#พระสันตะปาปาทรงสนับสนุนสิทธิของคนพื้นเมืองในแคนาดา
(Pope: Promote rights of indigenous peoples in Canada)
เมื่อวันพุธที่ 27 กรกฎาคม 2022 พระสันตะปาปาฟรังซิสทรงพบปะกับข้าราชการ นักการทูต นักการเมือง และคนพื้นเมือง ที่เมืองคิวเบก (Quebec) ประเทศแคนาดา ทรงกล่าวถึงเรื่องราวที่น่าสงสารของระบบหอพักคนพื้นเมือง อันเป็นผลมาจากการปฏิเสธวัฒนธรรมท้องถิ่นนั้น ๆ และเรียกร้องสิทธิที่ถูกต้องของคนพื้นเมือง ตลอดจนกระบวนการรักษาและการคืนดีระหว่างคนพื้นเมืองและคนธรรมดาทั่วไป
#อันตรายที่เกิดจากการทำลายล้างวัฒนธรรมดั้งเดิม (the harms done to erase their culture)
ระบบโรงเรียนที่อยู่อาศัย ได้ทำร้ายครอบครัวพื้นเมืองจำนวนมากด้วยการทำลายภาษา วัฒนธรรม และโลกทัศน์ของพวกเขา ซึ่งเด็กจำนวนมากได้ถูกแยกออกจากครอบครัวของพวกเขา
#การฟื้นฟูเรียกร้องการให้อภัย (Renewed request for forgiveness)
พระสันตะปาปาได้ทรงขอโทษด้วยความจริงใจอย่างเปิดเผย ต่อคนพื้นเมืองที่เมืองเอดมันตัน (Edmonton) และทรงกระทำเช่นเดียวกันที่เมืองคิวเบก พร้อมกับบรรดาบิชอปของแคนาดา สำหรับการกระทำที่ผิดพลาดของคริสตชนคาทอลิกหลายคน ที่ได้ล่วงเกินต่อคนพื้นเมืองเหล่านั้น โดยไม่ได้ปฏิบัติตามสิ่งที่พระวรสารได้สอน
ในการยอมรับความผิดร่วมกันของเรา เราจำเป็นต้องทำงานร่วมกันเพื่อส่งเสริมสิทธิอันชอบธรรมของคนพื้นเมือง เพื่อเยียวยา บำบัดรักษา และสร้างความปรองดองร่วมกันระหว่างคนพื้นเมืองและบุคคลทั่วไปของประเทศ โดยจะต้องปรึกษาหารือกันเพื่อหาแนวทางที่เหมาะสมสำหรับการแสวงหาความจริงและการคืนดี พร้อมกับการยอมรับสิทธิของคนพื้นเมือง
#สันตะสำนักยืนยันที่จะสนับสนุนสิทธิของคนพื้นเมือง (Holy See committed to concretely promoting rights of indigenous)
พระสันตะปาปาฟรังซิสทรงต้องการที่จะฟื้นฟูความสัมพันธ์ระหว่างพระศาสนจักรกับคนพื้นเมืองของแคนาดา เพื่อที่จะเยียวยาบาดแผลที่เกิดขึ้น อาศัยการประชุมร่วมกันที่วาติกันจำนวน 5 ครั้ง เพื่อที่จะรับฟังตัวแทนของคนพื้นเมืองแคนาดา และการเดินทางมาที่ประเทศแคนาดาในครั้งนี้
#การเยียวยาต้องใช้เวลา (Healing takes time)
ประวัติศาสตร์แห่งความทุกข์และการดูหมิ่นนั้น เป็นผลของความคิดในการล่าอาณานิคม ไม่สามารถที่จะรักษาให้หายง่าย ๆ นอกจากจะกล่าวคำขอโทษ ประฌามการกระทำที่ผิดแล้ว ยังจะต้องอาศัยการทำงานร่วมกันของทุกภาคส่วน (Multilateralism)
ความหลากหลายทางวัฒนธรรม เป็นพื้นฐานสำหรับความเหนียวแน่นของสังคมที่ มีความหลากหลายพอ ๆ กับสีสันของใบไม้ที่เปลี่ยนสีของต้นเมเปิล ซึ่งเป็นสัญลักษณ์ของประเทศแคนาดา
การอยู่ร่วมกันระหว่างคนพื้นเมืองกับบุคคลที่เดินทางมาใหม่ จำเป็นต้องยอมรับความแตกต่างระหว่างกันและกัน เช่นเดียวกับความเอื้ออาทรของคนแคนาดา ที่ต้อนรับผู้อพยพจากประเทศยูเครนและแอฟริกาเป็นจำนวนมากในปัจจุบัน ซึ่งถือได้ว่าเป็นความรับผิดชอบต่อสังคมที่ได้กระทำร่วมกัน
#สิทธิและประชาธิปไตยเป็นสิ่งที่ขาดไม่ได้ (rights and democracy are indispensable)
พระสาสนจักรคาทอลิกมีมิติแห่งความเป็นสากล ห่วงใยต่อผู้ที่เปราะบางที่สุด การรับใช้โดยชอบธรรมต่อชีวิตของมนุษย์ในช่วงวัยต่าง ๆ ตั้งแต่การปฏิสนธิไปจนถึงความตายตามธรรมชาติ โดยมีความยินดีที่จะเสนอความช่วยเหลือเฉพาะเจาะจงเป็นพิเศษ
#ต้องทำงานเพื่อหยุดมิใช่ทำสงคราม (Must work to stop, not pursue wars)
การทำสงครามที่เกิดขึ้นทั่วโลกในปัจจุบัน ทำใหเกิดความเป็นมิตร ความเป็นศัตรู และช่องว่างให้เกิดขึ้นในโลก ซึ่งการแข่งขันทางอาวุธและกลยุทธ์ในการยับยั้ง ไม่สามารถที่จะนำมาซึ่งสันติภาพและความมั่นคงที่แท้จริงได้ เราต้องไม่ถามตัวเองว่าเราจะทำสงครามอย่างไร แต่ควรหยุดพวกเขาอย่างไร โดยเรียกร้องให้มีนโยบายที่สร้างสรรค์ และมองการณ์ไกลที่สามารถก้าวข้ามการตอบโต้กลับไปด้วยความรุนแรง เพื่อที่จะให้คำตอบสำหรับความท้าทายระดับโลก
#ทำงานร่วมมือกันในความท้าทายระดับโลก (Working hand in hand on global challenges)
ในความท้าทายเร่งด่วนของโลกยุคปัจจุบัน สันติสุข อากาศที่เปลี่ยนแปลง การแพร่ระบาด การอพยพย้ายถิ่นฐาน ซึ่งส่งผลกระทบต่อทุกคน การเมืองจึงไม่สามารถถูกคุมขังเพื่อผลประโยชน์แต่พรรคพวกของตนเองได้ ทุกคนจึงควรจับมือกันทำงานเพื่อแก้ไขปัญหาดังกล่าว
ขอบคุณชาวแคนาดา และผู้ที่อยู่ต่อหน้าพระองค์สำหรับการต้อนรับ ความเอาใจใส่ และความเคารพ “ด้วยความรักอันยิ่งใหญ่ ข้าพเจ้าขอรับรองกับคุณว่า แคนาดาและผู้คนในแคนาดาต่างใกล้ชิดกับหัวใจของข้าพเจ้าอย่างแท้จริง”