหม่
  สังฆมณฑลสุราษฎ์ธานี
สังฆมณฑลอุดรธานี
ศูนย์คริสตศาสนธรรม สังฆมณฑลอุดรธานี

สภาการศึกษาคาทอลิกประเทศไทย
คณะกรรมการคาทอลิกเพื่อความยุติธรรมและสันติ (ยส.)
คณะกรรมการคาทอลิกเพื่อพระคัมภีร์
คณะกรรมการคาทอลิกเพื่อสุขภาพอนามัย
สื่อมวลชนคาทอลิกประเทศไทย
สื่อมวลชนคาทอลิกประเทศไทย (อุดมสาร)
  ชมรมอธิการิณีเจ้าคณะนักบวชแห่งประเทศไทย
คณะภคินีเซนต์ปอลเดอร์ชาร์ต
คณะภคินีศรีชุมพาบาล       
คณะพระมหาไถ่แห่งประเทศไทย
คณะเซนต์คาเบรียล
คณะซาเลเซียน
คณะซาเลเซียน (ซิสเตอร์)
กางเขนแดงสาร

 



JSN Megazine template designed by JoomlaShine.com