#ให้เราร่วมมือกันทำงานเพื่อปลูกฝังความเมตตาและมิตรภาพที่ดีต่อกัน (Let’s work together to cultivate compassion and hospitality)
วันศุกร์ที่ 17 มิถุนายน 2022 พระสันตะปาปาฟรังซิสทรงต้อนรับคณะพระภิกษุชาวไทยจำนวน 33 รูป และฆราวาสจำนวน 60 คน จากนิกายเถรวาทและมหายาน พร้อมกับตัวแทนคริสตชนจากประเทศไทย ที่เดินทางมาที่กรุงโรม ประเทศอิตาลี เพื่อประชุมร่วมกันในหัวข้อ “มิตรภาพระหว่างพุทธศาสนิกชนและคริสชนเพื่อสร้างวัฒนธรรมแห่งการพบปะกัน” ณ มหาวิทยาลัยอูร์บานีอานาแห่งสันตะสำนัก
ในช่วงเวลาของมนุษยชาติและโลกของเรา กำลังเผชิญหน้ากับภัยคุกคามมากมาย ความจำเป็นในการทำศาสนสัมพันธ์และความร่วมมือกันมีความจำเป็นมากยิ่งขึ้น เพื่อประสานควาร่วมมือกันระหว่างพุทธศาสนิกชนกับพระศาสนจักรคาทอลิก เพื่อปลูกฝังความเมตตา และความห่วงใยสำหรับมนุษยชาติ เป็นพิเศษสำหรับคนยากจนและบุคคลชายขอบ
#ครบรอบ50ปี (Golden Jubilee)
ขอบคุณสำหรับการมาเยือนนครรัฐวาติกันในโอกาสครบรอบ 50 ปี แห่งความสัมพันธ์ระหว่างนักบุญพระสันตะปาปาเปาโลที่ 6 กับสมเด็จพระวันรัต ฉายา พฺรหฺมคุตฺโต สมเด็จพระราชาคณะฝ่ายธรรมยุติกนิกายในอดีต ซึ่งเป็นสมเด็จพระสังฆราชองค์ที่ 17 ของประเทศไทย เมื่อวันที่ 5 มิถุนายน 1972 ซึ่งข้าพเจ้ามีความปรารถนาที่จะรื้อฟื้นความสัมพันธ์อันดี และความร่วมมือที่มีให้แก่กันและกันตลอดไป
พระสันตะปาปาฟรังซิสทรงย้ำเตือนถึงความรู้สึกของนักบุญพระสันตะปาปาเปาโลที่ 6 ที่มีต่อขุมทรัพย์ทางจิตวิญญาณ ศีลธรรม และวัฒนธรรมทางสังคมของประเพณีทางพุทธศาสนา โดยตระหนักถึงคุณค่าของการเป็นผู้เฝ้าระวัง มีความปรารนาร่วมกันที่จะอนุรักษ์และทำให้เข้มแข็ง มีความหวังว่าจะเพิ่มพูนการเสวนาอย่างมีมิตรภาพ และความร่วมมือกันอย่างใกล้ชิดระหว่างธรรมประเพณีที่พุทธศาสนามีต่อพระศาสนจักรคาทอลิก
#เส้นทางแห่งการเสวนาและการทำงานร่วมกันอย่างเป็นหนึ่งเดียว (consolidated path of dialogue and collaboration)
ตลอดระยะเวลา 50 ปีที่ผ่านมา เราได้เห็นความก้าวหน้าของการเสวนาอย่างมีมิตรภาพ และความร่วมมือกันอย่างใกล้ชิดระหว่างธรรมประเพณีของสองศาสนา ดังจะเห็นได้จากการเยือนประเทศไทยอย่างเป็นทางการเมื่อ ค.ศ. 2019 ในการต้อนรับอย่างน่าประทับใจที่ได้รับ ซึ่งต้องขอขอบคุณสำหรับการเสวนาอย่างมีมิตรภาพที่มีต่อสมณสภาเพื่อการเสวนาระหว่างศาสนา และพระศาสนจักรในประเทศไทย
#ทั้งศาสนาพุทธและศาสนาคริสต์ต่างเข้าใจถึงความต้องการของความเป็นพี่น้องกัน (The Buddha and Jesus understood the need for fraternity)
การเสวนาและความร่วมมือกันเป็นสิ่งที่จำเป็นเร่งด่วนและมีคุณค่าเป็นอย่างมาก ในช่วงเวลาที่ครอบครัวมนุษยชาติและโลกของเรากำลังเผชิญหน้ากับการถูกคุกคามในรูปแบบต่าง ๆ เป็นที่น่าเศร้าใจที่เราได้ยินเสียงร้องของมนุษยชาติ ที่ได้รับบาดเจ็บและแผ่นดินที่แตกสลาย ทั้งพุทธศาสนาและคริสต์ศาสนาต่างเข้าใจถึงความจำเป็นที่จะต้องเอาชนะความเห็นแก่ตัว ที่เป็นต้นเหตุทำให้เกิดความขัดแย้งและความรุนแรง
ดังหลักคำสอนสำคัญของพุทธศาสนาที่ “ให้ทำความดี หลีกหนีความชั่ว ชำระจิตใจให้บริสุทธิ์” และคำสอนของพระเยซูเจ้าที่กล่าวว่า “เราให้บัญญัติใหม่กับท่านทั้งหลายคือ จงรักกันและกัน เรารักท่านทั้งหลายอย่างไร ก็จงรักผู้อื่นอย่างนั้นเถิด” (ยน 13:34)
หน้าที่ของเราทุกวันนี้คือ การนำศาสนิกชนไปสู่ความความเป็นจริงที่ชัดเจนขึ้นว่า “เราทุกคนต่างเป็นพี่น้องกัน” ข้าพเจ้าจึงขอให้กำลังใจพวกท่าน ในการเสวนาและประสานความร่วมมือกันกับพระศาสนจักรคาทอลิกอย่างลึกซึ้งและขยายวงกว้างต่อไป