ศาสนาดั้งเดิมของโลกร่วมกันแบ่งปันคุณค่าและความรู้ที่ในCOP28 (World religions to share values and knowledge at COP28)
COP28 คือ การประชุมภาคีกรอบอนุสัญญาสหประชาชาติว่าด้วยการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ ครั้งที่ 28 (Conference of the Parties to the UN Framework Convention on Climate Change) ที่จะจัดให้มีขึ้น ณ เมืองดูไบ ประเทศสหรัฐอาหรับเอมิเรตส์ ระหว่างวันที่ 30 พฤศจิกายน ถึง 12 ธันวาคม 2023 หัวข้อ “การปกป้องระบบอาหารโลก” (Protecting global food systems) เริ่มต้นจัดเป็นครั้งแรกที่กรุงเบอร์ลิน ประเทศเยอรมนี ในเดือนมีนาคม 1995
เมื่อวันจันทร์ที่ 29 พฤษภาคม 2023 พระสันตะปาปาฟรังซิสทรงพบกับผู้พิพากษาโมฮาเหม็ด อับเดลซาลาม เลขาธิการสภาผู้สูงอายุมุสลิม (Judge Mohamed Abdelsalam, Secretary-General of the Muslim Council of Elders) และมาจิด อัล-ซูไวดี เอกอัครราชทูต ผู้อำนวยการทั่วไปและผู้แทนพิเศษของประธานสหรัฐอาหรับเอมิเรตส์ (Ambassador Majid Al-Suwaidi, Director-General and Special Representative of the UAE Presidency for COP28) สำหรับ COP28 เป็นการส่วนตัวเพื่อปรึกษาหารือเกี่ยวกับ การเตรียมการและการมีส่วนร่วมของศาสนาต่าง ๆ ในการประชุมการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศของสหประชาชาติปี 2023 (COP28)
จากแถลงการณ์ได้กล่าวว่า “พวกเขาได้แบ่งปันความเป็นไปได้ของการเปิดตัวโครงการริเริ่มร่วมกัน เกี่ยวกับการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ เพื่อเตรียมพร้อมสำหรับการประชุม COP28 ที่กำลังจะมาถึง เพื่อให้สถาบันศาสนา ผู้นำ และองค์กรภาคประชาสังคมในการบรรลุเป้าหมายของ COP28”
ความคิดริเริ่มร่วมกัน (Joint initiative)
ความคิดริเริ่มที่กล่าวถึงในวาติกันจะเรียกร้องให้สถาบันศาสนา ผู้นำ และองค์กรภาคประชาสังคมทั่วโลกรวมตัวกันเพื่อบรรลุเป้าหมายร่วมกันในการปกป้องโลก ซึ่งเป็นบ้านส่วนรวมของทุกคน
“มีจุดมุ่งหมายเพื่อสร้างบทบาทของศาสนา ในการเชื่อมการสื่อสารระหว่างชาติ วัฒนธรรม และปัจเจกบุคคล เพื่อเปิดโลกทัศน์ใหม่สำหรับการดำเนินการด้านสภาพอากาศ ได้รับแรงผลักดันต่อบทบาทสำคัญของศาสนา ผู้นำ และสถาบันต่าง ๆ ในการขับเคลื่อนการแก้ปัญหาเชิงปฏิบัติเพื่อจัดการกับผลกระทบที่เป็นอันตรายจากการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ”
ในมุมมองของศาสนสัมพันธ์ (Interfaith Pavillion)
ในระหว่างการประชุมมีความเป็นไปได้ในการสร้างเวทีสนทนาระหว่างศาสนาและวัฒนธรรมที่ COP28 เพื่อแบ่งปันความรู้ให้แก่กันและกัน ก็ได้รับการพิจารณาเช่นกัน โดยจะเน้นบทบาทที่สำคัญของมุมมอง และค่านิยมทางศาสนาในการจัดการกับวิกฤตสภาพภูมิอากาศที่กำลังเปลี่ยนแปลง