เสียงของนักบวชหญิงในการประชุมสหพันธ์สภาบิชอปแห่งเอเชีย (The voice of women religious at FABC General Conference)
มีนักบวชหญิงจำนวน 6 คน ที่ได้เข้าร่วมการประชุมสามัญครั้งที่ 12 ของสหพันธ์สภาบิชอปแห่งเอเชีย ณ อ.สามพราน จ.นครปฐม ได้กล่าวถึงความสำคัญที่ได้รับโอกาสให้เข้าร่วมประชุมในครั้งนี้ เพราะว่าพวกเธอเป็นตัวแทนของผู้ยากจน คนกลุ่มน้อย ผู้อ่อนแอ และบุคคลทั่วไปในภูมิภาคต่าง ๆ
เราต้องการพวกเขาให้ได้ยินเสียงของเรา (We want them to hear our voice)
มาเซอร์เปาลา (Sr. Paula) จากคณะเซนต์ปอลเดอชาร์ต (Sister of St Paul of Chartre) เป็นตัวแทนของทาลิทาคุม (Talitha Kum: องค์กรศาสนาเพื่อต่อต้านการค้ามนุษย์และปกป้องสิทธิสตรี) แห่งประเทศไทย ได้กล่าวถึงความสำคัญของนักบวชหญิงที่ได้เข้าร่วมประชุมในครั้งนี้ เพราะพวกเธอทำงานเพื่อต่อต้านการค้ามนุษย์ เธอต้องการให้พระศาสนจักรได้ยินเสียงของพวกเธอ เพื่อมีส่วนร่วมและสนับสนุนกิจกรรมของพวกเธอ
มาแมร์ ฟรองซัวส์ (Sr Françoise) จากคณะเซนต์ปอลเดอชาร์ตเช่นเดียวกัน ที่ได้ทำงานต่อต้านการค้ามนุษย์ในประเทศไทย เธอต้องการให้บรรดาบิชอปได้รับรู้เรื่องราวต่าง ๆ เกี่ยวกับปัญหาการค้ามนุษย์ และยอมรับการทำงานในสังฆมณฑลของท่าน เพื่อที่พวกท่านจะได้ช่วยเยียวยาบาดแผลของผู้ที่เป็นเหยื่อจากการค้ามนุษย์
เรามีบทบาทสำคัญในการประกาศข่าวดี (We have a vital role in evangelization)
ซิสเตอร์ดีนน่า (Sr. Deanna) จากคณะแม่พระยกขึ้นสวรรค์ เป็นมิชชันนารีชาวฟิลิปปินส์ที่ทำงานในประเทศไทย เธอได้เข้าร่วมประชุมในครั้งนี้ในนามของเลขานุการแผนกชีวิตผู้ถวายตน (นักบวช) เธอรู้สึกว่าบรรดาบิชอปได้ให้ความสำคัญกับบรรดานักบวช โดยเฉพาะนักบวชหญิง ที่มีบทบาทสำคัญในการประกาศข่าวดี
โดยเฉพาะอย่างยิ่งการสร้างความสัมพันธ์ระหว่างนักบวชด้วยกัน ทั้งนักบวชชายและนักบวชหญิง การมาอยู่ที่นี่ของเธอ ได้ทำให้บรรดาบิชอปได้ยินเสียงของพวกเธอ และให้ความสำคัญกับนักบวชหญิง
การมาอยู่ที่นี่ได้ทำให้เกิดความแตกต่าง (My presence is making a difference)
ซิสเตอร์ โจยานนา ดีซูซา (Sr Joeyanna D’Souza) จากคณะธิดานักบุญเปาโล (Daughter of St. Paul) ชาวอินเดีย ผู้ที่ทำงานประกาศข่าวดีผ่านช่องทางสื่อสารมวลชนต่าง ๆ การมาร่วมประชุมในครั้งนี้เธอได้มีโอกาสสร้างความแตกต่าง ได้แบ่งปันอย่างดีที่สุดของการเป็นทูตสวรรค์แห่งการสื่อสารสังคมและดิจิทัลต่อที่ประชุม
เราสามารถแบ่งปัน เรามีข้อแนะนำ (We can contribute, we have ideas)
ซิสเตอร์วีล (Sr Whel) จากคณะพระผู้ไถ่ (Sisters of the Divine Savior) ชาวฟิลิปปินส์ เธอเชื่อว่าการมาร่วมประชุมในครั้งนี้ บรรดาบิชอปได้ฟังเสียงของเธอ เธอต้องการที่จะแสดงออกถึงความเป็นจริงของสตรี ไม่ใช่เพียงสถานการณ์ต่าง ๆ ที่เกิดขึ้น สหพันธ์สภาบิชอปไม่ได้เป็นของผู้ชายเท่านั้น แต่เราสามารถแบ่งปัน เพราะเรามีแนวความคิดในด้านต่าง ๆ
ซิสเตอร์วีลทำงานต่อต้านการค้ามนุษย์ด้วยเช่นเดียวกัน เธอต้องการให้บรรดาบิชอป นักบวชชายหญิงทุกคน เป็นพิเศษสำหรับนักบวชหญิงได้ยินเรื่องราวเกี่ยวกับการค้ามนุษย์
ช่องทางแห่งการเปลี่ยนแปลง (Channel for change)
ซิสเตอร์สุธิสา จากคณะธิดาเมตตาธรรมแห่งนายชุมพาบาลในประเทศไทย (Sister of Our Lady of Charity of the Good Shepherd) เป็นผู้ที่ทำงานต่อต้านการค้ามนุษย์ และคนกลุ่มน้อยในสังคม เธอได้มีโอกาสเป็นกระบอกเสียงให้กับผู้ยากจน คนกลุ่มน้อย ผู้ที่อ่อนแอ และบุคคลธรรมดาทั่วไป ในการประชุมครั้งนี้ ซึ่งเป็นช่องทางที่จะทำให้เกิดการเปลี่ยนแปลงในอนาคตอันใกล้ ...