Homeบทความบทความ :: คุณพ่อนุพันธุ์ ทัศมาลีก้าวไปกับโป๊ปก้าวไปกับโป๊ป #219 : เทคโนโลยีจะต้องรับใช้มวลมนุษยชาติ

ก้าวไปกับโป๊ป #219 : เทคโนโลยีจะต้องรับใช้มวลมนุษยชาติ

เทคโนโลยีจะต้องรับใช้มวลมนุษยชาติ (Technology must be at the service of humanity)

เมื่อวันจันทร์ที่ 20 กุมภาพันธ์ 2023 พระสันตะปาปาฟรังซิสได้ทรงต้อนรับผู้เข้าร่วมประชุมเชิงปฏิบัติการที่จัดขั้นโดย สถาบันเพื่อชีวิตแห่งสันตะสำนัก (the Pontifical Academy for Life) หัวข้อ “เพื่อความสัมพันธ์ระหว่างบุคคล เทคโนโลยีที่เกิดขึ้นใหม่ และประโยชน์ส่วนรวม” ทรงย้ำว่า ความก้าวหน้าของวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี ต้องนำมาซึ่งศักดิ์ศรีความเป็นมนุษย์ และการพัฒนามนุษย์อย่างบูรณาการเสมอ

การประชุมเชิงปฏิบัติการนี้จัดให้มีขึ้น 2 วัน ระหว่างวันจันทร์ที่ 20 ถึง วันอังคารที่ 21 กุมภาพันธ์ 2023 จากผู้เข้าร่วมประชุมทั่วโลก มุ่งเน้นไปที่แง่มุมทางจริยธรรมของสิ่งที่เรียกว่า "การมาบรรจบกันของเทคโนโลยี" (Converging Technologies) ระหว่างนาโนเทคโนโลยี, เทคโนโลยีชีวภาพ, เทคโนโลยีสารสนเทศ, และวิทยาศาสตร์ความรู้ความเข้าใจ (Nanotechnology, Biotechnology, Information Technology, and Cognitive Science).

พระสันตะปาปาฟรานซิสทรงเน้นถึงความท้าทายสำคัญ 3 ประการในด้านที่ละเอียดอ่อนนี้ว่า “ที่ซึ่งความก้าวหน้า จริยธรรม และสังคมมาบรรจบกัน” และที่ใดที่มี “ความเชื่อเข้ามาเกี่ยวข้อง สิ่งนั้นจะมีคุณประโยชน์อันประเมินค่ามิได้”

ผลกระทบของความก้าวหน้าทางเทคโนโลยีต่อสภาพความเป็นอยู่ของมนุษย์ (The impact of technological advances on human living conditions)

ความท้าทายประการแรกคือ การเปลี่ยนแปลงอย่างรวดเร็วที่เกิดจากความก้าวหน้าทางเทคโนโลยีในสภาพความเป็นอยู่ของมนุษยชาติ อันที่จริง "ความรุนแรงและการเร่งความเร็ว" ของความก้าวหน้าเหล่านี้กำลังส่งผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อมและสภาพความเป็นอยู่ของมนุษย์อย่างไม่เคยปรากฏมาก่อน

"ด้วยผลกระทบและการพัฒนาที่ไม่ชัดเจนและคาดการณ์ได้เสมอไป" ดังที่แสดงให้เห็นโดยวิกฤตการณ์ต่าง ๆ ที่โลกกำลังเผชิญอยู่ทุกวันนี้ ตั้งแต่โรคระบาดไปจนถึงวิกฤตพลังงานจากการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ ไปจนถึงการย้ายถิ่นฐาน ดังนั้น “การพัฒนาเทคโนโลยีที่ดีจึงไม่สามารถมองข้ามการผสมผสานที่ซับซ้อนนี้”

เทคโนโลยีไม่สามารถแทนที่การติดต่อของมนุษย์ได้และต้องไม่ลืมผู้ที่เปราะบาง (Technology cannot replace human contact and must not forget the vulnerable)

ความท้าทายประการที่สอง คือผลกระทบของเทคโนโลยีใหม่ ต่อคำจำกัดความของ "มนุษยธรรม" และ "ความสัมพันธ์" โดยเฉพาะอย่างยิ่งเกี่ยวกับสภาพของบุคคลที่เปราะบาง เมื่อสังเกตว่ารูปแบบทางเทคโนโลยีของประสบการณ์ของมนุษย์กำลัง “แพร่หลาย” มากขึ้นเรื่อย ๆ พระสันตะปาปาฟรังซิสทรงเน้นย้ำถึงความจำเป็นในการ “ไตร่ตรองอย่างจริงจังเกี่ยวกับคุณค่าของมนุษยชาติ” และโดยเฉพาะอย่างยิ่งให้ “ยืนยันถึงความสำคัญของแนวคิดเรื่องความรู้สึกผิดชอบชั่วดีส่วนบุคคลในฐานะประสบการณ์เชิงสัมพันธ์ (Relational Experience คือ ประสบการณ์อันเกิดมาจากการมีความสัมพันธ์กับบุคคลอื่น ๆ) ซึ่งไม่สามารถมองข้ามความเป็นองค์กรหรือวัฒนธรรม” ไปได้

“ในเครือข่ายความสัมพันธ์ ทั้งแบบอัตวิสัย (Subjective คือ ระดับส่วนบุคคล) และแบบชุมชน (Community) เทคโนโลยีไม่สามารถแทนที่การติดต่อของมนุษย์ได้ ไม่สามารถแทนที่ของจริงได้ และสื่อสังคมออนไลน์ ก็ไม่สามารถแทนที่ขอบเขตทางสังคมของมนุษย์ได้”

แม้ว่าจะอยู่ในกระบวนการวิจัยทางวิทยาศาสตร์ ความสัมพันธ์ระหว่างบุคคลกับชุมชนก็ส่งสัญญาณถึง "นัยยะทางจริยธรรมที่ซับซ้อนมากขึ้นเรื่อย ๆ" เช่น ในภาคสุขภาพ ซึ่งมีความจำเป็นเร่งด่วนในการรับประกันการเข้าถึงการดูแลผู้ป่วยอย่างเท่าเทียมกัน "โดยเฉพาะอย่างยิ่ง เพื่อผู้เปราะบางที่สุด เช่น ผู้พิการ ผู้เจ็บป่วย และคนยากไร้”

เทคโนโลยีกับวัฒนธรรมต่าง ๆ (Technology and cultures)

สิ่งสำคัญก็คือ “การตรวจสอบความเร็วของการเปลี่ยนแปลง ปฏิสัมพันธ์ระหว่างการเปลี่ยนแปลง และความเป็นไปได้ในการรับประกันความสมดุลโดยรวม” และพึงระลึกว่าความสมดุลนี้แตกต่างกันไปในแต่ละวัฒนธรรม

“ควรมุ่งเป้าหมายไปที่การทำให้แน่ใจว่าทุกคนเติบโตไปพร้อมกับรูปแบบที่เฉพาะหรือเหมาะสมสำหรับพวกเขา โดยพัฒนาความสามารถในการสร้างสรรค์สิ่งใหม่ ๆ โดยเริ่มจากค่านิยมของวัฒนธรรมของตนเอง”

ส่งเสริมความเข้าใจอันดีระหว่างวิทยาศาสตร์ เทคโนโลยี และสังคม (Promoting mutual understanding between science, technology and society)

ความท้าทายประการที่ 3 คือ การนิยามแนวคิดของความรู้และผลที่ตามมา เมื่อสังเกตว่า “ประเภทของความรู้ที่เรานำมาใช้มีความหมายแฝงอยู่ในตัวของมันเองอยู่แล้ว” พระสันตะปาปาฟรังซิสทรงเน้นย้ำถึงความจำเป็นของ “รูปแบบการกระทำที่ชัดเจน” (Articulated Models) มากขึ้น โดยพิจารณาจาก “การเกี่ยวพันของความสัมพันธ์ที่เหตุการณ์เดียวถูกถักทอ” แทนวิธีการที่เรียบง่ายจนเกินไป ซึ่งไม่สามารถนำไปแก้ปัญหาที่ซับซ้อนได้

ในเรื่องนี้สมณลิขิตเตือนใจเรื่อง “ความชื่นชมยินดีแห่งพระวรสาร” (Apostolic Exhortation Evangelii Gaudium) และรวมถึงพระสมณสาส์น "ขอสรรเสริญองค์พระผู้เป็นเจ้า" (Laudato Si') ได้กล่าวไว้เกี่ยวกับความรู้ทางเทคนิคที่มีมนุษย์เป็นศูนย์กลางตามหลักการที่ว่า "ส่วนรวมมีค่ามากกว่าส่วนตัว" และ "ทุกสิ่งในโลกเชื่อมต่อกันอย่างใกล้ชิด" สามารถส่งเสริม "วิธีคิดใหม่ ๆ ในแวดวงศาสนศาสตร์ด้วย" ในความเป็นจริง "เป็นเรื่องดีที่ศาสนศาสตร์ยังคงเอาชนะแนวทางการขอโทษหรือการคืนดีระหว่างกันอย่างเด่นชัด เพื่อนำไปสู่การนิยามมนุษยนิยมใหม่ (New Anthropology) และส่งเสริมการรับฟังซึ่งกันและกัน และความเข้าใจซึ่งกันและกันระหว่างวิทยาศาสตร์ เทคโนโลยี และสังคม"

“การขาดการเจรจาที่สร้างสรรค์ระหว่าง (วิทยาศาสตร์ เทคโนโลยี และสังคม) ทำให้ความไว้เนื้อเชื่อใจซึ่งกันและกันซึ่งเป็นพื้นฐานของการอยู่ร่วมกันของมนุษย์หมดไป และต่อ “มิตรภาพทางสังคม” ทุกรูปแบบ”

บทบาทของศาสนาต่าง ๆ (Role of religions)

พระสันตะปาปาฟรังซิสทรงสนับสนุนให้สถาบันเพื่อชีวิตแห่งสันตะสำนัก ดำเนินการตามคำมั่นสัญญาต่อไปเพื่อให้แน่ใจว่า “การเติบโตทางวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีจะคืนดีกันมากขึ้นกับการพัฒนาแบบคู่ขนานของมนุษย์” โดยเน้นย้ำถึงความสำคัญของ “การแลกเปลี่ยนประสบการณ์ร่วมกันระหว่างสหวิชาชีพและการอุทิศตนเพื่อทำงานร่วมกัน” เพื่อแก้ไขปัญหาที่ซับซ้อนเหล่านี้

สถิติการเยี่ยมชม

10487465
Today
Yesterday
This Week
Last Week
This Month
Last Month
All days
1898
3833
8441
10448190
8441
124638
10487465
Your IP: 18.221.90.184
Server Time: 2024-12-03 03:28:44

แบบฟอร์ม

instagram

พระศาสนจักร


สื่อ YOUTUBE


Laudato si’

บทเรียนคำสอน





บทภาวนา

พิธีกรรมต่างๆ

เอกสารพระศาสนจักร

บทความคำสอน



KAMSONCHAN

 

   องค์กรคาทอลิก              คณะนักบวช  
 

สภาพระสังฆราชคาทอลิกแห่งประเทศไทย
คณะกรรมการคาทอลิกเพื่อคริสตศาสนธรรม
แผนกคริสตศาสนธรรม
อัครสังฆมณฑลกรุงเทพฯ
ศูนย์คริสตศาสนธรรม อัครสังฆมณฑลกรุงเทพฯ
สังฆมณฑลจันทบุรี
คณะรักกางเขนแห่งจันทบุรี
มูลนิธิสงเคราะห์เด็ก พัทยา
คามิลเลียนโซเชียลเซนเตอร์ ระยอง

  สังฆมณฑลนครราชสีมา                       
ศูนย์คริสตศาสนธรรม สังฆมณฑลนครราชสีมา
สังฆมณฑลอุบลราชธานี
ศูนย์คริสตศาสนธรรม สังฆมณฑลอุบลราชธานี   
สังฆมณฑลราชบุรี
ศูนย์คริสตศาสนธรรม สังฆมณฑลราชบุรี
ศูนย์คริสตศาสนธรรม สังฆมณฑลราชบุรี
สังฆมณฑลนครสวรรค์
สังฆมณฑลเชียงใหม่
  สังฆมณฑลสุราษฎ์ธานี
สังฆมณฑลอุดรธานี
ศูนย์คริสตศาสนธรรม สังฆมณฑลอุดรธานี

สภาการศึกษาคาทอลิกประเทศไทย
คณะกรรมการคาทอลิกเพื่อความยุติธรรมและสันติ (ยส.)
คณะกรรมการคาทอลิกเพื่อพระคัมภีร์
คณะกรรมการคาทอลิกเพื่อสุขภาพอนามัย
สื่อมวลชนคาทอลิกประเทศไทย
สื่อมวลชนคาทอลิกประเทศไทย (อุดมสาร)
  ชมรมอธิการิณีเจ้าคณะนักบวชแห่งประเทศไทย
คณะภคินีเซนต์ปอลเดอร์ชาร์ต
คณะภคินีศรีชุมพาบาล       
คณะพระมหาไถ่แห่งประเทศไทย
คณะเซนต์คาเบรียล
คณะซาเลเซียน
คณะซาเลเซียน (ซิสเตอร์)
กางเขนแดงสาร

 



JSN Megazine template designed by JoomlaShine.com