Homeบทความบทความ :: คุณพ่อนุพันธุ์ ทัศมาลีก้าวไปกับโป๊ปก้าวไปกับโป๊ป #222 : พระศาสนจักรแห่งเอเชียมีอะไรมากมายที่จะมอบให้กับโลก

ก้าวไปกับโป๊ป #222 : พระศาสนจักรแห่งเอเชียมีอะไรมากมายที่จะมอบให้กับโลก

พระศาสนจักรแห่งเอเชียมีอะไรมากมายที่จะมอบให้กับโลก (“Church of Asia has a lot to give the world”)

วันอาทิตย์ที่ 26 กุมภาพันธ์ 2023 วันสุดท้ายของการประชุมสมัชชาภาคพื้นทวีปเอเชียเรื่อง “การก้าวเดินไปด้วยกัน” (Synodality) เริ่มต้นด้วยช่วงเวลาแห่งการแบ่งปันระหว่างผู้เข้าร่วม โดยมีผู้ดำเนินรายการ 3 คนด้วยกัน คือ

1) บิชอปปาโบล เวอร์จิลิโอ เดวิด จากสังฆมณฑลกาลุคกัน ฟิลิปปินส์ (Bishop Pablo Virgilio David of the Diocese of Kalookan, Philippines)

2) เทเรซา หวู่ (Teresa Wu) สมาชิกทีมงานสมัชชาจากสภาบิชอปภูมิภาคจีนแห่งใต้วัน ชาวฟิลิปปินส์ (The Chinese Regional Bishops’ Conference of Taiwan)

3) ศาสตราจารย์เอสเทลา พาดิลลา (Prof. Estela Padilla) จากฟิลิปปินส์และเป็นสมาชิกของคณะกรรมการเทววิทยาของสมัชชาบิชอปสกาล (Theological Commission of the Synod)

สมัชชาเปรียบดังวงซิมโซนี่ (Synod as Symphony)

พระคาร์ดินัลฌอง-โคลด ฮอลเลอริช (Card. Jean-Claude Hollerich) ผู้เกี่ยวข้องทั่วไปของสมัชชาบิชอปสากล ได้ให้ประเด็น 3 ประการเพื่อกำหนดแนวทางการดำเนินการของวันนี้ ท่านได้หยิบยกวงดนตรีซิมโซนีขึ้นมาเป็นตัวอย่างของการทำงานร่วมกัน ความเป็นน้ำหนึ่งใจเดียวกัน ด้วยการปฏิบัติตามหน้าที่ของตน ด้วยความรับผิดชอบ สอดประสาน และปรับเข้ากับบุคคลอื่นได้อย่างลงตัว

“การกลับใจด้านการสมัชชา เป็นวิธีที่เราต้องปรับแต่งเครื่องดนตรีของเรา การกลับใจ คือการกลับใจใหม่สู่พระเยซูเจ้าเสมอ”

คริสตศาสนจักรสัมพันธ์อยู่บนรากฐานศีลล้างบาป (Ecumenism based on baptism)

การกลับใจใหม่นี้ต้องการความอ่อนน้อมถ่อมตนในการละวางอัตตาของตนเอง “การมองดูกันและกัน และเห็นศักดิ์ศรีของศีลล้างบาปในตัวเราแต่ละคน เราควรจะเริ่มต้นด้วยพิธีศีลล้างบาป แทนที่จะเป็นศีลมหาสนิท”

#การตีความการสมัชชาเกี่ยวกับสิ่งสร้างต่าง ๆ (Synodal interpretation of creation)

ในประเด็นที่สามและข้อสุดท้าย พระคาร์ดินัลฮอลเลอริช ได้เสนอการตีความเนื้อหาการสร้าง แทนที่จะมองว่าข้อความเป็นการสร้าง "ผู้ชาย" หรือ "ชายและหญิง" หรือสถาบันการแต่งงานและครอบครัว แต่ควรตีความหมายของการสร้างนี้ให้หมายถึง "มนุษยชาติ"

“เราในฐานะพระศาสนจักร เป็นส่วนหนึ่งของมนุษยชาติ และเราถูกเรียกให้รับใช้มนุษยชาติ ดังนั้น พระศาสนจักรแห่งการก้าวเดินไปด้วยกัน คือพระศาสนจักรที่มีพันธกิจมาจากพระเยซูเจ้า โดยพระศาสนจักรที่ประกาศพระวรสาร และถ้าเราไม่รับใช้โลก ก็จะไม่มีใครเชื่อในการประกาศข่าวดีของเรา”

ผลของการสมัชชาในโลกยุคดิจิทัล (Fruit of synod in the digital era)

ผลแห่งการก้าวเดินไปด้วยกันของพระศาสนจักรสามารถให้แก่โลกได้นั้น จะถูกแสดงให้เห็นในการเสวนากับศาสนาอื่น ๆ และนำชุมชนไปสู่ความเป็นปัจเจกบุคคลที่ได้รับการส่งเสริมโดยวัฒนธรรมดิจิทัล สิ่งนี้ต้องการ “การเปลี่ยนแปลงสู่ยุคสมัยของเรา เนื่องจากเราอยู่ในปีที่ 0 ของยุคดิจิทัล แต่คนหนุ่มสาวกำลังก้าวไปสู่ปี 0.1 แล้ว และบางครั้งเราในฐานะบิชอปก็ติดลบ 0.1 หรือก่อนยุคดิจิทัล” (พระคาร์ดินัลเปรียบเทียบ)

“การก้าวเดินไปด้วยกัน คือ การนำชุมชนกลับคืนสู่หัวใจของการอยู่ร่วมกัน คือการรับใช้ในยุคใหม่นี้”

ร่างคำตอบทำให้เราก้าวไปข้างหน้า (Draft response moves forward)

หลังจากการอธิษฐานภาวนาอย่างเงียบ ๆ เป็นระยะเวลาหนึ่ง คุณพ่อคลาเรนซ์ เดวาดัส (Father Clarence Devadass) สมาชิกของทีมงานสังเคราะห์และยกร่างข้อสรุปสุดท้าย ได้นำเสนอร่างข้อสรุปของการทำสมัชชาระดับทวีปฉบับปรับปรุงล่าสุดต่อ เพื่อทำการการพิจารณาและทบทวนร่วมกัน การจัดทำร่างใหม่นี้รวบรวมโดยใช้ทั้งระบบปัญญาประดิษฐ์ (AI) และสติปัญญาของมนุษย์ (HI) ร่วมกัน ซึ่งระบบการคิดคำนวณแบบนี้ถูกใช้ ณ สถานที่แห่งนี้เป็นแห่งแรก

ร่างแก้ไขที่ได้รับอนุมัติ (Amended draft approved)

ศาสตราจารย์พาดิลลา ได้เชิญชวนให้ผู้เข้าร่วมสมัชชา ใช้เวลาในการทบทวนข้อความที่แก้ไข มีการอภิปรายที่มีชีวิตชีวา แต่ละกลุ่มได้นำเสนอความคิดเห็นของตนต่อร่างแก้ไข และการลงมติ

จากนั้นจะมีการปรับปรุงแก้ไขข้อความจากทีมงานอีกครั้ง ตามข้อเสนอแนะของที่ประชุม การบันทึกข้อสังเกตที่เกิดขึ้นจากการทำสมัชชา โดยร่างสรุปผลการทำสมัชชาจะถูกนำเสนอไปยังสหพันธ์สภาบิชอปแห่งทวีปเอเชีย (FABC) เพื่อทำการรับรองอย่างเป็นทางการ ก่อนที่จะถูกนำส่งไปยังเลขาธิการสมัชชาบิชอปสากลต่อไป

โครงสร้างของกระบวนการสมัชชา (Synodal structures)

ในช่วงบ่าย ผู้เข้าร่วมสมัชชาได้ทำการไตร่ตรอง อภิปราย และพิจารณาถึง “โครงสร้างการทำงานของพระศาสนจักร” ในส่วนที่ควรปรับปรุง แก้ไข เพื่อให้เกิดการทำงานที่มีประสิทธิภาพมากยิ่งขึ้นตามจิตตารมณ์ของการทำสมัชชาสากลในครั้งนี้ ตลอดจนสิ่งที่ต้องการจะเห็นในการทำสมัชชาในเดือนตุลาคม 2023 และ ตุลาคม 2024 ตามกระบวนการทำสมัชชาที่ได้ถูกกำหนดไว้

สมัชชาทวีปเอเชียสรุป (Asian Continental Assembly concludes)

พระคาร์ดินัลมาริโอ เกรช เลขาธิการสมัชชาสากล กล่าวสุนทรพจน์ต่อที่ประชุมครั้งสุดท้าย โดยแสดงความขอบคุณสำหรับ “ประสบการณ์ที่ยอดเยี่ยม” “ประสบการณ์หลังจากนี้” “ฉันจะลืมศาสนจักรนี้ไม่ได้” ซึ่งตามมาด้วยเสียงปรบมือ

สมัชชาเรื่องการก้าวเดินไปด้วยกัน (The Synod on Synodality) เป็นเรื่องเกี่ยวกับประชากรของพระเจ้า คำถามไม่ใช่ “พระศาสนจักรคืออะไร?” แต่ "พระศาสนจักรคือใคร?" ทุกคนได้รับเชิญให้เดินไปด้วยกันเพื่อ “พระเยซูเจ้าในวันนี้จะสามารถเผชิญหน้ามนุษยชาติในวันนีได้” ด้วยเหตุนี้ พระศาสนจักรที่ก้าวเดินไปด้วยกันจะค่อย ๆ ก้าวไปข้างหน้าอย่างเป็นธรรมชาติ เพื่อมุ่งไปสู่เป้าหมายของพันธกิจ นั่นก็คือ “การประกาศข่าวดี”

การก้าวเดินไปด้วยกัน เป็นมิติของพระศาสนจักรจากประสบการณ์ของบรรดาคริสตชนในศตวรรษแรกที่จำเป็นต้องได้รับการฟื้นฟู ความสวยงามของการเดินทาง คือเรากำลังพยายามค้นหา “ความสมดุลที่เหมาะสมระหว่างความรู้สึกในความเชื่อ (Sensus fidei) กับการปฏิบัติศาสนกิจของฐานันดรต่าง ๆ ในพระศาสนจักร

ในช่วงสองสามวันที่ผ่านมานี้ “คุณสามารถรักษาสมดุลที่เหมาะสมได้แล้ว” คุณลักษณะของพระศาสนจักรในเอเชียจะเป็นประโยชน์ต่อพระศาสนจักรทั้งหมด “เราหวังว่า อาศัยการทำสมัชชาและเอกสารสรุปที่กำลังจะเกิดขึ้นในภายหลัง จะมีส่วนช่วยในงานที่บิชอปมีต่อหน้าพวกเขาในการประชุมสมัชชา และ ความเชื่อมโยงจะนำการเปลี่ยนแปลงมาให้” พวกท่านจงกลับไปยังพระศาสนจักรท้องถิ่นของพวกท่าน และแสดงความเป็นหนึ่งเดียวกันกับพระสันตะปาปา และยังคงหว่านเมล็ดพันธุ์แห่งความเป็นการก้าวเดินไปด้วยกัน ซึ่งจะทำให้เกิด "แรงกระตุ้นใหม่สำหรับการประกาศข่าวดี"

อาร์คบิชอปคิคุจิ (Archbishop Kikuchi) ได้กล่าวสุนทรพจน์สุดท้าย และกล่าวปิดการประชุมอย่างเป็นทางการ ท่านแสดงความขอบคุณสำหรับการมีส่วนร่วมอย่างแข็งขันของทุกคนซึ่งทำให้การประชุมประสบความสำเร็จ

จากนั้นผู้เข้าร่วมการประชุมได้เข้าร่วมในพิธีบูชาขอบพระคุณวันอาทิตย์ โดยมีพระคาร์ดินัล ชาร์ลส์ โบ ประธานสหพันธ์สภาบิชอปแห่งเอเชียเป็นประธาน ท่านกล่าวถึงคริสตชนควรจะละทิ้งความชั่วรายบางอย่าง และกลับมาหาองค์พระเยซูเจ้าผู้ทรงกลับคืนพระชนมชีพ ในเทศกาลมหาพรต

ในเทศกาลมหาพรต (LENT) มีตัวย่อที่สามารถนำไปสู่การก้าวเดินไปด้วยกัน นั่นก็คือ

L = Letting go หมายถึง การปล่อยมันทิ้งไป

E = Encounter หมายถึง การเผชิญหน้า

N = Neighborliness หมายถึง ความเป็นเพื่อนบ้าน

T = Transformation หมายถึง สำหรับการเปลี่ยนแปลง

สถิติการเยี่ยมชม

9707367
Today
Yesterday
This Week
Last Week
This Month
Last Month
All days
3904
7683
11587
9674566
23758
169976
9707367
Your IP: 18.223.106.232
Server Time: 2024-05-06 15:29:19

แบบฟอร์ม

instagram

พระศาสนจักร


สื่อ YOUTUBE


Laudato si’

บทเรียนคำสอน





บทภาวนา

พิธีกรรมต่างๆ

เอกสารพระศาสนจักร

บทความคำสอน



KAMSONCHAN

 

   องค์กรคาทอลิก              คณะนักบวช  
 

สภาพระสังฆราชคาทอลิกแห่งประเทศไทย
คณะกรรมการคาทอลิกเพื่อคริสตศาสนธรรม
แผนกคริสตศาสนธรรม
อัครสังฆมณฑลกรุงเทพฯ
ศูนย์คริสตศาสนธรรม อัครสังฆมณฑลกรุงเทพฯ
สังฆมณฑลจันทบุรี
คณะรักกางเขนแห่งจันทบุรี
มูลนิธิสงเคราะห์เด็ก พัทยา
คามิลเลียนโซเชียลเซนเตอร์ ระยอง

  สังฆมณฑลนครราชสีมา                       
ศูนย์คริสตศาสนธรรม สังฆมณฑลนครราชสีมา
สังฆมณฑลอุบลราชธานี
ศูนย์คริสตศาสนธรรม สังฆมณฑลอุบลราชธานี   
สังฆมณฑลราชบุรี
ศูนย์คริสตศาสนธรรม สังฆมณฑลราชบุรี
ศูนย์คริสตศาสนธรรม สังฆมณฑลราชบุรี
สังฆมณฑลนครสวรรค์
สังฆมณฑลเชียงใหม่
  สังฆมณฑลสุราษฎ์ธานี
สังฆมณฑลอุดรธานี
ศูนย์คริสตศาสนธรรม สังฆมณฑลอุดรธานี

สภาการศึกษาคาทอลิกประเทศไทย
คณะกรรมการคาทอลิกเพื่อความยุติธรรมและสันติ (ยส.)
คณะกรรมการคาทอลิกเพื่อพระคัมภีร์
คณะกรรมการคาทอลิกเพื่อสุขภาพอนามัย
สื่อมวลชนคาทอลิกประเทศไทย
สื่อมวลชนคาทอลิกประเทศไทย (อุดมสาร)
  ชมรมอธิการิณีเจ้าคณะนักบวชแห่งประเทศไทย
คณะภคินีเซนต์ปอลเดอร์ชาร์ต
คณะภคินีศรีชุมพาบาล       
คณะพระมหาไถ่แห่งประเทศไทย
คณะเซนต์คาเบรียล
คณะซาเลเซียน
คณะซาเลเซียน (ซิสเตอร์)
กางเขนแดงสาร

 



JSN Megazine template designed by JoomlaShine.com