#นักการศึกษาที่แท้จริงจะต้องเดินเคียงข้าง,รับฟัง,และเสวนากับนักเรียน (A true educator accompanies, listens and dialogues)
เมื่อวันอังคารที่ 19 เมษายน ค.ศ. 2022 พระสันตะปาปาฟรังซิสทรงพบปะกับตัวแทนนักวิจัยระดับโลกเพื่อเดินหน้าโครงการการศึกษาคาทอลิก (Global Researchers Advancing Catholic Education Project) เพื่อสร้างการศึกษาแบบพลวัตร (การก้าวไปข้างหน้าเสมอ) ส่งเสริมคุณค่าของการศึกษาคาทอลิก ในเรื่องอัตลักษณ์และการเสวนา ณ หอประชุมเปาโลที่ 6 นครรัฐวาติกัน
การให้ความรู้ไม่ใช่การ "การเติมความคิดให้เต็มหัว" เพราะ "หุ่นยนต์" ก็สามารถกระทำได้เช่นเดียวกัน แต่เป็นการเดินไปร่วมกันกับผู้เรียนใน "ความกลมกลืนระหว่างความเสี่ยงและความปลอดภัย"
#มีสิทธิที่จะทำผิดพลาด (The right to make mistakes)
การศึกษาคาทอลิกระดับต่าง ๆ ไม่ว่าจะเป็นระดับประถม มัธยม และมหาวิทยาลัย จะต้องสนับสนุนนักเรียนในการเดินทางด้านการศึกษาร่วมไปกับพวกเขา การให้ความรู้ไม่ใช่การกล่าววาทศิลป์ หรือกล่าวสุนทรพจน์ แต่คือ #การทำสิ่งที่พูดให้เป็นจริง (การทำให้เด็กนักเรียนเห็นและเป็นแบบอย่าง) เด็ก ๆ มีสิทธิ์ที่จะผิดพลาด แต่นักการศึกษาจะเดินเคียงข้างกับเขา ช่วยปกป้องพวกเขา แก้ไขข้อผิดพลาด เพื่อพวกเขาจะไม่ได้รับอันตราย นักการศึกษาที่แท้จริงจะต้องไม่กลัวความผิดพลาด
การเดินเคียงข้างนี้ คือการจับมือเดินไปกับเขา การรับฟัง และเสวนา (แลกเปลี่ยนความคิดเห็น) กับพวกเขา ไม่หวาดกลัวจนเกินไป และไม่รอคอยแต่อย่างอย่างเดียวจนไม่ได้ทำอะไรเลย นี่คือการศึกษาของมนุษย์ การศึกษาที่จะช่วยให้พวกเขาก้าวไปข้างหน้า สนับสนุนการเติบโต และช่วยเหลือพวกเขา
#อบรมสั่งสอนตามประเพณีอันเป็นพลวัต (Educating in the tradition that is dynamic)
ตัวแทนนักวิจัยได้กล่าวรายงานแด่พระสันตะปาปาฟรังซิสว่า การจัดการศึกษาไม่ใช่เพียงแค่การถ่ายทอดความรู้เท่านั้น แต่ยังสร้างบรรยากาศแห่งการอภิบาลและการเติบโตทางด้านจิตวิญญาณอีกด้วย เช่นเดียวกับที่บรรดาผู้สูงอายุต้องการถ่ายทอดความรู้ให้กับเยาวชน
พระสันตะปาปาฟรังซิสทรงตรัสตอบว่า การเสวนาระหว่างคนหนุ่มสาวกับผู้สูงอายุเป็นสิ่งที่สำคัญ เช่นเดียวกับต้นไม้ที่ต้องการความสัมพันธ์กับราก มันถึงจะเติบโตได้ ดังคำกวีที่กล่าวไว้ว่า “ทุกสิ่งที่ต้นไม้บานสะพรั่ง ล้วนมาจากสิ่งที่มีอยู่ใต้พื้นดิน” หากปราศจากราก เราไม่สามารถก้าวไปข้างหน้าได้ ด้วยรากเหง้าเท่านั้นที่เราจะกลายเป็นคน
แต่เราต้องระวังธรรมประเพณีบางอย่างที่เยือกเย็น (กระทำไปอย่างไม่รู้ความหมาย หรือไม่มีประโยชน์) หรือเข้มงวดจนเกินไป (ยึดติดกับหลักการเกินไปโดยไม่ยืดหยุ่น) ธรรมประเพณีที่แท้จริงคือ "การนำสิ่งของอดีตเพื่อนำไปสู่การก้าวไปข้างหน้า ธรรมประเพณีไม่คงที่ แต่เป็นพลวัตที่มุ่งไปข้างหน้า”