ให้เราพัฒนาศักยภาพในการให้อภัยของเรา (May we improve our capacity to forgive)
โอกาสวันฉลองนักบุญสเทเฟน (St.Steven) พระสันตะปาปาฟรังซิสทรงนำสวดบททูตสวรรค์แจ้งสาร ณ นครรัฐวาติกัน ท่ามกลางผู้แสวงบุญจำนวนมาก ทรงเตือนพวกเขาให้ร่วมพิธีกรรมในช่วงอัฐมวารคริสตมาส หรือการฉลองแปดวันหลังวันคริสต์มาสนี้อย่างดี เพื่อช่วยเราให้ต้อนรับพระองค์อย่างมีความหมายมากยิ่งขึ้น
ช่วงระยะเวลาแห่งการเป็นมรณสักขี (Days of martyrdom)
หลังจากวันพระคริสตสมภพ หรือ 25 ธันวาคม พระศาสนจักรทำการระลึกถึงบรรดามรณสักขีต่าง ๆ คือ วันนี้ วันที่ 26 ธันวาคม ระลึกถึงนักบุญสเทเฟน มรณสักขีองค์แรกของคริสตชน และในวันพุธที่ 28 ธันวาคม ระลึกถึงทารกผู้วิมล ที่ถูกสังหารโดยกษัตริย์เฮโรดเพราะกลัวว่าพระเยซูเจ้าจะแย่งบัลลังก์ของเขาไป
“การอธิษฐานภาวนาดูเหมือนจะต้องการนำเราออกห่างจากโลกของแสงสี อาหารกลางวัน และของขวัญที่เราอาจดื่มด่ำบ้างในทุกวันนี้”
“คริสต์มาสไม่ใช่เทพนิยายของการประสูติของกษัตริย์ แต่เป็นการเสด็จมาของพระผู้ช่วยให้รอด ผู้ซึ่งปลดปล่อยเราจากความชั่วร้ายโดยรับเอาความชั่วร้ายของเราไว้กับตัวของพระองค์เอง ได้แก่ ความเห็นแก่ตัว บาป และความตาย”
การเป็นประจักษ์พยาน (To bear witness)
บรรดามรณสักขีคือผู้ที่มีชีวิตความคล้ายคลึงกับพระเยซูมากที่สุด “คำว่า มรณสักขี หมายถึง พยาน ผู้พลีชีพเพื่อเป็นพยาน นั่นก็คือ บรรดาพี่น้องที่แสดงให้เราเห็นพระเยซูผู้ทรงพิชิตความชั่วร้ายด้วยความเมตตาผ่านทางชีวิตของพวกเขา”
ทุกวันนี้มีผู้พลีชีพมากมาย ขอให้เราทุกคนอธิษฐานภาวนาเพื่อพวกเขาเสมอ ในขณะที่เราพยายามดำเนินชีวิตเพื่อเป็นประจักษ์พยานมากยิ่งขึ้นในตัวของเราเอง แบบอย่างของนักบุญสเทเฟนช่วยเราได้เป็นอย่างมากในเรื่องนี้”
ความรักความเมตตา (Charity)
ในหนังสือกิจการอัครสาวกบอกกับเราว่า นักบุญสเทเฟนเป็นหนึ่งในสังฆานุกรทั้งเจ็ดที่อยู่ในกรุงเยรูซาเล็ม เพื่อช่วยงานสงเคราะห์คนยากจนของพระศาสนจักรในขณะนั้น
นั่นหมายความว่า การเป็นประจักษ์พยานครั้งแรกของเขาไม่ได้บอกเป็นคำพูด แต่ผ่านความรักที่ท่านรับใช้ผู้ที่ต้องการความช่วยเหลือมากที่สุดในขณะนั้น นักบุญสเทเฟนไม่ได้จำกัดตัวเองอยู่แค่งานช่วยเหลือนี้ แต่พูดถึงพระเยซูเจ้าให้กับคนที่ท่านพบด้วย
การให้อภัย (Forgiveness)
มิติที่สองของการเป็นประจักษ์พยานของนักบุญสเทเฟน คือการต้อนรับพระวาจาของพระเจ้า และประกาศความงดงามของพระเจ้า ให้โลกได้รับรู้ว่า พระเยซูคริสตเจ้าได้ทำให้ชีวิตของพวกเขาเปลี่ยนแปลงไปอย่างไร
นอกจากนี้ นักบุญสเทเฟนไม่เคยถูกข่มขู่ คำให้การที่ยิ่งใหญ่ที่สุดของท่านคืองานเมตตาสงเคราะห์และการประกาศข่าวดีเรื่องพระเยซูเจ้า โดยเฉพาะอย่างยิ่ง เมื่อเขาใกล้จะสิ้นใจ เขาได้ให้อภัยแก่ทุกคน เช่นเดียวกับที่พระเยซูเจ้าทรงให้อภัยทุกคนที่ตรึงกางเขนพระองค์
เราควรจะถามตนเองว่า “เราจะสามารพัฒนาการเป็นประจักษ์พยานถึงองค์พระเยซูเจ้า ผ่านทางงานเมตตาสงเคราะห์ต่อเพื่อนพี่น้องของเราให้มากยิ่งขึ้นได้อย่างไร? ทำอย่างไรเราถึงจะซื่อสัตย์ต่อพระวาจาของพระเจ้า? และให้อภัยได้มากยิ่งขึ้น?”
“การให้อภัยจึงเป็นตัวบ่งชี้ถึงความรักความเมตตาที่เราได้กระทำต่อผู้อื่นได้อย่างแท้จริง เป็นเครื่องหมายที่บ่งบอกว่าเราดำเนินชีวิตตามพระวาจาของพระเจ้ามากน้อยเพียงใด”
“ขอให้เราได้นึกถึงความสามารถของเราที่จะให้อภัย ในทุกวันนี้ ซึ่งบางทีเราอาจพบคนจำนวนมากที่เราเข้ากันไม่ได้ คนที่ทำร้ายเรา คนที่เราไม่เคยแก้ไขหรือพัฒนาความสัมพันธ์ที่ดีกับเขา"