Homeบทความบทความทั่วไปวันฮาโลวีนกับคริสต์ศาสนา (Halloween and Christianity)

วันฮาโลวีนกับคริสต์ศาสนา (Halloween and Christianity)

            วันฮาโลวีน (Halloween) คือ เทศกาลเฉลิมฉลองประจำปีในวัฒนธรรมของตะวันตก โดยจะจัดให้มีขึ้นในวันที่ 31 ตุลาคมของทุกปี ปัจจุบันฮาโลวีนกลายเป็นเทศกาลที่นิยมจัดขึ้นในหลายประเทศทั่วโลก

            ฮาโลวีนไม่ใช่เทศกาลในคริสตศาสนา แต่ก็มีบางส่วนที่เกี่ยวข้องกับความหมายของวันสมโภชนักบุญทั้งหลาย (1 พฤศจิกายน) และวันภาวนาอุทิศให้ผู้ล่วงลับ (2 พฤศจิกายน) ดังนั้น คริสตชนจึงควรเข้าใจความหมายและปฏิบัติตัวอย่างถูกต้อง เมื่อไปร่วมกิจกรรมดังกล่าว หรือสามารถอธิบายให้กับบุคคลอื่นได้

            คำว่า “Halloween” ในภาษาอังกฤษ มาจากคำ "All Hallows Eves" หมายถึง "วันก่อนวันสมโภชนักบุญทั้งหลาย" (Hallow แปลว่า ศักดิ์สิทธิ์, วงกลมล้อมรอบศีรษะของบรรดานักบุญ)

            เชื่อว่าประวัติวันฮาโลวีน เริ่มต้นมาจากวันฉลองปีใหม่ของชาวเซลท์หรือเซลติก (Celt or Celtic) ชนพื้นเมืองในไอร์แลนด์ ซึ่งจะจัดขึ้นในวันที่ 1 พฤศจิกายน อีกประการหนึ่งเป็นวันสิ้นสุดฤดูร้อนเข้าสู่ฤดูหนาว สิ้นสุดของช่วงแห่งความสว่างเข้าสู่ช่วงเวลาแห่งความมืด

            โดยก่อนหน้านี้เพียง 1 วัน ซึ่งตรงกับ วันที่ 31 ตุลาคมของทุกปี ชาวเซลท์เชื่อว่าเป็นวันที่วิญญาณของคนตายได้กลับมายังโลกมนุษย์ และวิญญาณภูตผีเหล่านี้จะพยายามสิงร่างของคนที่ยังมีชีวิตอยู่ เป็นวันที่โลกนี้และโลกหน้าโคจรเข้ามาใกล้กันมากที่สุด วันที่ 31 ตุลาคม จึงเป็นวันเฉลิมฉลองเทพเจ้าแห่งความตายหรือเทศกาลซัมเฮน (Samhain) หรือเรียกว่า “เทศกาลแห่งความตาย” (Festival of the Dead)

            วิญญาณของบรรพบุรุษก็จะได้รับการต้อนรับ (จึงต้องทำพิธีต้อนรับหรือพิธีระลึกถึง) ขณะเดียวกัน วิญญาณที่ชั่วร้ายก็จะถูกขับไล่ ซึ่งการขับไล่ปีศาจสามารถทำได้ด้วยการสวมชุดและหน้ากากผี

            ชาวเซลท์จึงพยายามทำทุกทางเพื่อป้องกันผีร้าย ไม่ว่าจะเป็นการดับไฟ (ที่เป็นแสงสว่าง) ไม่ก่อกองเพลิง ทำให้บ้านมืดสนิท เพื่อให้อากาศหนาวเย็น รวมถึงไอเดียในการแต่งตัว และแต่งหน้าปลอมเป็นผีเดินตามท้องถนน สังสรรค์เสียงดัง เพื่อไม่ให้ผีเข้าใกล้ และตกใจกลัวจนหนีไป ทำให้ทุกคืนวันที่ 31 ตุลาคม กลายเป็นธรรมเนียมที่ชาวเซลท์จะแต่งตัวออกมาหลอกผี เพื่อไม่ให้ภูตผีและปิศาจมาทำร้าย ซึ่งต่อมาได้เผยแพร่ไปยังประเทศอื่นๆ และกลายเป็นวันฮาโลวีนเช่นในปัจจุบัน

            เทศกาลซัมเฮน (Samhain) ยังเป็นวันแห่งการตุนอาหารไว้สำหรับฤดูหนาว และมีการเล่นรอบกองไฟในหลายที่ ไฟและแสงสว่างประเภทอื่นจะถูกดับลง และบ้านแต่ละหลังจะจุดไฟในเตา ส่วนกระดูกของสัตว์ที่ใช้เป็นอาหาร จะถูกโยนเข้าไปในเปลวเพลิงนี้ บางครั้งกองไฟ 2 กองจะถูกจุดไว้ข้าง ๆ กัน ผู้คนกับสัตว์ที่เลี้ยงไว้จะเดินวนระหว่างสองกองไฟ ถือเป็นพิธีการชะล้าง

            บางบ้านหรือบางคนจะเอาโครงกระดูกที่เหลือจากการแล่เนื้อมาแขวนไว้ที่หน้าต่าง เพื่อแสดงออกถึงความตาย เอาหัวผักกาดมาทำเป็นโคมไฟแขวนไว้ มีลักษณะเหมือนกับศีรษะหรือหัวของคน (คนตาย) ถูกใช้เป็นสัญลักษณ์ในการขับไล่ปีศาจร้าย

            ฟักทองที่แกะสลักให้เป็นหน้าผี คือสัญลักษณ์ของวันฮาโลวีนที่หลายคนคุ้นเคย โดยมีจุดเริ่มต้นมาจากตำนานพื้นบ้านไอร์แลนด์ เรื่องของ "แจ็ค โอแลนเทิร์น" (Jack O'Lanterns) ชายขี้เมาที่ใช้เล่ห์กลหลอกให้ปิศาจอยู่บนต้นไม้ แล้วเขาทำเครื่องหมายกากบาทไว้ที่โคนต้นไม้ ปิศาจจึงลงมาไม่ได้

            แจ็ค โอแลนเทิร์น ได้โอกาสจึงทำข้อตกลงห้ามไม่ให้ปิศาจมาหลอก หรือนำสิ่งไม่ดีมาสู่ตัวเขา ปิศาจตอบตกลง โดยหลังจากที่แจ็คเสียชีวิต เขาปฏิเสธที่จะขึ้นสวรรค์และลงนรก ปิศาจจึงมอบถ่านร้อนๆ ที่กำลังคุไฟให้ เพื่อให้เขาใช้เป็นแสงสว่างและสร้างความอบอุ่นในค่ำคืนที่หนาวเย็น
แจ็คได้เจาะหัวผักกาดให้กลวง และนำถ่านไปใส่ไว้ ต่อมาชาวอเมริกันได้ใช้ฟักทองที่หาได้ง่ายกว่ามาแทนหัวผักกาด

            ส่วนเด็ก ๆ จะนิยมเล่น “ทริคออร์ทรีต” (Trick-or-Treating) ซึ่งหมายถึงการแต่งกายด้วยชุดแฟนตาซีแบบผี ๆ เดินออกไปตามท้องถนนเพื่อเคาะประตูบ้านต่าง ๆ พร้อมถามว่า "Trick-or-Treating" เพื่อให้เลือกว่าจะให้เล่นหลอกผี หรือจะให้ขนมและลูกกวาดที่ทำจากเม็ดข้าวโพด (Corn Candy) นั่นเอง


วันฮาโลวีนกับคริสตชน (Halloween with Christianity)

            ปกติแล้วคริสตชนคาทอลิกจะไม่ได้ให้ความสำคัญกับเทศกาลฮาโลวีน ถือว่าเป็นเทศกาลทางโลก มีไว้เพื่อส่งเสริมธุรกิจการค้า การขายสินค้าและของตกแต่ง ความสนุกสนานในการแต่งกายหรือตกแต่งสถานที่ คริสตชนที่ร่วมกิจกรรมวันฮาโลวีนนี้ จึงควรเข้าใจความหมายที่ถูกต้อง ระหว่างเทศกาลทางโลกกับเทศกาลทางศาสนา

            แต่เตือนให้บรรดาคริสตชนระลึกถึงวันสมโภชนักบุญทั้งหลาย (All Saints Day) ที่ใกล้จะมาถึง คือวันที่ 1 พฤศจิกายน และวันภาวนาอุทิศให้กับผู้ล่วงลับ (All Souls Day) คือวันที่ 2 พฤศจิกายน และตลอดเดือนพฤศจิกายนที่จะต้องอธิษฐานภาวนาและทำความดีเป็นพิเศษเพื่ออุทิศให้กับผู้ล่วงลับ

วันวาเลนไทน์ (Valentine Day)

            เช่นเดียวกับวันวาเลนไทน์ ที่แม้ว่าพระศาสนจักรคาทอลิกเคยทำการระลึกถึงนักบุญวาเลนติโนหรือวาเลนไทน์ในวันที่ 14 กุมภาพันธ์ในอดีต แต่ตามปฏิทินพิธีกรรมปัจจุบันได้เปลี่ยนไปแล้ว (นักบุญวาเลนไทน์ยังคงมีความสำคัญ และเป็นนักบุญอยู่ แต่ไม่ได้ระลึกถึงหรือฉลองอย่างเป็นทางการ อาจจะเป็นเพราะป้องกันไม่ให้หลายคนเข้าใจความหมายของความรักแท้ผิดเพี้ยนไป) โดยได้กำหนดระลึกถึงนักบุญซีริล นักพรต และนักบุญเมโธดิอุส บิชอป (SS. Cyri, Monk, & Methodius, Bishop) ซึ่งทั้งสองท่านเป็นองค์อุปถัมภ์ของทวีปยุโรปแทน

เทศกาลคริสต์มาส (Christmastide)

            แม้กระทั่งเทศกาลคริสต์มาสที่กลายเป็นเทศกาลของชาวโลก บรรดาคริสตชนไม่ให้ความหมายเพียงแค่การตกแต่งสถานที่ภายนอก ด้วยต้นคริสต์มาส ซานตาครอส และของตกแต่งอื่น ๆ แต่เน้นเป็นการเตรียมจิตใจภายในเพื่อระลึกถึงการที่พระเยซูเจ้า พระบุตรของพระเจ้าได้มาบังเกิดเป็นบุตรของมนุษย์ และรอคอยการเสด็จกลับมาของพระองค์อีกเป็นครั้งที่สอง โดยมีองค์พระเยซูเจ้าเป็นศูนย์กลางผู้เลือกประสูติมาอย่างยากจนในคอกเลี้ยงสัตว์ มีนักบุญโยเซฟและพระแม่มารีย์เป็นผู้ดูแล ล้อมรอบไปด้วยคนเลี้ยงแกะที่มาชื่นชม และบรรดานักปราชญ์ทั้งสามที่เดินทางมานมัสการพระองค์


#ศิษย์พระคริสต์ #ศิษย์ธรรมทูต

#คำสอนจันท์ #kamsonchan

#chanthaburidiocese

สถิติการเยี่ยมชม

10485735
Today
Yesterday
This Week
Last Week
This Month
Last Month
All days
168
3833
6711
10448190
6711
124638
10485735
Your IP: 18.117.141.69
Server Time: 2024-12-03 00:31:30

แบบฟอร์ม

instagram

พระศาสนจักร


สื่อ YOUTUBE


Laudato si’

บทเรียนคำสอน





บทภาวนา

พิธีกรรมต่างๆ

เอกสารพระศาสนจักร

บทความคำสอน



KAMSONCHAN

 

   องค์กรคาทอลิก              คณะนักบวช  
 

สภาพระสังฆราชคาทอลิกแห่งประเทศไทย
คณะกรรมการคาทอลิกเพื่อคริสตศาสนธรรม
แผนกคริสตศาสนธรรม
อัครสังฆมณฑลกรุงเทพฯ
ศูนย์คริสตศาสนธรรม อัครสังฆมณฑลกรุงเทพฯ
สังฆมณฑลจันทบุรี
คณะรักกางเขนแห่งจันทบุรี
มูลนิธิสงเคราะห์เด็ก พัทยา
คามิลเลียนโซเชียลเซนเตอร์ ระยอง

  สังฆมณฑลนครราชสีมา                       
ศูนย์คริสตศาสนธรรม สังฆมณฑลนครราชสีมา
สังฆมณฑลอุบลราชธานี
ศูนย์คริสตศาสนธรรม สังฆมณฑลอุบลราชธานี   
สังฆมณฑลราชบุรี
ศูนย์คริสตศาสนธรรม สังฆมณฑลราชบุรี
ศูนย์คริสตศาสนธรรม สังฆมณฑลราชบุรี
สังฆมณฑลนครสวรรค์
สังฆมณฑลเชียงใหม่
  สังฆมณฑลสุราษฎ์ธานี
สังฆมณฑลอุดรธานี
ศูนย์คริสตศาสนธรรม สังฆมณฑลอุดรธานี

สภาการศึกษาคาทอลิกประเทศไทย
คณะกรรมการคาทอลิกเพื่อความยุติธรรมและสันติ (ยส.)
คณะกรรมการคาทอลิกเพื่อพระคัมภีร์
คณะกรรมการคาทอลิกเพื่อสุขภาพอนามัย
สื่อมวลชนคาทอลิกประเทศไทย
สื่อมวลชนคาทอลิกประเทศไทย (อุดมสาร)
  ชมรมอธิการิณีเจ้าคณะนักบวชแห่งประเทศไทย
คณะภคินีเซนต์ปอลเดอร์ชาร์ต
คณะภคินีศรีชุมพาบาล       
คณะพระมหาไถ่แห่งประเทศไทย
คณะเซนต์คาเบรียล
คณะซาเลเซียน
คณะซาเลเซียน (ซิสเตอร์)
กางเขนแดงสาร

 



JSN Megazine template designed by JoomlaShine.com