พระสันตะปาปาฟรังซิสอนุญาตให้ผู้หญิงลงคะแนนเสียงในการประชุมบิชอปที่จะมาถึง (Pope allows women to vote at upcoming bishops’ meeting)
เมื่อวันพุธที่ 26 เมษายน 2023 สำนักวาติกันได้แถลงการณ์ว่า พระสันตะปาปาฟรานซิสทรงตัดสินให้สตรีมีสิทธิลงคะแนนเสียงในการประชุมสมัชชาบิชอปสากลครั้งที่ 16 ที่กำลังจะมีขึ้นครั้งแรกในเดือนตุลาคม 2023 และอีกครั้งในเดือนตุลาคม 2024 ซึ่งเป็นการปฏิรูปครั้งสำคัญในประวัติศาสตร์ของพระศาสนจักร หลังจากที่ได้มีข้อเรียกร้องนี้มาหลายปี
เหตุการณ์นี้สะท้อนให้เห็นถึงความหวังของพระองค์ที่จะให้ความรับผิดชอบในการตัดสินใจไม่ขึ้นอยู่กับบรรดาพระคาร์ดินัล บิชอป นักบวชชายหญิง และบุคลากรในพะระศาสนจักรเท่านั้น แต่มอบให้กับบรรดาสตรี รวมถึงประชาชนทั่วไปที่จะสามารถพูดถึงชีวิตและมีบทบาทในพระศาสนจักรคาทอลิกมากยิ่งขึ้น
กลุ่มสตรีคาทอลิกที่วิจารณ์วาติกันมานานแล้วว่าปฏิบัติต่อสตรีในฐานะพลเมืองชั้นสอง ต่างยกย่องความเคลื่อนไหวนี้ว่า เป็นปรากฎการณ์ในประวัติศาสตร์ของคริสตจักรในทันที
เคท แมคเอลวี จากสหพันธ์ที่สนับสนุนการบวชสตรีเป็นพระสงฆ์ (Kate McElwee, Women's Ordination Conference) กล่าวว่า “นี่เป็นรอยร้าวที่มีนัยสำคัญบนเพดานกระจกสี และเป็นผลจากการสนับสนุนอย่างต่อเนื่อง การเคลื่อนไหว และการเป็นสักขีพยาน ของการรณรงค์ของกลุ่มสตรีคาทอลิก ที่เรียกร้องสิทธิในการออกเสียง”
นับตั้งแต่สังคายนาวาติกันครั้งที่สอง ที่เกิดขึ้นในปี 1960 ที่ต้องการปรับปรุงพระศาสนจักรให้ทันสมัย บรรดาพระสันตะปาปาในเวลานั้น ได้เรียกบรรดาบิชอปทั่วโลก ให้มาประชุมร่วมกันที่กรุงโรมครั้งละสองสามสัปดาห์ เพื่ออภิปรายในหัวข้อใดหัวข้อหนึ่งโดยเฉพาะ ในตอนท้ายของการประชุม บรรดาบิชอปจะลงมติในข้อเสนอที่เฉพาะเจาะจง และนำเสนอต่อพระสันตะปาปา จากนั้นจะจบลงด้วยเอกสารสรุปสุดท้ายออกมา
จนกระทั่งตอนนี้คนเดียวที่สามารถลงคะแนนได้คือผู้ชาย (Until now, the only people who could vote were men.)
แต่ภายใต้การเปลี่ยนแปลงใหม่นี้ พี่น้องสตรี 5 คน จากคณะนักบวชหญิง 5 คณะ จะเป็นตัวแทนในการลงคะแนนเสียงสำหรับกฎระเบียบต่าง ๆ ในศาสนา
นอกจากนี้ พระสันตะปาปาฟรังซิสได้ตัดสินใจแต่งตั้งสมาชิกที่ไม่ใช่บิชอปอีก 70 คน ให้ร่วมในการสมัชชาดังกล่าว โดยครึ่งหนึ่งให้เป็นผู้หญิง พวกเขาทั้งหมดก็จะมีสิทธิ์ในการลงคะแนนเสียงด้วยเช่นเดียวกัน
เป้าหมายนี้ คือรวมคนหนุ่มสาวในบรรดาสมาชิกที่ไม่ใช่บิชอป 70 คน ซึ่งจะได้รับการเสนอต่อพระสันตะปาปาฟรังซิส โดยแบ่งออกเป็นกลุ่มภูมิภาคต่าง ๆ โดยพระสันตะปาปาฟรังซิสจะเป็นผู้ตัดสินใจขั้นสุดท้าย
การประชุมครั้งต่อไป ซึ่งกำหนดไว้ให้มีขึ้นในระหว่างวันที่ 4-29 ตุลาคม 2023 มุ่งเน้นไปที่หัวข้อของการทำให้พระศาสนจักรไตร่ตรองและตอบสนองต่อบรรดาฆราวาสมากขึ้น ซึ่งเป็นกระบวนการที่เรียกว่า “การก้าวเดินไปด้วยกัน” (Synodality) ตามที่พระสันตะปาปาฟรังซิสทรงสนับสนุนมานานหลายปี
การประชุมในเดือนตุลาคม 2023 นี้ ถูกจัดเตรียมด้วยการสอบถามผู้นับถือศาสนาคริสต์นิกายคาธอลิกอย่างอย่างขวางเป็นระยะเวลา 2 ปี เกี่ยวกับวิสัยทัศน์ของพวกเขาที่มีต่อพระศาสนจักร ซึ่งไม่เคยปรากฏมาก่อน และหนทางที่พระศาสนจักรจะสามารถตอบสนองต่อความต้องการของเขาในปัจจุบันได้ดียิ่งขึ้น
จนถึงขณะนี้ มีผู้หญิงเพียงคนเดียวเท่านั้นที่ทราบว่า เป็นสมาชิกลงคะแนนเสียงของการประชุมในเดือนตุลาคมนี้ได้ นั่นก็คือ ซิสเตอร์นาตาลี เบคควอร์ต (Sister Nathalie Becquart) ซิสเตอร์ชาวฝรั่งเศสซึ่งทำงานในหน่วยงานเลขาธิการสมัชชาบิชอปสากล และจะเข้าร่วมการประชุมด้วยตำแหน่งของเธอ เมื่อเธอได้รับแต่งตั้งให้ดำรงตำแหน่งในปี 2021 เธอกล่าวถึงพระสันตะปาปาฟรังซิสว่า "กล้าหาญ" ที่ผลักดันการมีส่วนร่วมของผู้หญิงให้เกิดขึ้นอย่างจริงจัง
ภายในสิ้นเดือนพฤษภาคม 2023 กลุ่มภูมิภาค 7 กลุ่ม จะเสนอชื่อสมาชิกที่ไม่ใช่บิชอป 20 ชื่อต่อพระสันตะปาปาฟรังซิส ซึ่งจะคัดเลือกให้เหลือทีละ 10 ชื่อ เพื่อให้รวมเป็น 70 ชื่อ ในที่สุด
พระคาร์ดินัลมาริโอ เกรช (Cardinal Mario Grech) ผู้รับผิดชอบสมัชชาบิชอปสากลเน้นย้ำว่า ด้วยการเปลี่ยนแปลง ตัวแทน 21% ที่รวมตัวกันในการประชุมเดือนตุลาคมจะไม่ใช่บิชอป โดยครึ่งหนึ่งเป็นสตรี
โดยยอมรับความไม่สบายใจในลำดับชั้นของวิสัยทัศน์ของพระสันตะปาปาฟรังซิสในเรื่องการมีส่วนร่วม เขาย้ำว่าสมัชชาเองจะยังคงให้บิชอปส่วนใหญ่เรียกร้องเรื่องนี้ต่อไป
ฮอลเลอริช (Hollerich) ปฏิเสธที่จะบอกว่าสมาชิกสตรีในการประชุมจะเป็นที่รู้จักได้อย่างไร เนื่องจากสมาชิกเป็นที่รู้จักกันในชื่อ "บิดาของสมัชชา" (Synodal fathers) มานานแล้ว เมื่อถูกถามว่าพวกเขาจะถูกเรียกว่า “มารดาของสมัชชา” (Synodal mothers) หรือไม่ เขาตอบว่าขึ้นอยู่กับผู้หญิงที่จะตัดสินใจ
พระสันตะปาปาฟรังซิสสนับสนุน คำสั่งห้ามของศาสนจักรคาทอลิกในการบวชสตรีเป็นนักบวช แต่ทรงทำมากกว่าพระสันตะปาปาองค์ใดในช่วงที่ผ่านมา เพื่อให้สตรีมีบทบาทในการตัดสินใจในพระศาสนจักรมากยิ่งขึ้น
พระองค์ได้แต่งตั้งผู้หญิงหลายคนให้ดำรงตำแหน่งระดับสูงของวาติกัน แม้ว่าจะไม่มีผู้หญิงเป็นหัวหน้าสำนักงานหรือหน่วยงานสำคัญ ๆ ของวาติกัน หรือที่เรียกว่าสมณกระทรวง (Dicasteries) ก็ตาม