ความขุ่นเคืองใจและความโศกเศร้าต้องไม่ปะปนอยู่ในชีวิตของเรา (Resentment and sadness must not infect our lives)
ในการสอนคำสอนประจำสัปดาห์ของพระสันตะปาปาฟรังซิส เมื่อวันพุธที่ 5 เมษายน 2023 ณ จัตุรัสนักบุญเปโตร นครรัฐวาติกัน ทรงนำการไตร่ตรองถึงพระมหาทรมานของพระเยซูเจ้าจากพระวรสารที่ได้อ่านไปเมื่อวันอาทิตย์แห่ใบลานที่ผ่านมา โดยเฉพาะคำว่า “พวกเขาประทับตราที่หินปิดทางเข้าพระคูหา” (They sealed the stone. มธ 27:66)
ทุกอย่างดูเหมือนว่าจะจบลงแล้ว และสำหรับบรรดาอัครสาวก หินก้อนนี้แสดงถึงการสิ้นสุดของความหวังของพวกเขา พระอาจารย์ของพวกเขาถูกตรึงกางเขน ถูกฆ่าอย่างโหดเหี้ยม และน่าละอายมากที่สุด ถูกแขวนไว้บนตะแลงแกงอันน่าอับอายนอกเมือง เป็นความล้มเหลวต่อหน้าสาธารณะชน และจุดจบที่เลวร้ายที่สุด
ทุกวันนี้ ความท้อแท้นี้ดูเหมือนเป็นเรื่องปกติ เนื่องจากเราเองก็มีความคิดที่มืดมนและรู้สึกท้อแท้ใจ “แม้กระทั่งทุกวันนี้ ความหวังบางครั้งดูเหมือนถูกปิดไว้เบื้องหลังก้อนหินแห่งความไม่ไว้วางใจ”
การเริ่มต้นใหม่ในไม้กางเขน (New beginning in the Cross)
มีรูปหนึ่งซึ่งติดตรึงอยู่ในใจของเหล่าสาวก นั่นก็คือ “ไม้กางเขน” นั่นคือจุดที่จุดจบของทุกสิ่งอยู่ที่ศูนย์กลาง แต่อีกไม่นาน พวกเขาจะค้นพบการเริ่มต้นใหม่ที่นั่น ที่ไม้กางเขน”
นี่คือวิธีที่ความหวังของพระเจ้างอกขึ้น มันเกิดและเกิดใหม่ในหลุมดำของความคาดหวังที่ผิดหวังของเรา และความหวังไม่เคยทำให้ผิดหวัง
พระสันตะปาปาฟรังซิสทรงใช้ไม้กางเขนเป็นตัวอย่าง ตรัสว่า “พระเจ้าทรงแสดงเครื่องหมายแห่งความรักของพระองค์ ด้วยวิธีการทรมานที่เลวร้ายที่สุด” คริสตชนควรมองไม้กางเขนว่าเป็น “ต้นไม้แห่งชีวิต” เพื่อเราจะได้หายจากความโศกเศร้าที่ทำให้เราเจ็บป่วยหรือโศกเศร้า
พระเจ้าถูกปลดออก (God was stripped)
เช่นเดียวกับที่พระบุตรของพระเจ้าถูกเปลื้องผ้า และถูกทำให้ขายหน้า เราก็พบว่าเป็นการยากที่จะเปิดเผยตนเองและพูดความจริงออกมา และแทนที่จะประดับตัวเราด้วยรูปร่างหน้าตาภายนอกซึ่งเป็นสิ่งที่ไม่จำเป็น เราจะไม่พบสันติสุขด้วยวิธีการนี้ แต่เราต้องกลับไปสู่หัวใจ สู่สิ่งที่จำเป็น และสู่ชีวิตที่เรียบง่าย
พระเยซูทรงได้รับบาดเจ็บ (Jesus was wounded)
พระเยซูเจ้าทรงได้รับบาดเจ็บบนไม้กางเขน “ไม้กางเขนแสดงให้เห็นตะปูที่แทงพระหัตถ์และพระบาทของพระองค์ ด้านข้างที่เปิดกว้างของพระองค์” แต่เหนือบาดแผลในพระวรกายของพระองค์ คือบาดแผลในจิตวิญญาณของพระองค์ โดดเดี่ยวและถูกทรยศ แม้ว่าพระองค์ไม่ได้ก่ออาชญากรรม พระเยซูเจ้าทรงอยู่ท่ามกลางอาชญากรสองคน “สิ่งนี้ช่วยความหวังของเราในทางใด?” พระสันตะปาปาทรงตรัสถาม
เสียใจกับความรัก (Sorrow to love)
พระเจ้าไม่ได้ทรงซ่อนบาดแผลของพระองค์ไม่ให้เราเห็น แต่ “พระองค์ทรงแสดงบาดแผลให้เราได้เห็น เพื่อให้เราจะได้เห็นสิ่งที่จะเกิดขึ้นต่อไปในวันปัสกาว่า จากบาดแผลจะกลายเป็นดอกไม้แห่งแสงสว่างได้อย่างไร
พระเยซูเจ้าทรงรัก และ “ดังนั้น พระองค์จึงเปลี่ยนความชั่วให้เป็นความดี พระองค์จึงทรงเปลี่ยนความโศกเศร้าให้เป็นความรัก”
ปล่อยให้บาดแผลของเราได้รับการรักษา (Allow our wounds to heal)
ให้เราได้รวมบาดแผลของเราเข้ากับบาดแผลของพระเยซูเจ้า “เพื่อบาดแผลของเราจะได้ส่องสว่างด้วยเช่นกัน”
เราต้องซับน้ำตาของผู้อื่น ดูแลสิ่งที่คนอื่นขาด โอบกอดผู้ที่ทนทุกข์ และจากนั้น บาดแผลของเราจะกลายเป็นน้ำพุแห่งความหวัง
แทนที่จะรู้สึกเสียใจต่อตนเอง แต่เราควรห่วงใยผู้ที่ทนทุกข์ “ดับความกระหายของความรัก แทนที่จะกระหายความรัก”
ขอให้ในช่วงวันศักดิ์สิทธิ์เหล่านี้ ทำให้เรา “เข้าไปใกล้พระเยซูเจ้าผู้ถูกตรึงกางเขน” จ้องมองพระองค์ ผู้ทรงได้รับบาดเจ็บ และ “วางบาดแผลของเราไว้กับพระองค์ และขอให้พระองค์ทรงสร้างความหวังใหม่ ให้เกิดขึ้นในจิตใจของเรา”