Homeบทความบทความ :: คุณพ่อนุพันธุ์ ทัศมาลีก้าวไปกับโป๊ปก้าวไปกับโป๊ป #267 : ความรักของพระคริสตเจ้าผลักดันนักบุญฟรังซิสเซเวียร์ไปสู่พรมแดนที่ไกลที่สุด

ก้าวไปกับโป๊ป #267 : ความรักของพระคริสตเจ้าผลักดันนักบุญฟรังซิสเซเวียร์ไปสู่พรมแดนที่ไกลที่สุด

ความรักของพระคริสตเจ้าผลักดันนักบุญฟรังซิสเซเวียร์ไปสู่พรมแดนที่ไกลที่สุด (Love of Christ drove St. Francis Xavier to furthest frontiers)

เมื่อวันพุธที่ 17 พฤษภาคม 2023 ณ จัตุรัสนักบุญเปโตร นครรัฐวาติกัน โอกาสสอนคำสอนทั่วไปในวันพุธ พระสันตะปาปาฟรังซิสทรงยกย่องแบบอย่างของนักบุญฟรังซิสเซเวียร์ ว่าเป็น 'มิชชันนารีที่ยิ่งใหญ่ที่สุดในยุคปัจจุบัน' ในฐานะที่มีความกระตือรือร้นในการเผยแพร่ศาสนา ด้วยความตรากตรำ และอันตรายที่พบเจออยู่ตลอดเวลา การเอาชนะความพ่ายแพ้ ความผิดหวัง และความท้อแท้ แต่สิ่งต่าง ๆ เหล่านี้ แท้จริงแล้วทำให้ท่านรู้สึกสบายใจ และมีความสุขในการติดตามและรับใช้พระเยซูเจ้าจนถึงที่สุด

นอกจากนี้แล้ว บรรดามิชชันนารีทุกคน ยังได้อุทิศตนเพื่อช่วยเหลือผู้อื่น โดยได้รับแรงบันดาลใจจากความเชื่อและความรักในพระคริสตเจ้า

“ทุกวันนี้เราเห็นความกล้าหาญนี้ในบรรดามิชชันนารีที่แม้ไม่ได้ขึ้นเรือ แต่ขึ้นเครื่องบินแทน เพราะพวกเขามีกำลังที่จะออกไปประกาศข่าวดี มีมิชชันนารีแอบแฝงอยู่มากมาย ซึ่งแม้แต่ทุกวันนี้ก็ยังทำมากกว่านักบุญฟรังซิสเซเวียร์เสียอีก เช่น บรรดาพระสงฆ์ คริสตชนฆราวาส พี่น้องสตรี ที่ไปปฏิบัติภารกิจ พวกเราสามารถเรียนรู้จากพวกเขาได้”

การอุทิศตนเพื่อพระเจ้าอย่างไม่มีข้อแม้ (Dedication unreservedly to God)

ในความใกล้ชิดสนิทสัมพ้นธ์ที่นักบุญฟรังซิสซาเวียร์ที่มีต่อพระคริสตเจ้า ได้ทำให้ท่านเข้มแข็งและกล้าหาญ แม้ท่ามกลางความวุ่นวายสับสน ท่านก็ยังได้รับการเสริมกำลังจากพระเยซูเจ้าอยู่เสมอ “ท่านไม่เคยละทิ้งการอธิษฐานภาวนา เพราะเขารู้ว่ามีกำลังอยู่ที่นั่น”

นักบุญฟรังซิสเซเวียร์ เกิดในครอบครัวขุนนางแต่ยากจนในเมืองนาวาร์ ทางตอนเหนือของประเทศสเปนในปี 1506 ซึ่งต่อมาได้ศึกษาต่อที่มหาวิทยาลัยปารีส ท่านเป็นชายหนุ่มที่น่ารักและเฉลียวฉลาด เป็นเลิศในด้านกีฬาและการเรียน

ในวิทยาลัย เขาได้พบกับนักบุญอิกญาซีโอแห่งโลโยลา พวกเขากลายเป็นเพื่อนที่ดีต่อกัน และช่วยให้ท่านได้รับประสบการณ์ใหม่ทางจิตวิญญาณที่ลึกซึ้ง จนกระทั่งท่านได้รับเลือกจากคณะเยสุอิตในยุคนั้น ให้ไปทำงานแพร่ธรรมยังหมู่เกาะอินเดียตะวันออก เพื่อเผยแพร่ความเชื่อไปสู่ผู้อื่น

ทำให้พระเยซูคริสตเจ้าเป็นที่รู้จัก (Making Jesus Christ known)

นี่เป็นการเริ่มต้นมิชชันนารีกลุ่มแรกจากจำนวนมากมายที่กระตือรือร้น พร้อมที่จะอดทนต่อความยากลำบาก และอันตรายอย่างใหญ่หลวง สิ่งที่พวกเขามีเหมือนกันก็คือ ความปรารถนาอันแรงกล้าที่จะทำให้พระเยซูคริสตเจ้าและพระวรสารของพระองค์เป็นที่รู้จัก เพื่อเข้าถึงดินแดนและพบปะผู้คนในวัฒนธรรม และภาษาที่ไม่รู้จักโดยสิ้นเชิง

ต่อมานักบุญฟรังซิสเซเวียร์ได้รับแต่งตั้งให้เป็นพระสมณทูต (Apostolic Nuncio) ซึ่งเป็นตัวแทนของพระสันตะปาปาเปาโลที่ 3 ไปปกครองบริเวณประเทศอินเดีย (Indies) แม้ในช่วงระยะเวลาเพียง 11 ปี เขาก็ทำงานพิเศษได้สำเร็จ

แม้ว่าการเดินทางด้วยเรือในครั้งนั้น จะลำบากและอันตรายมาก มีคนจำนวนมากเสียชีวิตระหว่างทางจากเหตุเรืออับปางหรือเจ็บป่วย นักบุญฟรังซิสเซเวียร์ใช้เวลากว่า 3 ปีครึ่งบนเรือ ซึ่งเป็นหนึ่งในสามของระยะเวลาภารกิจทั้งหมดของท่าน

ทั้งหมดออกมาจากความรักที่มีต่อพระเจ้า (All out of love for God)

เมื่อท่านเดินทางถึงเมืองกัว (Goa) ประเทศอินเดีย ซึ่งเป็นเมืองหลวงของโปรตุเกสตะวันออกในขณะนั้น ท่านได้ตั้งฐานทัพที่นั่น และไม่ได้หยุดเพียงแค่นั้น ท่านออกไปประกาศข่าวดีแก่ชาวประมงที่ยากจนทางชายฝั่งทางตอนใต้ของประเทศอินเดีย สอนคำสอน และคำอธิษฐานภาวนาให้กับเด็ก โปรดศีลล้างบาป และรักษาผู้ป่วย

ระหว่างอธิษฐานภาวนาตอนกลางคืน ที่หลุมฝังศพของนักบุญบาร์โธโลมิว ท่านรู้สึกว่าต้องไปไกลกว่าประเทศอินเดีย ดังนั้น ท่านจึงออกเดินทางไปโมลุกกะ เกาะที่ห่างไกลที่สุดของหมู่เกาะอินโดนีเซีย ซึ่งท่านก่อตั้งชุมชนคริสตชนหลายแห่งภายในสองปี ท่านนำคำสอนมาแต่งเป็นบทร้อยกรองด้วยภาษาท้องถิ่น และสอนวิธีร้องเพลง

เขาเขียนจดหมายว่า: 'อันตรายและความทุกข์ทรมานที่ยอมรับโดยสมัครใจ และเพียงเพื่อความรัก และการรับใช้ของพระเจ้าองค์พระผู้เป็นเจ้าของเรา เป็นสมบัติล้ำค่าที่อุดมไปด้วยการปลอบประโลมทางจิตวิญญาณที่ยิ่งใหญ่ ในอีกไม่กี่ปีข้างหน้า ผู้คนอาจสูญเสียดวงตาจากน้ำตาแห่งความสุขมากเกินไป!” (20 มกราคม 1548)

ผลงานอันยิ่งใหญ่ในทวีปเอเชีย (Great fruits in Asia)

วันหนึ่งในประเทศอินเดีย นักบุญฟรังซิสฟรังซิสเซเวียร์พบชายชาวญี่ปุ่นผู้หนึ่ง ซึ่งเล่าเรื่องประเทศอันห่างไกลของเขาให้เขาฟัง ซึ่งไม่เคยมีมิชชันนารีชาวยุโรปคนใดเคยไปเลย ท่านตัดสินใจเดินทางไปที่นั่น แม้ว่าจะต้องกอดทนกับการเดินทางที่สุดแสนจะผจญภัย

“สามปีในญี่ปุ่นนั้นยากลำบากมาก เนื่องจากสภาพอากาศ การต่อต้าน และความไม่รู้ภาษา แต่ เมล็ดพืชที่ปลูกก็ได้ให้ผลที่ดี แต่ท่านนักบุญฟรังซิสเซเวียร์ทราบดีว่า ประเทศที่ชี้ขาดสำหรับภารกิจในเอเชียคือประเทศจีน ด้วยวัฒนธรรม ประวัติศาสตร์ อำนาจ และความยิ่งใหญ่" พระสันตะปาปาฟรังซิสกล่าว

ต้องเผชิญกับความล้มเหลว (Faced with failure)

ด้วยเหตุนี้นักบุญฟรังซิสเซเวียร์จึงกลับไปที่เมืองกัว และหลังจากนั้นไม่นาน ท่านก็ออกเดินทางอีกครั้ง โดยหวังว่าท่านจะสามารถเข้าสู่ประเทศจีนได้ แม้ว่าในขณะนั้นจะปิดกั้นไม่ให้คนต่างชาติเข้าก็ตาม อย่างไรก็ตามท่านไม่ประสบความสำเร็จ เพราะท่านเสียชีวิตเมื่อมีอายุได้เพียง 46 ปี ในปี 1552 ที่เกาะเล็ก ๆ ที่มีชื่อว่า “ซานเชียน” (Sancian) ขณะรอขึ้นฝั่งประเทศจีนที่เมือง “แคนตัน” (Canton) การเดินทางบนแผ่นดินโลกของท่านจึงสิ้นสุดลง

ความชื่นชมยินดีแห่งการประกาศข่าวดี (Joy of evanglising)

พระสันตะปาปาฟรังซิส ทรงกล่าวในตอนสุดท้ายว่า "ดูที่นักบุญฟรังซิสเซเวียร์ ดูที่ขอบฟ้าของโลก ดูผู้คนที่ต้องการเช่นนั้น ดูผู้คนมากมายที่ทนทุกข์ ผู้คนมากมายที่ต้องการพระเยซูเจ้า และไปเถิด มีความกล้าหาญ ทุกวันนี้ยังมีคนหนุ่มสาวที่กล้าหาญ ข้าพเจ้านึกถึงมิชชันนารีมากมาย เช่น ในปาปัวนิวกินี ข้าพเจ้านึกถึงเพื่อน ๆ คนหนุ่มสาว คิดถึงทุกคนที่ออกไปประกาศข่าวดีเช่นเดียวกับนักบุญฟรังซิสเซเวียร์ ขอพระเจ้าโปรดประทานความสุขในการประกาศแก่เรา , ความสุข!"

สถิติการเยี่ยมชม

9679023
Today
Yesterday
This Week
Last Week
This Month
Last Month
All days
379
4078
4457
9631860
165390
260177
9679023
Your IP: 3.128.94.171
Server Time: 2024-04-29 04:57:34

แบบฟอร์ม

instagram

พระศาสนจักร


สื่อ YOUTUBE


Laudato si’

บทเรียนคำสอน





บทภาวนา

พิธีกรรมต่างๆ

เอกสารพระศาสนจักร

บทความคำสอน



KAMSONCHAN

 

   องค์กรคาทอลิก              คณะนักบวช  
 

สภาพระสังฆราชคาทอลิกแห่งประเทศไทย
คณะกรรมการคาทอลิกเพื่อคริสตศาสนธรรม
แผนกคริสตศาสนธรรม
อัครสังฆมณฑลกรุงเทพฯ
ศูนย์คริสตศาสนธรรม อัครสังฆมณฑลกรุงเทพฯ
สังฆมณฑลจันทบุรี
คณะรักกางเขนแห่งจันทบุรี
มูลนิธิสงเคราะห์เด็ก พัทยา
คามิลเลียนโซเชียลเซนเตอร์ ระยอง

  สังฆมณฑลนครราชสีมา                       
ศูนย์คริสตศาสนธรรม สังฆมณฑลนครราชสีมา
สังฆมณฑลอุบลราชธานี
ศูนย์คริสตศาสนธรรม สังฆมณฑลอุบลราชธานี   
สังฆมณฑลราชบุรี
ศูนย์คริสตศาสนธรรม สังฆมณฑลราชบุรี
ศูนย์คริสตศาสนธรรม สังฆมณฑลราชบุรี
สังฆมณฑลนครสวรรค์
สังฆมณฑลเชียงใหม่
  สังฆมณฑลสุราษฎ์ธานี
สังฆมณฑลอุดรธานี
ศูนย์คริสตศาสนธรรม สังฆมณฑลอุดรธานี

สภาการศึกษาคาทอลิกประเทศไทย
คณะกรรมการคาทอลิกเพื่อความยุติธรรมและสันติ (ยส.)
คณะกรรมการคาทอลิกเพื่อพระคัมภีร์
คณะกรรมการคาทอลิกเพื่อสุขภาพอนามัย
สื่อมวลชนคาทอลิกประเทศไทย
สื่อมวลชนคาทอลิกประเทศไทย (อุดมสาร)
  ชมรมอธิการิณีเจ้าคณะนักบวชแห่งประเทศไทย
คณะภคินีเซนต์ปอลเดอร์ชาร์ต
คณะภคินีศรีชุมพาบาล       
คณะพระมหาไถ่แห่งประเทศไทย
คณะเซนต์คาเบรียล
คณะซาเลเซียน
คณะซาเลเซียน (ซิสเตอร์)
กางเขนแดงสาร

 



JSN Megazine template designed by JoomlaShine.com