#คริสตชนในเมียนมาร์ฉลองคริสต์มาสอย่างเงียบๆขณะที่กลุ่มกบฏยังคงโจมตีต่อไป (Myanmar Christians observe silent Christmas as rebel offensive continues)
ชุมชนคริสตชนในเมียนมาร์ที่เสียหายจากสงคราม ได้เฉลิมฉลองคริสต์มาสที่สงบลงในปีนี้ เพื่อแสดงความเป็นน้ำหนึ่งใจเดียวกันกับผู้พลัดถิ่น จากความขัดแย้งภายในระหว่างรัฐบาลเผด็จการทหารและกลุ่มกบฏชาติพันธุ์ โดยที่ประชาชนหลายแสนคนถูกบังคับให้ออกจากบ้าน
กองทัพอยู่ในอำนาจตั้งแต่วันที่ 2 กุมภาพันธ์ 2021 เมื่อพวกเขาถอดถอนนางอองซานซูจีที่ได้รับการเลือกตั้งตามระบอบประชาธิปไตย ซึ่งกำหนดกฎเกณฑ์อันโหดร้ายเหนือประเทศเพื่อทำลายการต่อต้านใด ๆ ก็ตาม
ตั้งแต่นั้นมา คริสตชนในพื้นที่ส่วนใหญ่ของรัฐคะฉิ่น คะยา ชิน และกะเหรี่ยง ไม่สามารถเฉลิมฉลองคริสต์มาสและปีใหม่ได้เนื่องจากการต่อสู้กัน
#มีผู้พลัดถิ่นอย่างน้อย 2.6 ล้านคน (At least 2.6 million displaced)
ความขัดแย้งได้ทวีความรุนแรงยิ่งขึ้นในช่วงสองเดือนที่ผ่านมา หลังจากที่กลุ่มพันธมิตรสามภราดรภาพ (3BHA) รวบรวมกลุ่มติดอาวุธชาติพันธุ์ 3 กลุ่ม ได้แก่ กองทัพปลดปล่อย กองทัพอาระกัน และกองทัพพันธมิตรประชาธิปไตยแห่งชาติเมียนมาร์ เปิดฉากการรุกครั้งใหญ่ทั่วรัฐฉานทางตอนเหนือของประเทศ ขณะนี้การต่อสู้ได้แพร่กระจายไปยังส่วนอื่น ๆ ในเมียนมาร์ รวมถึงรัฐคะยา ชิน และคะฉิ่น
สหประชาชาติระบุว่า มีผู้พลัดถิ่นแล้วมากกว่า 660,000 คน นับตั้งแต่การปราบปรามของทหารเริ่มต้นเมื่อวันที่ 27 ตุลาคม ส่งผลให้จำนวนผู้พลัดถิ่นทั้งหมดในเมียนมาร์อยู่ที่ประมาณ 2.6 ล้านคน ตามการระบุของสหประชาชาติ
#หลายสังฆมณฑลได้รับผลกระทบจากสงครามระหว่างรัฐบาลเผด็จการทหารกับกลุ่มกบฏ (Dioceses affected by the war between military junta and rebels)
สิบสองสังฆมณฑล รวมทั้งลอยก่อ เปคอน มัณฑะเลย์ จาก 16 สังฆมณฑลในประเทศแถบเอเชียได้รับผลกระทบจากความขัดแย้งนับตั้งแต่เกิดรัฐประหารในปี 2021
ในเดือนพฤศจิกายน พระสังฆราชเซลโซ บา ชเว แห่งลอยก่อ (Bishop Celso Ba Shwe of Loikaw) ถูกบังคับให้หนีออกจากสำนักบิชอปพร้อมกับคุณพ่อและซิสเตอร์ หลังจากที่กองทัพเข้ายึดอาสนวิหารพระคริสตกษัตริย์ และครึ่งหนึ่งของวัดในสังฆมณฑลถูกละทิ้งโดยคริสตชน เพราะต้องอพยพไปอยู่ที่อื่นพร้อมกับคุณพ่อเจ้าอาวาสของพวกเขา
ในสารคริสต์มาสของท่านพระสังฆราชชเว (Bishop Shwe) ได้เชิญชวนชุมชนคาทอลิกในท้องถิ่นอย่าท้อแท้กับเหตุการณ์เหล่านี้ โดยเรียกร้องให้คริสตชนทำตามพระประสงค์ของพระเจ้า วางใจในพระองค์ ให้กำลังใจ และดูแลซึ่งกันและกัน “แสดงความรักและทำความดี”
วัดและอารามในสังฆมณฑลลาเสี้ยว (Lashio Diocese) ในรัฐฉานก็ได้รับความเสียหายเช่นกัน
ตามที่รายงานโดยสำนักข่าวยูคา (Uca News) ในรัฐคะฉิ่น คะยา ชิน และกะเหรี่ยง คริสตชนคาทอลิกได้ตัดสินใจที่จะเฉลิมฉลองคริสต์มาสแบบเงียบ ๆ เพื่อแสดงความเป็นน้ำหนึ่งใจเดียวกันกับผู้พลัดถิ่นจากสงคราม การเฉลิมฉลองคริสต์มาสเกิดขึ้นในเมืองใหญ่อื่น ๆ เช่น มัณฑะเลย์และย่างกุ้ง
#วิกฤติโรฮิงญา (The Rohingya crisis)
ขณะเดียวกัน ในขณะที่สงครามยังดุเดือดในเมียนมาร์ ชาวโรฮิงญาไร้สัญชาติหลายแสนคนถูกบังคับให้ออกจากบ้านในรัฐยะไข่ของเมียนมาร์ โดยสิ่งที่เรียกว่า "ปฏิบัติการกวาดล้าง" ที่ดำเนินการโดยกองทัพในปี 2016 และ 2017 ยังคงหลบหนีไปยังประเทศที่ปลอดภัยกว่า
การทำรัฐประหารในปี 2021 ส่งผลกระทบต่อประชากรชาวโรฮิงญาในเมียนมาร์อย่างไม่สมสัดส่วน และเพิ่มความเสี่ยงให้พวกเขามากขึ้น พวกเขาส่วนใหญ่ได้เข้าไปลี้ภัยในประเทศบังกลาเทศ ซึ่งมีผู้คนเกือบหนึ่งล้านคนอาศัยอยู่ในสภาพที่ย่ำแย่ในค่ายผู้ลี้ภัย
หลายคนพยายามหลบหนีไปยังประเทศอื่น ๆ ในเอเชีย โดยเสี่ยงภัยครั้งใหญ่ รวมถึงการข้ามทะเลที่เป็นอันตราย แต่ถูกมาเลเซีย ไทย และอินโดนีเซียในปัจจุบันผลักดันออกไป
#อินโดนีเซียขับไล่ชาวโรฮิงยาให้ถอย ท่ามกลางความไม่พอใจที่เพิ่มมากขึ้นของชาวท้องถิ่น (Indonesia pushing back Rohingyas amid growing resentment of local residents)
จนกระทั่งเมื่อไม่นานมานี้ อินโดนีเซียเป็นที่รู้จักในด้านการจัดหาแหล่งหลบภัยให้กับชาวโรฮิงญา อย่างไรก็ตาม จำนวนเรือที่มาถึงเพิ่มขึ้นอย่างกะทันหันในช่วงสัปดาห์ที่ผ่านมา กระตุ้นให้เกิดความไม่พอใจเพิ่มมากขึ้นในจังหวัดอาเจะห์
เมื่อต้นสัปดาห์นี้ มีรายงานว่ากลุ่มนักศึกษากลุ่มหนึ่งได้บุกโจมตีห้องใต้ดินของศาลาชุมชนท้องถิ่นแห่งหนึ่งในกรุงบันดาอาเจะห์ ซึ่งเป็นเมืองหลวง ซึ่งมีชาวโรฮิงญาประมาณ 137 คนพักพิงอยู่ และเรียกร้องให้กลุ่มนี้ถูกส่งตัวกลับประเทศ สำนักงานข้าหลวงใหญ่ผู้ลี้ภัยแห่งสหประชาชาติ (The United Nations High Commissioner for Refugees หรือ UNHCR) UNHCR) ซึ่งเป็นหน่วยงานผู้ลี้ภัยแห่งสหประชาชาติ กล่าวว่าเหตุการณ์ดังกล่าว “รู้สึกไม่สบายใจอย่างยิ่ง”
ความเป็นปรปักษ์ต่อชาวโรฮิงญาที่เพิ่มมากขึ้นได้กดดันรัฐบาลของประธานาธิบดี โจโค วิโดโด (President Joko Widodo) ให้ดำเนินการ และเมื่อวันพุธ กองทัพเรืออินโดนีเซียได้ผลักเรือลำหนึ่งที่บรรทุกผู้ลี้ภัยชาวโรฮิงญาที่กำลังเข้าใกล้ชายฝั่งของจังหวัด
อินโดนีเซียได้ร้องขอต่อประชาคมระหว่างประเทศเพื่อขอความช่วยเหลือและเพิ่มการลาดตระเวนในน่านน้ำของตน โดยสัญญาว่าจะปราบปรามผู้ต้องสงสัยค้ามนุษย์ ที่อินโดนีเซียระบุว่ามีส่วนเกี่ยวข้องกับเรือที่มาถึงระลอกล่าสุด
#ก้าวไปกับโป๊ป 435 #peace #สันติภาพ #peace #justiceandpeace #justice #สันติภาพ #ความยุติธรรม #ยุติธรรมและสันติ #ความยุติธรรมในสังคม #สันติภาพในโลก #chanthaburidiocese