Homeบทความบทความ :: คุณพ่อนุพันธุ์ ทัศมาลีก้าวไปกับโป๊ปก้าวไปกับโป๊ป #148 : การทำงานเพื่อทวีปเอเชียที่ดีกว่า

ก้าวไปกับโป๊ป #148 : การทำงานเพื่อทวีปเอเชียที่ดีกว่า

การทำงานเพื่อทวีปเอเชียที่ดีกว่า ('Working for a better Asia')

สัปดาห์แรกของการประชุมสหพันธ์สภาบิชอปแห่งเอเชีย (FABC50) ณ บ้านผู้หว่าน อ.สามพราน จ.นครปฐม ระหว่างวันที่ 12-18 ตุลาคม 2022 บรรดาผู้เข้าร่วมประชุมได้ร่วมกันไตร่ตรองว่า จะทำอย่างไรถึงจะนำความหวังไปสู่โลกยุคปัจจุบัน

เมื่อวันพุธที่ 12 ตุลาคม 2022 ได้มีพิธีบูชาขอบพระคุณเปิดการประชุม โดยมีตัวแทนจาก 29 ประเทศในทวีปเอเชีย ที่จะประชุมร่วมกันไปจนถึงวันอาทิตย์ที่ 30 ตุลาคม 2022 อีกทั้งยังเป็นโอกาสฉลอง 50 ปีแห่งการก่อตั้งสหพันธ์อีกด้วย ในหัวข้อ “ก้าวเดินทางไปด้วยกันดังประชาชาติแห่งทวีปเอเชีย”

ศตวรรษแห่งข่าวดีของเอเชีย (Century of Good News to Asia)

พระคาร์ดินัลชาร์ล หม่อง โบ (Cardinal Charles Maung Bo, FABC President) ประธานสหพันธ์ฯ ได้กล่าวในพิธีเปิดการประชุม เมื่อวันที่ 12 ตุลาคม 2022 ที่ผ่านมาว่า “การประชุมในครั้งนี้เปรียบได้กับช่วงเวลาที่พระจิตเจ้าได้เสด็จลงมา และเป็นช่วงเวลาแห่งความรุ่งโรจน์ของทวีปเอเชีย

พระคาร์ดินัลโบได้เรียกร้องให้ศิษย์ของพระคริสต์ชาวเอเชีย ได้ก้าวเดินต่อไปอย่างต่อเนื่อง ตามรอยเท้าของอดีตผู้แพร่ธรรมอันยิ่งใหญ่ คือ นักบุญโทมัส อัครสาวก, นักบุญฟรังซิสเซเวียร์ และนักบุญชายหญิงอีกมากมายนับไม่ถ้วน ผู้ที่ยอมเสียสละชีวิตของตนเอง ทุ่มเท ให้กับพันธกิจการประกาศข่าวดี แบบบูรณาการไปสู่มิติด้านต่าง ๆ พันธกิจต่อไปในทวีปเอเชีย คือการทำให้ศตวรรษนี้ เป็นการประกาศพระเยซูเจ้าให้กับชาวเอเชียทั้งหมด

การทำงานเพื่อทวีปเอเชียที่ดีกว่าเดิม Working for a better Asia)

พระคาร์ดินัลออสวาล์ด กราเซียส (Cardinal Oswald Gracias) ประธานการจัดการประชุมในครั้งนี้ และอดีตประธานสหพันธ์ฯ ได้กล่าวในพิธีการเปิดการประชุมในวันเดียวกัน เรียกร้องให้การประชุมในครั้งนี้ ถือเป็นก้าวเดินและหลักชัยที่สำคัญของสหพันธ์ฯ

การมาร่วมกันของสมาชิกสหพันธ์ เป็นจิตตารมณ์แห่งการก้าวเดินไปด้วยกัน ต่อเนื่องมาจากการประชุมครั้งที่ 11 ที่ผ่านมา (2016) ซึ่งได้รับแรงบันดาลใจและรูปแบบในการจัดการประชุม มาจากสหพันธ์สภาบิชอปแห่งลาตินอเมริกา (ทวีปอเมริกาใต้)

พระสันตะปาปาฟรังซิสเองทรงมีความสนใจเมื่อพระคาร์ดินัลกราเซียสได้กล่าวถึงวัตถุประสงค์การจัดงานในกับพระองค์ฟัง พระองค์ให้กำลังใจและสน้บสนุนอย่างเต็มกำล้งสำหรับการประชุมในครั้งนี้ โดยพระคาร์ดินัลกราเซียส ได้กำหนดให้สัปดาห์แรกของการประชุมในครั้งนี้ ให้เป็น “การมองดูและวิเคราะห์หนทางใหม่สำหรับพระศาสนจักร เพื่อที่จะได้ทำให้ทวีปเอเชียได้ดีขึ้นกว่าเดิม”

การเยี่ยมชมทวีปเอเชีย (Visiting Asia)

แต่ละวันในสัปดาห์ได้ถูกเริ่มต้นด้วยการสวดภาวนาเช้าร่วมกัน โดยตัวแทนของแต่ละประเทศเป็นผู้นำสวด เป็นต้น คณะนักบวชหญิง “ธิดานักบุญเปาโล” (Daughters of St. Paul) จากประเทศอินเดีย ปากีสถาน และฟิลิปปินส์

จากนั้นตัวแทนจากประเทศต่าง ๆ ในทวีปเอเชีย ได้รายงานต่อที่ประชุมถึงความเป็นจริงต่าง ๆ ที่กำลังเกิดขึ้นในเขตประเทศของตน ทั้งในเรื่องทั่ว ๆ ไป และความแตกต่างที่เกิดขึ้น

การเยี่ยมชมโลก (Visiting the world)

เมื่อวันศุกร์ที่ 14 ตุลาคม 2022 นายอลอยเซียส จอห์น (Aloysius John) เลขาธิการองค์กรคาริตัสสากล (Caritas Internationalis’ Secretary General) เป็นตัวแทนในการนำเสนอภาพรวมของการทำงานขององค์กรคาริตัสในทวีปเอเชีย ความท้าทายที่กำลังเผชิญหน้า และบทบาทของเครื่องข่ายในการทำงานในพระศาสนจักร

อาร์คบิชอป กรูซาส (Archbishop Grusas) เป็นตัวแทนจากภาคียุโรป ได้นำเสนอข้อมูลภาพรวมของพระศาสนจักรในทวีปยุโรป รวมถึงความท้าทายต่าง ๆ ที่กำลังเกิดขึ้น นอกจากนั้นแล้ว ยังมีตัวแทนจากสหพันธ์สภาบิชอปแห่งสหรัฐอเมริกา ได้แสดงความคิดเห็นต่อที่ประชุมในวันเสาร์ที่ 15 ตุลาคม

นอกจากนั้นแล้วยังมี ดร.กาเบรียล ดี-ลีอาโก (Dr. Gabriel Dy-Liacco) ประธานสถาบันการป้องกันของพระศาสนจักรคาทอลิก (the Catholic Safeguarding Institute) และ มงซินญอร์ รามอน มาสคูรีโน่ จูเนียร์ (Msgr. Ramon Masculino Junior) ผู้เชี่ยวชาญด้านชีวิตจิตแห่งการปกป้อง (safeguarding spirituality) ได้นำเสนอการทำงานของสถาบัน และความเร่งด่วนที่เกิดขึ้นในประเทศต่าง ๆ ที่จะต้องรีบดำเนินการ

การปราศรัยที่เสมือนจริง (Virtual Talk Show)

พระคาร์ดินัลวิลเลียม โกห์ (Cardinal William Goh) ซึ่งพึ่งได้รับการแต่งตั้งให้เป็นพระคาร์ดินัลในเร็ว ๆ นี้ ได้เป็นประธานในพิธีบูชาขอบพระคุณในวันอาทิตย์ที่ 16 ตุลาคม 2022 ได้เน้นย้ำความสำคัญของการสวดภาวนา และการก้าวเดินไปด้วยกันระหว่างพระสงฆ์และฆราวาสในบทเทศน์ของพระองค์

หลังจากพิธีบูชาขอบพระคุณจบแล้ว เป็นการรายงานสภาพความเป็นจริงของการทำงานของสหพันธ์ฯ โดยมีตัวแทน 16 คน จาก 13 ประเทศได้รายงานผ่านทางเทปที่ได้บันทึกไว้ บิชอปออลวิน ดิซิลวา (Bishop Allwyn D’Silva) ได้นำที่ประชุมได้ไตร่ตรองว่า “มีใครบ้างที่สามารถเป็นเพื่อนบ้านหรือเพื่อนพี่น้องของเรา?”

การไตร่ตรองด้านงานอภิบาลต่อหัวข้อการประชุมต่างๆ (Pastoral reflection on current themes)

เมื่อวันจันทร์ที่ 17 ตุลาคม 2022 บิชอปเจอรัลด์ แมทเธียส (Bishop Gerald Matthias) และคุณพ่อเหงียน ไฮ ทินห์ พระสงฆ์คณะเยสุอิต (Fr Nguyen Hai Tinh, SJ) ได้กล่าวถึงชีวิตของพระศาสนจักรหลังการแพร่ระบาดว่า พระศาสนจักรได้รับความเจ็บปวด ทุกข์ทรมาน และเปลี่ยนแปลง แต่เป็นพระศาสานจักรของพระธรรมล้ำลึกแห่งปัสกา และการก้าวเดินไปด้วยกัน ก้าวไปข้างหน้าเพื่อที่จะเยียวยารักษาและความเป็นหนึ่งเดียวกัน

อันโตนีโอ ลา วิน่า (Antonio La Vina) นักกฎหมาย ได้แบ่งปันวิกฤตต่าง ๆ ที่กำลังเกิดขึ้นในเอเชีย กล่าวถึงความจำเป็นที่พระศาสนจักรจะต้องมีความรู้สึกแห่งการเป็นผู้ดูแล ผู้นำ และลงมือกระทำ ตามสมณสาส์นเรื่องสิ่งแวดล้อม (Laudato Si’) และ เราทุกคนเป็นพี่น้องกัน (Fratelli tutti) และ ฤทิมา ปานเดย (Ms. Ridhima Pandey) นักเคลื่อนไหวด้านสิ่งแวดล้อม ได้กล่าวถึงประเด็นนี้ในมุมมองของเด็ก ๆ และคำแนะนำของพระสันตะปาปาฟรังซิส

สุดท้าย พระคาร์ดินัล ลาซซาโล ยู (Cardinal Lazzaro You) ประธานหน่วยงานของสันตะสำนักเพื่อพระสงฆ์ (Prefect of the Dicastery for Clergy) ได้กล่าวถึงการอบรมสามเณรเพื่อที่จะเป็นพระสงฆ์ โดยมีวัตถุประสงค์ในการตอบคำถามที่ว่า “เพื่อพระศาสนจักรรูปแบบไหน? พระสงฆ์ประเภทอะไร? และ รูปแบบการอบรมแบบใด?”

งานอภิบาลเยาวชนและสตรี (Taking stock of ministering to youth and women)

หัวข้องานอภิบาลเยาวชน ได้ถูกพูดเมื่อวันอังคารที่ 18 ตุลาคม 2022 โดยคุณพ่ออากิระ ทาคายามะ (Fr. Akira Takayama) จิตตาธิการเยาวชนของสังฆมณฑลทากามัตสึ (Diocese of Takamatsu) ประเทศญี่ปุ่น ได้ให้ความสำคัญในเรื่อง “การฟังเสียงของเยาวชน” การอภิบาลเยาวชนไม่ใช่การทำงานแบบคณะทำงาน (taskforce) อย่างเป็นทางการ ผู้นำพระศาสนจักรจะต้องให้คำแนะนำฝ่ายจิตวิญญาณ และมีจิตเมตตาเพื่อที่จะช่วยให้เยาวชนเหล่านั้นเติบโต

แอนโธนี่ จูดี้ (Anthony Judy) และ อชิตา จิมมี่ (Ashita Jimmy) เป็นตัวแทนเยาวชน 2 คน ที่ได้แบ่งปันประสบการณ์ให้กับผู้เข้าร่วมประชุม ถึงการทำสมัชชาเรื่องเยาวชนที่ได้จัดขึ้นเมื่อ 5 ปีที่แล้ว เป็นช่วงเวลาแห่งการทบทวนและพิจารณาว่าพระศาสนจักรได้ทำให้ก้าวหน้าอย่างไรบ้าง ส่วน เกรกอรี่ ปราวิน (Gregory Pravin) ตัวแทนเยาวชนอีกคนหนึ่ง ได้ให้คำแนะนำต่อผู้นำพระศาสนจักรว่า “เยาวชนไม่อยู่ในพระศาสนจักร” หรือว่า “พระศาสนจักรไม่อยู่ในเยาวชน”

นักเทววิทยาหญิงหลายคนได้แบ่งปันเนื้อหาและเบื้องหลังของความท้าทายต่าง ๆ ต่อบรรดาสตรีในทวีปเอเชีย การเลือกปฏิบัติ ความเกลียดชังผู้หญิง สองมาตรฐาน ความเหลื่อมล้ำทางรายได้ และความรุนแรงในครอบครัว

คริสติน นาธาน (Christine Nathan) ประธานคณะกรรมการผู้ลี้ภัยคาทอลิกนานาชาติ (the International Catholic Migration Commission) ได้กล่าวถึงเรื่องการอพยพว่าถือเป็น “เรื่องใหญ่” เธอได้ให้คำแนะนำแก่พระศาสนจักรหลายประการ ที่จะสามารถแก้ปัญหาต่าง ๆ เหล่านี้ได้อย่างได้ผล

ซิสเตอร์แอ๊บบี้ อเวลิโน (Sr. Abby Avelino) ผู้ประสานงานทาลิทาคุมภาคพื้นเอเชีย ได้นำเสนอเครือข่ายการทำงานในระดับรากหญ้าเพื่อที่จะสร้างความตระหนึกถึงปัญหาเหล่านี้ รวมถึง การป้องกันและการเยียวยารักษา บรรดาเหยื่อที่เกิดจากปัญหาการค้ามนุษย์

พระคาร์ดินัลวินเซนต์ นิโคลส์ (Cardinal Vincent Nichols) ประธานสภาบิชอปแห่งอังกฤษ ได้ส่งวีดีโอข้อความมายังที่ประชุม เพื่อให้กำลังใจบรรดาผู้เข้าร่วมประชุม ให้อุทิศเวลาและความพยายามให้มากที่สุด เพื่อที่จะหยุดปัญหาการค้ามนุษย์

การจบด้วยความหวัง (Ending on Hope)

วันอังคารที่ 18 ตุลาคม 2022 จงลงด้วยการไตร่ตรองสมณสาส์นของพระสันตะปาปาเรื่องเราทุกคนเป็นพี่น้องกัน (Fratelli tutti) โดยอาร์คบิชอปทาร์ซิซิโอ อิซาโอะ คิคุจิ (Archbishop Tarcisio Isao Kikuchi) อดีตประธานคาริสตัสแห่งทวีปเอเชีย ท่านได้กล่าวถึงการพึ่งพาอาศัยกันและกัน ความผสานกลมกลืน และความเป็นหนึ่งเดียวกัน โดยนำสมาชิกในที่ประชุมไตร่ตรองร่วมกันถึงสิ่งที่จะสามารถทำได้ เพื่อให้เกิดความหวังในสังคมโลกปัจจุบัน ...

รายงานโดยซิสเตอร์บอร์นาเด็ตต์ แมรี่ เรอีส (Sr. Bernadette Mary Reis, fsp) ใน www.vaticannews.va

สถิติการเยี่ยมชม

9731309
Today
Yesterday
This Week
Last Week
This Month
Last Month
All days
2029
1887
8976
9695780
47700
169976
9731309
Your IP: 18.118.165.24
Server Time: 2024-05-16 21:40:15

แบบฟอร์ม

instagram

พระศาสนจักร


สื่อ YOUTUBE


Laudato si’

บทเรียนคำสอน





บทภาวนา

พิธีกรรมต่างๆ

เอกสารพระศาสนจักร

บทความคำสอน



KAMSONCHAN

 

   องค์กรคาทอลิก              คณะนักบวช  
 

สภาพระสังฆราชคาทอลิกแห่งประเทศไทย
คณะกรรมการคาทอลิกเพื่อคริสตศาสนธรรม
แผนกคริสตศาสนธรรม
อัครสังฆมณฑลกรุงเทพฯ
ศูนย์คริสตศาสนธรรม อัครสังฆมณฑลกรุงเทพฯ
สังฆมณฑลจันทบุรี
คณะรักกางเขนแห่งจันทบุรี
มูลนิธิสงเคราะห์เด็ก พัทยา
คามิลเลียนโซเชียลเซนเตอร์ ระยอง

  สังฆมณฑลนครราชสีมา                       
ศูนย์คริสตศาสนธรรม สังฆมณฑลนครราชสีมา
สังฆมณฑลอุบลราชธานี
ศูนย์คริสตศาสนธรรม สังฆมณฑลอุบลราชธานี   
สังฆมณฑลราชบุรี
ศูนย์คริสตศาสนธรรม สังฆมณฑลราชบุรี
ศูนย์คริสตศาสนธรรม สังฆมณฑลราชบุรี
สังฆมณฑลนครสวรรค์
สังฆมณฑลเชียงใหม่
  สังฆมณฑลสุราษฎ์ธานี
สังฆมณฑลอุดรธานี
ศูนย์คริสตศาสนธรรม สังฆมณฑลอุดรธานี

สภาการศึกษาคาทอลิกประเทศไทย
คณะกรรมการคาทอลิกเพื่อความยุติธรรมและสันติ (ยส.)
คณะกรรมการคาทอลิกเพื่อพระคัมภีร์
คณะกรรมการคาทอลิกเพื่อสุขภาพอนามัย
สื่อมวลชนคาทอลิกประเทศไทย
สื่อมวลชนคาทอลิกประเทศไทย (อุดมสาร)
  ชมรมอธิการิณีเจ้าคณะนักบวชแห่งประเทศไทย
คณะภคินีเซนต์ปอลเดอร์ชาร์ต
คณะภคินีศรีชุมพาบาล       
คณะพระมหาไถ่แห่งประเทศไทย
คณะเซนต์คาเบรียล
คณะซาเลเซียน
คณะซาเลเซียน (ซิสเตอร์)
กางเขนแดงสาร

 



JSN Megazine template designed by JoomlaShine.com