#คาซัคสถานประเทศแห่งการเผชิญหน้า (Kazakhstan, a 'country of encounter')
เมื่อวันพุธที่ 21 กันยายน 2022 โอกาสการเข้าเฝ้าทั่วไป พระส้นตะปาปาฟรังซิสทรงกล่าวถึงประสบการณ์การเดินทางของพระองค์ไปยังสาธารณรัฐคาซัคสถานเมื่อสัปดาห์ที่แล้ว (13-15 กันยายน) เพื่อร่วมประชุมผู้นำโลกและผู้นำศาสนาดั้งเดิม ครั้งที่ 7, เพื่อส่งเสริมความเป็นหนึ่งเดียวกันและสันติภาพ ณ กรุงนูร์-ซุลตัน
#ผลจากความเชื่อ (The fruits of faith)
คริสตชนคาทอลิกในคาซัคสถาน ถึงแม้ว่าจะมีจำนวนน้อยประมาณ 1% ท่ามกลางพี่น้องมุสลิม 70% และอีก 25% เป็นคริสตชนรัสเซียออร์ธอด็อก แต่เป็นชุมชนแห่งความสุข ความชื่นชมยินดี และกระตือรือร้น การดำเนินชีวิตในความเชื่อของพวกเขา ทำให้การประกาศข่าวดีบังเกิดผล ประการแรก คือความสุขเล็ก ๆ น้อย ๆ ของการเป็นเชื้อแป้งให้กับสังคม เป็นเกลือดองแผ่นดิน และแสงสว่างส่องโลก ในการมีพระเจ้าเป็นที่พึ่งและความไว้วางใจ ซี่งไม่ได้พึ่งพาแต่มนุษย์เพียงลำพังเท่านั้น
คริสตชนคาทอลิกในคาซัคสถาน จึงควรสร้างสัมพันธ์อันดีกับคริสตชนนิกายอื่น ๆ รวมถึงการเป็นพี่น้องกันระหว่างพี่น้องที่นับถือศาสนาอื่น ๆ เป็นแกะฝูงเล็ก ๆ ที่ไม่ได้ปิดหรือป้องกันตนเองตัวเอง แต่เปิดไปสู่ผู้อื่น อาศัยความไว้วางใจในพระจิตเจ้า ผู้จะทรงพัดพาเราไปในที่ต่าง ๆ ที่พระองค์มีพระประสงค์
#มรณสักขีแห่งความเชื่อ (Martyrs of the faith)
ในแผ่นดินนี้มีมรณสักขีชายหญิงจำนวนมาก ที่ได้รับความทุกข์ทรมานเพราะความเชื่อ ระหว่างช่วงเวลาแห่งการเบียดเบียนอันยาวนาน ซึ่งระหว่างพิธีบูชาขอบพระคุณร่วมกันระหว่างพระสันตะปาปาฟรังซิสและคริสตชนชาวคาซัคสถาน เมื่อวันที่ 14 กันยายน 2022 ที่ผ่านมา ถึงแม้จะมีคนมาร่วมไม่มาก แต่เป็นการแสดงออกถึงการเป็นฝูงแกะที่มีความสุข
#กางเขนของพระคริสต์คือสมอเรือของเราที่ไม่เคยทำให้เราสูญเสียความหวัง (The Cross of Christ, our anchor and never-disappointing hope)
"ในโลกที่มีทั้งความก้าวหน้าและการถดถอยเชื่อมโยงกัน ไม้กางเขนของพระเยซูเจ้ายังคงเป็นสมอเรือแห่งความรอด: เป็นเครื่องหมายแห่งความหวังที่ไม่ทำให้ผิดหวัง เพราะมีรากฐานมาจากความรักของพระเจ้า ความเมตตา และความสัตย์ซื่อ"
“ข้าพเจ้าขอบคุณบรรดาบิชอป และผู้ร่วมงานทุกคน สำหรับกิจการงานทั้งหลายที่พวกคุณทำระหว่างการเดินทางของข้าพเจ้า โดยเฉพาะอย่างยิ่ง ความสุขความทรงจำที่พวกคุณได้มอบให้กับข้าพเจ้า ที่ทำให้ข้าพเจ้าได้พบปะกับพวกคุณทุกคน”
#สร้างโลกใหม่ที่ทุกคนเคารพซึ่งกันและกัน (Building a world of respecting each other)
สำหรับการประชุมผู้นำโลกและผู้นำศาสนาดั้งเดิม ที่จัดขึ้นมายาวนานกว่า 20 ปี โดยเจ้าหน้าที่บ้านเมืองของคาซัคสถาน ที่ทำให้ชาวโลกได้เห็นสถานที่แห่งการพบปะและเสาวนาร่วมกัน เพื่อส่งเสริมสันติภาพและความเป็นพี่น้องหนึ่งเดียวกัน เป็นความพยายามที่จะสร้างโลกใหม่ ที่ทุกคนรับฟังซึ่งกันและกัน ด้วยความเคารพในความแตกต่างอันหลากหลาย
#ต้องให้การยกย่อง (Credit must be given)
จากเอกสารสุดท้ายของการเสวนา ทำให้เกิดการยืนยันที่จะยังคงใช้เอกสารดั้งเดิม ที่ได้ลงนามไว้เมื่อเดือนกุมภาพันธ์ ปี 2019 ที่กรุงอาบุดาบี สหรัฐอาหรับเอมิเรตส์ เรื่อง “ความเป็นพี่น้องของมนุษยชาติ”อย่างต่อเนื่อง อันเป็นผลมาจากการเดินทางที่ยาวไกล จากการประชุมผู้นำศาสนาต่าง ๆ เพื่อสันติภาพ สมัยนักบุญพระสันตะปาปายอห์นปอลที่ 2 ที่เมืองอัสซีซี ประเทศอิตาลี เมื่อปี 1986 รวมถึงสายตาอันยาวไกลของนักบุญพระสั้นตะปาปายอห์นที่ 23, นักบุญพระสันตะปาปาเปาโลที่ 6, และมหาบุรุษมหาตมะ คานธี
#การระลึกถึงนักบุญมรณสักขีจำนวนมากมาย (Remembering the many martyrs)
ข้าพเจ้านึกถึงบรรดานักบุญมรณสักขีจำนวนมาก ทั้งชายและหญิง ทุกวัย ทุกภาษา และทุกชนชาติ ผู้ได้มอบชีวิตของพวกเขาเพื่อยืนยันถึงความเชื่อที่มีต่อพระเจ้าแห่งสันติภาพและความเป็นพี่น้องหนึ่งเดียว พวกเขาเหล่านั้นเป็นพยานยืนยันที่เป็นรูปธรรม ที่อุทิศชีวิตของตนเองเพื่อโลกที่ดีกว่าเดิมสำหรับทุกคน
ท่ามกลางความแตกต่างหลากหลายของพลเมืองใประเทศ ที่มีกลุ่มชาติพันธ์มากกว่า 150 ชนเผ่า มีภาษามากกว่า 80 ภาษา ความหลากหลายของอาชีพและดำรงชีพอันเนื่องมาจากสภาพภูมิศาสตร์และประวัติศาสตร์ แต่ผู้คนก็อยู่ร่วมกันอย่างสันติ อาศัยการเปิดใจต้อนรับซึ่งกันและกัน การเคารพ การให้เกียรติ ซึ่งสมควรได้รับการส่งเสริมและสนับสนุนต่อไป
#คาซัคสถานเป็นแบบอย่างที่ดีของประเทศที่ไม่ใช้อาวุธนิวเคลียร์ (Kazakhstan's best practices and example - a 'no' to nuclear weapons)
ต้องขอชื่นชมประเทศคาซัคสถานที่ปฏิเสธอาวุธนิวเคลียร์ และกำหนดนโยบายด้านพลังงานและสิ่งแวดล้อมได้อย่างดี
ขอบคุณพระเจ้าสำหรับการเดินทางอภิบาลในต่างประเทศในครั้งนี้ ให้เราอธิษฐานภาวนาเพื่อผลดีที่จะได้บังเกิดขึ้น และสำหรับชีวิตของพระศาสนจักรแห่งการเดินทางในประเทศคาซัคสถานด้วย...