พระสันตะปาปาฟรังซิสนำความใกล้ชิดไปสู่ชาวฮงการี (Pope Francis to bring closeness to Hungary's faithful)
ด้วยคำขวัญที่ว่า “พระคริสต์คืออนาคตของเรา” พระสันตะปาปาฟรังซิสกำลังจะเสด็จกลับไปยังประเทศฮังการี เพื่อนำความใกล้ชิดกับชาวฮังการี ประเทศที่ส่วนใหญ่ประชากรเป็นคริสตชนคาทอลิกเป็นระยะเวลา 3 วัน คือระหว่าง วันศุกร์ที่ 28 - วันอาทิตย์ที่ 30 เมษายน 2023
ซึ่งนับเป็นการเสด็จเยือนต่างประเทศของพระองค์ครั้งที่ 41 หลังจากเคยเสด็จไปประกอบพิธีมหาบูชาขอบพระคุณโอกาสงานเคารพศีลมหาสนิทนานาชาติครั้งที่ 52 ในปี 2021 การเดินทางในครั้งในจะเกิดขึ้น แม้ในท่ามกลางวิกฤตการอพยพและความท้าทายด้านมนุษยธรรมในทวีปยุโรป และสงครามในยูเครนที่กำลังเกิดขึ้น
นับตั้งแต่เริ่มสงครามในยูเครน ผู้ลี้ภัยหลายล้านคนที่ถูกปลุกปั่นจากการรุกรานของรัสเซียได้เดินทางผ่านฮังการีเข้าไปยังทวีปยุโรป ซึ่งพวกเขาได้รับความช่วยเหลือ และอีกส่วนหนึ่งยังคงอยู่
ในอดีตที่ผ่านมา นักบุญพระสันตะปาปายอห์นปอลที่ 2 ได้เสด็จเยือนฮังการี 2 ครั้ง ในปี 1991 และ 1996 หลังจากการล่มสลายของกำแพงเบอร์ลิน
การรักษาคำมั่นสัญญา (Maintaining a promise)
แม้บางคนจะสงสัยว่า เหตุใดพระสันตะปาปาฟรังซิสจะเสด็จกลับมายังประเทศเดิมเป็นครั้งที่สองภายในเวลาสองปี แต่ความแตกต่างอยู่ที่ข้อเท็จจริงที่ว่า ในปี 2021 พระองค์เสด็จไปร่วมงานระดับนานาชาติเพื่อรวบรวมสัตบุรุษจาก 83 ประเทศ ในขณะที่ ครั้งนี้เขากลับไปเยี่ยมพระศาสนจักรท้องถิ่นและผู้คนภายในประเทศ ซึ่งแตกต่างจากตอนที่พระองค์อยู่ในบูดาเปสต์เพื่อประกอบพิธีมหาบูชาขอบพระคุณเพียงแค่สองสามชั่วโมง จากนั้นจึงเสด็จเดินทางต่อไปยังสโลวาเกีย
พระสันตะปาปาทรงแสดงความปรารถนาที่จะเสด็จเยือนฮังการีเป็นเวลานานขึ้น ในเที่ยวบินขากลับจากสโลวาเกียไปยังกรุงโรมในปี 2021 ดังนั้น พระองค์จึงกระทำตามที่ได้ให้สัญญาไว้กับพวกเขา โดยในการเดินทางครั้งนี้ พระสันตะปาปาจะพบปะกับผู้คนอย่างเป็นทางการจำนวน 6 ครั้ง โดยจะตรัสเป็นภาษาอิตาเลียน
กำหนดการ (Programme)
หนึ่งในประเด็นสำคัญของการเดินทางการในครั้งนี้ คือการพบปะกับผู้อพยพและคนยากจน เด็กตาบอดและเด็กพิการ เจ้าหน้าที่พลเรือนและคณะทูต พระสงฆ์ คนหนุ่มสาว พิธีมหาบูชาขอบพระคุณ การสวดบทราชินีสวรรค์ การพบปะกับคริสตชนกรีกคาทอลิก และการประชุมส่วนตัวกับสมาชิกคณะเยสุอิตตามปกติ
ความศักดิ์สิทธิ์ในฮังการี (Holiness in Hungary)
กำหนดการทั้งหมดจะเกิดขึ้นภายในกรุงบูดาเปสต์ โดยสังเกตว่า ในประเทศฮังการีได้มีนักบุญจำนวนมาก ซึ่งหลายคนมาจากแหล่งกำเนิดอันสูงส่ง แล้วอุทิศชีวิตเพื่อดูแลคนป่วยหรือคนจน
การทำความเข้าใจตัวอย่างของความศักดิ์สิทธิ์ในประวัติศาสตร์ของประเทศฮังการี จะช่วยให้ผู้ที่ติดตามการเดินทางของพระสันตะปาปาฟรังซิส "ได้รู้จักและเข้าใจจุดหมายปลายทางของพระองค์"
ความใกล้ชิดกับผู้ที่ทนทุกข์ทรมานจากสงคราม (Closeness to the suffering from war)
ตามธรรมเนียมแล้ว เจ้าหน้าที่วาติกันที่เดินทางไปพร้อมกับพระสันตะปาปา จะประกอบไปด้วย 1) พระคาร์ดินัลปิเอโตร ปาโรลิน (Cardinal Pietro Parolin) เลขาธิการรัฐวาติกัน
2) อาร์คบิชอปพอล ริชาร์ด กัลลาเกอร์ (Archbishop Paul Richard Gallagher) เลขาธิการวาติกันด้านความสัมพันธ์กับรัฐและองค์กรพหุภาคีวาติกัน
3) อาร์ชบิชอปเอ็ดการ์ เปนา ปาร์รา (Arbishop Edgar Pena Parra) ผู้ว่าการนครรัฐวาติกัน
4) อาร์ชบิชอปเคลาดิโอ กูเกรอตติ (Archbishop Claudio Gugerotti) สมณกระทรวงเพื่อพระศาสนจักรตะวันออก
5), อาร์ชบิชอปโรเบิร์ต ฟรานซิส พรีโวสต์ (Archbishop Robert Francis Prevost) สมณกระทรวงเพื่อบรรดาบิชอป
6) นายเปาโล รัฟฟินี (Paolo Ruffini) สมณกระทรวงเพื่อการสื่อสาร
การปรากฏตัวของเจ้าคณะกระทรวงเพื่อพระศาสนจักรตะวันออก จะช่วยทำให้เกิดความใกล้ชิดกับผู้ที่ทนทุกข์ในบริเวณนั้นมากยิ่งขึ้น และการเรียกร้องสันติภาพจากพระสันตะปาปาฟรังซิสจะต้องเกิดขึ้นอย่างแน่นอน
มรณสักขีและพยานของศาสนาคริสต์ (Martyrs and Christianity's witness)
ศาสนาคริสต์ในประเทศฮังการี มีประวัติศาสตร์ยาวนานกว่า 1,000 ปี ย้อนหลังไปถึงนักบุญสเตเฟน กษัตริย์แห่งฮังการี แม้ว่าจะอยู่ภายใต้ลัทธิคอมมิวนิสต์และสงครามเย็น แต่บรรดาคริสตชนก็ได้ดำเนินชีวิตอย่างเข้มแข็ง ต้องขอขอบคุณบรรดามรณสักขีที่เป็นพยานยืนยันถึงความเชื่อ ตลอดจนพระศาสนจักรที่ซ่อนตัวอยู่อย่างเงียบ ๆ มานานหลายศตวรรษที่ผ่านมา