Homeบทความบทความ :: คุณพ่อนุพันธุ์ ทัศมาลีก้าวไปกับโป๊ปก้าวไปกับโป๊ป #122 : ศาสนาคือกุญแจสำคัญสำหรับการสร้างสันติภาพและความเข้าใจให้เกิดขึ้นในโลก

ก้าวไปกับโป๊ป #122 : ศาสนาคือกุญแจสำคัญสำหรับการสร้างสันติภาพและความเข้าใจให้เกิดขึ้นในโลก

#ศาสนาคือกุญแจสำคัญสำหรับการสร้างสันติภาพและความเข้าใจให้เกิดขึ้นในโลก (Religions 'key to building world peace and understanding')

เมื่อเช้าวันพุธที่ 14 กันยายน 2022 พระสันตะปาปาฟรังซิสทรงกล่าวปราศรัยให้กับผู้เข้าร่วมประชุมผู้นำโลกและผู้นำศาสนาดั้งเดิม ครั้งที่ 7 จำนวนกว่า 100 คน จาก 50 ประเทศ ณ กรุงนูร์-ซุลตัน เมืองหลวงของสาธารณรัฐคาซัคสถาน

การประชุมนี้จัดขึ้นทุก 3 ปี เพื่อระดมความคิดในการแสวงหาจุดยืนของศาสนาต่าง ๆ ทั่งโลก สำหรับการพัฒนาทางด้านชีวิตฝ่ายจิตและสังคมไปพร้อม ๆ กัน โดยในการประชุมครั้งนี้ มีวัตถุประสงค์เพื่อเพื่อแสวงหามุมมองร่วมกันในโลกหลังโควิด-19

#การก้าวเดินไปอย่างไม่มีที่สิ้นสุด (Drawn by the infinite)

เราทุกคนต่างก็เป็นพี่น้องกัน ไม่ว่าจะนับถือศาสนาใดก็ตาม เราต่างก็เป็นดังเช่นเด็ก ๆ ที่อยู่ในสวรรค์เดียวกัน ก่อนธรรมล้ำลึกเกี่ยวกับนิรันดรภาพที่อยู่เหนือธรรมชาติและดึงดูดเรา ศาสนาต่าง ๆ ได้เตือนเราแต่ละคนว่า เราเป็นสิ่งสร้าง ไม่ได้มีอำนาจในตนเอง เราต่างก็เดินทางไปข้างหน้า ไปสู่เป้าหมายแห่งเมืองสวรรค์เช่นเดียวกัน

สิ่งต่าง ๆ เหล่านี้ได้ทำให้เกิดความผูกพันร่วมกัน มิตรภาพที่เที่ยงแท้ เช่นเดียวกับประเทศคาซัคสถานที่อยู่ในบริเวณเอเชียกลาง ซึ่งตลอดประวัติศาสตร์ที่ผ่านมา เป็นดินแดนแห่งการเผชิญหน้ากับแนวความคิด ความศรัทธา และการค้า บนเส้นทางสายไหมโบราณ

ความหวังในการเผชิญหน้าของศาสนาต่าง ๆ ขึ้นอยู่กับความสัมพันธ์ของมนุษยชาติ ด้วยการเคารพซึ่งกันและกัน ความจริงใจ การแลกเปลี่ยนความคิดเห็น การเคารพในศักดิ์ศรีที่ละเมิดไม่ได้ของมนุษย์แต่ละคน และความร่วมมือซึ่งกันและกัน

#การนับถือศาสนาที่แท้จริง (Authentic religiosity)

“อาไบ” (Abai, 1845-1904) กวีผู้มีชื่อเสียงของคาซัคสถาน และเป็นบิดาแห่งวรรณกรรมสมัยใหม่ ได้อุทิศชีวิตของตนเองเพื่อศาสนาอย่างลึกซึ้ง และแสดงให้เห็นถึงจิตวิญญาณอันสูงส่งของชนชาตินี้ บ่อยครั้งที่ท่านได้ถามคำถามเกี่ยวกับชีวิตและความหมายของการฝึกฝนทางด้านจิตวิญญาณ สิ่งเหล่านี้ทำให้จิตวิญญาณมีชีวิตชีวาและจิตใจที่แจ่มใส ทำให้เกิดการคิดไตร่ตรองถึงการนับถือศาสนาที่แท้จริง

การนับถือศาสนาที่เคร่งครัดเกินไป หรือปฏิบัติแค่ตามตัวอักษร ทำให้เกิดความมัวหมองและบ่อนทำลายทุก ๆ ศาสนา เราจึงต้องควรเปิดใจกว้างและเห็นอกเห็นใจ ความเป็นพี่น้องกันนี้ ทำให้เกิดแรงบันดาลใจเพื่อแก้ปัญหาวิกฤตการณ์ทางการเมือง สังคม เศรษฐกิจ นิเวศวิทยา เพื่อทำให้เกิดสันติภาพ และนิรันดรภาพที่เป็นความต้องการส่วนลึกในจิตใจของแต่ละคน

#เสรีภาพทางศาสนา (Religious freedom)

เป็นเงื่อนไขที่สำคัญสำหรับความเป็นมนุษย์ที่แท้จริง และการพัฒนาอย่างบุรณาการ ทุกคนควรจะมีเสรีภาพที่จะแสดงออกถึงศาสนาที่ตนเองนับถือได้อย่างเสรีในที่สาธารณะ และไม่ถูกบังคับให้นับถือศาสนา

ศาสนาในโลกหลังการแพร่ระบาด ควรมีคุณลักษณะที่สำคัญ 4 ประการ ดังต่อไปนี้ คือ

1. #ความอ่อนแอและความรับผิดชอบ (Vulnerability and responsibility)

ช่วงของการแพร่ระบาดเราเหมือนอยู่ในเรือลำเดียวกัน แสดงให้เห็นถึงความอ่อนแอของเราแต่ละคน การต้องการความช่วยเหลือจากผู้อื่น ความรู้สึกของการเป็นหนึ่งเดียวกัน ซี่งเป็นบทบาทของแต่ละศาสนา ที่จะต้องเป็นผู้นำในสิ่งเหล่านี้  คือ สนับสนุนความเป็นหนึ่งเดียวกันท่ามกลางความท้าทายต่าง ๆ ที่กำลังทำให้ครอบครัวมนุษยชาติแตกแยกออกไป

ซึ่งขึ้นอยู่กับเรา ผู้ที่เชื่อในพระเจ้า ที่จะช่วยเหลือพี่น้องของเราในยุคปัจจุบัน ความรู้สึกถึงความอ่อนแอในช่วงของการแพร่ระบาดนี้ ทำให้เราก้าวเดินไปข่างหน้าร่วมกัน อย่างที่เราไม่เคยทำมาก่อน ซึ่งต้องอาศัยความสุภาพถ่อมตนและการมองไปข้างหน้าร่วมกัน เราควรจะเป็นศิลปินที่สร้างความเป็นหนึ่งเดียวกัน เป็นพยานถึงความร่วมมือ ทางด้านจริยธรรม ความเป็นหนึ่งเดียวกันในชาติและศาสนา เริ่มต้นด้วยการฟังเสียของคนยากจน ผู้ที่ถูกลืม และไม่เคยได้รับความช่วยเหลือ

2. #ความท้าทายของสันติภาพ (Challenge of Peace)

ท่ามกลางสงครามและการแพร่ระบาด โลกต้องการการก้าวไปข้างหน้า หากทุกศาสนารวมตัวกันเพื่อสร้างสันติภาพ อาศัยการเคารพซึ่งกันและกัน และการแลกเปลี่ยนความคิดเห็นอย่างรับผิดชอบ เพราะพระเจ้าคือองค์สันติภาพ พระองค์ทรงนำเราให้อยู่บนหนทางแห่งสันติภาพเสมอ ไม่ใช่สงคราม หากเราแต่ละคนมุ่งมั่นและอุทิศตนเอง เพื่อที่จะแก้ไขปัญหาความขัดแย้งต่าง ๆ ที่มีอยู่ในโลก มิใช่ด้วยอำนาจ อาวุธ หรือการคุกคาม แต่ด้วยการเผชิญหน้า การเสวนา และความอดทนในการเสวนาร่วมกัน

หากเรามองไปยังเด็ก ๆ และคนรุ่นต่อไป เราจะส่งต่อหรือมองอะไรให้กับพวกเขา หรือเพื่อพวกเขา อาวุธหรือการศึกษา!!!

3. #การยอมรับว่าเรานั้นเป็นพี่น้องกัน (Fraternal acceptance)

ในโลกของเราทุกวันนี้มีเด็กที่ได้เกิดมา และเด็กที่ไม่มีโอกาสที่จะได้เกิดมา ผู้อพยพลี้ภัย ผู้สูงอายุ ผู้ที่ถูกผลักไสให้หลบออกไป เป็นหน้าที่ของศาสนาที่จะต้องเตือนชาวโลกว่า มนุษย์ทุกคนล้วนเป็นผู้ศักดิ์สิทธิ์

การอพยพครั้งใหญ่ในโลกยุคปัจจุบันเกิดจากสงคราม ความยากจน และสภาพอากาศที่เปลี่ยนแปลงไป เราต้องมีจิตสำนึกว่า องค์พระผู้สร้างกำลังมองอยู่เหนือสิ่งสร้างแต่ละสิ่งของพระองค์อยู่ ทรงเตือนราให้เคารพสิ่งสร้างอื่น ๆ เหมือนที่พระองค์ทรงกระทำ และสิ่งต่าง ๆ เหล่านี้ ทำให้เราได้เห็นใบหน้าพี่น้องของเรา

ให้เราได้ค้นพบศิลปะแห่งการต้อนรับ การยอมรับกันและกัน ความรักความเมตตา ความเห็นอกเห็นใจผู้อื่น ซึ่งจะทำให้เราเป็นมนุษย์ที่ดีขึ้นและเป็นผู้ที่มีความเชื่อมากขึ้น

4. #ใส่ใจบ้านส่วนรวม (Care for our common home)

เราควรปกป้องสิ่งแวดล้อมทางธรรมชาติ จากความเสียหายที่เราเป็นต้นเหตุที่ทำให้เกิดมลภาวะ ความเห็นแก่ตัว และความสุรุ่ยสุร่ายในการใช้ทรัพยากรต่าง ๆ ความเห็นก่ตัวได้ทำลายบ้านส่วนรวมของเรามากที่สุด ทำให้เราไม่เคารพในสิ่งสร้างต่าง ๆ และลืมวัตถุประสงค์ขององค์พระผู้สร้าง

#ก้าวไปข้างหน้าด้วยกัน (Going forward together)

การเดินทางของแต่ละศาสนา จะทำให้เกิดมิตรภาพร่วมกันมากยิ่งขึ้น

ขอพระผู้ทรงสรรพานุภาพ ช่วยทำให้เราบ่มเพาะมิตรภาพที่เปิดออกและความเป็นพี่น้องกัน โดยอาศัยการเสวนาด้วยความสม่ำเสมอและจริงใจ ไม่เสแสร้ง หรือยอมรับทุกสิ่งทุกอย่างเข้ามาปะปนกันโดยไม่แยกแยะให้ถูกต้อง แต่เสริมสร้างอัตลักษณ์ของเราแต่ละคนอย่างมั่นคง ยอมรับในความแตกต่างของบุคคลอื่น และสร้างความเป็นพี่น้องกัน หากเรากระทำสิ่งต่าง ๆ เหล่านี้ ในช่วงเวลาแห่งความมืดมืดเราจะมีชีวิตอยู่ และเราจะฉายแสงขององค์พระผู้สร้างออกมา...

สถิติการเยี่ยมชม

10487076
Today
Yesterday
This Week
Last Week
This Month
Last Month
All days
1509
3833
8052
10448190
8052
124638
10487076
Your IP: 3.145.115.139
Server Time: 2024-12-03 03:16:17

แบบฟอร์ม

instagram

พระศาสนจักร


สื่อ YOUTUBE


Laudato si’

บทเรียนคำสอน





บทภาวนา

พิธีกรรมต่างๆ

เอกสารพระศาสนจักร

บทความคำสอน



KAMSONCHAN

 

   องค์กรคาทอลิก              คณะนักบวช  
 

สภาพระสังฆราชคาทอลิกแห่งประเทศไทย
คณะกรรมการคาทอลิกเพื่อคริสตศาสนธรรม
แผนกคริสตศาสนธรรม
อัครสังฆมณฑลกรุงเทพฯ
ศูนย์คริสตศาสนธรรม อัครสังฆมณฑลกรุงเทพฯ
สังฆมณฑลจันทบุรี
คณะรักกางเขนแห่งจันทบุรี
มูลนิธิสงเคราะห์เด็ก พัทยา
คามิลเลียนโซเชียลเซนเตอร์ ระยอง

  สังฆมณฑลนครราชสีมา                       
ศูนย์คริสตศาสนธรรม สังฆมณฑลนครราชสีมา
สังฆมณฑลอุบลราชธานี
ศูนย์คริสตศาสนธรรม สังฆมณฑลอุบลราชธานี   
สังฆมณฑลราชบุรี
ศูนย์คริสตศาสนธรรม สังฆมณฑลราชบุรี
ศูนย์คริสตศาสนธรรม สังฆมณฑลราชบุรี
สังฆมณฑลนครสวรรค์
สังฆมณฑลเชียงใหม่
  สังฆมณฑลสุราษฎ์ธานี
สังฆมณฑลอุดรธานี
ศูนย์คริสตศาสนธรรม สังฆมณฑลอุดรธานี

สภาการศึกษาคาทอลิกประเทศไทย
คณะกรรมการคาทอลิกเพื่อความยุติธรรมและสันติ (ยส.)
คณะกรรมการคาทอลิกเพื่อพระคัมภีร์
คณะกรรมการคาทอลิกเพื่อสุขภาพอนามัย
สื่อมวลชนคาทอลิกประเทศไทย
สื่อมวลชนคาทอลิกประเทศไทย (อุดมสาร)
  ชมรมอธิการิณีเจ้าคณะนักบวชแห่งประเทศไทย
คณะภคินีเซนต์ปอลเดอร์ชาร์ต
คณะภคินีศรีชุมพาบาล       
คณะพระมหาไถ่แห่งประเทศไทย
คณะเซนต์คาเบรียล
คณะซาเลเซียน
คณะซาเลเซียน (ซิสเตอร์)
กางเขนแดงสาร

 



JSN Megazine template designed by JoomlaShine.com