Homeบทความบทความ :: คุณพ่อนุพันธุ์ ทัศมาลีก้าวไปกับโป๊ปก้าวไปกับโป๊ป #571 : กฎเกณฑ์ใหม่เกี่ยวกับปรากฏการณ์เหนือธรรมชาติที่เกิดขึ้น (Vatican releases new norms on alleged supernatural phenomena)

ก้าวไปกับโป๊ป #571 : กฎเกณฑ์ใหม่เกี่ยวกับปรากฏการณ์เหนือธรรมชาติที่เกิดขึ้น (Vatican releases new norms on alleged supernatural phenomena)

#กฎเกณฑ์ใหม่เกี่ยวกับปรากฏการณ์เหนือธรรมชาติที่เกิดขึ้น (Vatican releases new norms on alleged supernatural phenomena)

เมื่อวันศุกร์ที่ 17 พฤษภาคม 2024 สมณสภาเพื่อข้อความเชื่อ (Dicastery for the Doctrine of the Faith) ได้เผยแพร่กฎเกณฑ์ใหม่เกี่ยวกับกรณีของปรากฏการณ์เหนือธรรมชาติที่ได้รับรายงาน ตามกฎแล้ว ทั้งบิชอปท้องถิ่นและสันตะสำนักจะไม่ประกาศว่าปรากฏการณ์เหล่านี้มีต้นกำเนิดเหนือธรรมชาติ แต่จะอนุญาตและส่งเสริมความเชื่อและการแสวงบุญเท่านั้น กฎเกณฑ์นี้จะมีผลบังคับใช้ในวันอาทิตย์ที่ 19 พฤษภาคม 2024 ซึ่งเป็นวันสมโภชพระจิตเจ้าเป็นต้นไป

เอกสารนี้เริ่มต้นด้วยคำกล่าวของพระคาร์ดินัล วิกเตอร์ มานูเอล เฟอร์นันเดซ (Cardinal Víctor Manuel Fernández) สมณมนตรีของสมณสภาฯ ตามด้วยคำนำ และข้อสรุปที่เป็นไปได้ 6 ประการ ขั้นตอนนี้ช่วยให้ตัดสินใจได้เร็วขึ้นในขณะที่เคารพศรัทธาประชานิยมขอประชาชน (popular devotion/popular piety)

ตามกฎแล้ว อำนาจของพระศาสนจักร จะไม่มีส่วนร่วมในการกำหนดลักษณะเหนือธรรมชาติของปรากฏการณ์อย่างเป็นทางการอีกต่อไป ซึ่งเป็นกระบวนการที่อาจต้องใช้เวลาจำนวนมากในการศึกษาเหตุการณ์อย่างละเอียด

กฎเกณฑ์ใหม่อีกประการหนึ่งเกี่ยวข้องกับการมีส่วนร่วมอย่างชัดเจนของสมณสภาฯ ซึ่งต้องอนุมัติการตัดสินใจขั้นสุดท้ายของบิชอปประจำท้องถิ่น และมีอำนาจเข้าแทรกแซง (Motu proprio) ได้ตลอดเวลา

หลายกรณีในช่วงไม่กี่ทศวรรษที่ผ่านมา เกี่ยวข้องกับสำนักงานของสมณสภาฯ ในอดีต แม้ว่าบิชอปแต่ละคนจะยืนยันถึงเหตุการณ์ที่เกิดขึ้นด้วยตนเองก็ตาม อย่างไรก็ตาม การแทรกแซงมักจะอยู่เบื้องหลังและไม่เคยเปิดเผยต่อสาธารณะ

การมีส่วนร่วมอย่างชัดเจนครั้งใหม่ของสมณสภาฯ ยังเกี่ยวข้องกับความยากลำบากในการกำหนดขอบเขตปรากฏการณ์ ซึ่งในบางกรณีไปถึงมิติระดับชาติและระดับโลก “หมายความว่าการตัดสินใจในสังฆมณฑลหนึ่งจะส่งผลที่ตามมาในที่อื่น ๆ ด้วย”

#เหตุผลสำหรับบรรทัดฐานใหม่ (Reasons for the new norms)

เอกสารดังกล่าวมาจากประสบการณ์อันยาวนานของศตวรรษที่ผ่านมา ซึ่งเห็นกรณีที่บิชอปท้องถิ่น หรือบิชอปของภูมิภาค ได้ประกาศอย่างรวดเร็วถึงการรับรองปรากฏการณ์เหนือธรรมชาติต่าง ๆ แต่มีแค่เพียงสมณสภาฯ เท่านั้น ที่มีอำนาจตัดสินใจรับรองต่อเหตุการณ์ที่เกิดขึ้น ยังมีอีกหลายกรณีที่บิชอปท้องถิ่นรับรองเหตุการณ์ที่เกิดขึ้น แต่ผู้สืบทอดตำแหน่งของท่านมีความคิดเห็นในทางตรงกันข้าม

แต่ละเหตุการณ์ยังต้องใช้ระยะเวลาในการไตร่ตรองที่ยาวนาน ในการประเมินองค์ประกอบทั้งหมด เพื่อที่จะตัดสินใจว่า เหตุการณ์ที่เกิดขึ้นเป็นเรื่องเหนือธรรมชาติจริง ๆ หรือไม่ ซึ่งอาจจะทำให้รู้สึกว่า ไม่ทันต่อการตอบสนองทางด้านงานอภิบาลในทันทีเพื่อความดีของบรรดาผู้ที่มีความเชื่อ

สมณสภาฯ ได้เริ่มแก้ไขกฎเกณฑ์นี้ในปี 2019 ซึ่งนำไปสู่เอกสารในปัจจุบันที่ได้รับการอนุมัติจากพระสันตะปาปาฟรังซิสเมื่อวันที่ 4 พฤษภาคม 2024 ที่ผ่านมา

#ผลฝ่ายวิญญาณและข้อควรระมัดระวัง (Spiritual fruits and risks)

พระคาร์ดินัลเฟอร์นันเดซอธิบายว่า “หลายครั้ง เหตุการณ์เหล่านี้นำไปสู่ความสมบูรณ์พูนผลทางวิญญาณ การเติบโตในความเชื่อ การอุทิศตน ภราดรภาพ และการรับใช้ ในบางกรณี สิ่งเหล่านี้ได้ก่อให้เกิดวิหารทั่วโลก ซึ่งเป็นหัวใจสำคัญของความเชื่ออันเป็นที่นิยมของผู้คนจำนวนมากในปัจจุบัน”

อย่างไรก็ตาม มีความเป็นไปได้เช่นกันว่า “ในบางเหตุการณ์ที่มีการกล่าวอ้างว่า มีต้นกำเนิดเหนือธรรมชาติ” อาจเกิดปัญหาร้ายแรงซึ่งเป็นอันตรายต่อผู้ที่มีความเชื่อเกิดขึ้น ซึ่งไปเกี่ยวข้องกับ “การแสวงหาผลกำไร อำนาจ ชื่อเสียง การยอมรับทางสังคม หรือผลประโยชน์ส่วนตัวอื่น ๆ” (II, ข้อ 15, 4°) ยิ่งไปกว่านั้น อาจเป็นการ “พยายามควบคุมผู้คนหรือล่วงละเมิดผู้อื่น” (II ข้อ 16)”

อาจมี “ข้อผิดพลาดด้านหลักคำสอน การทำให้พระวรสารดูเหมือนว่าเรียบง่ายเกินไป หรือการเผยแพร่แนวคิดเรื่องนิกายใหม่ ๆ” มีความเป็นไปได้ที่ผู้ที่มีความเชื่อ “จะถูกหลอกโดยเหตุการณ์ที่มีสาเหตุมาจากความคิดริเริ่มอันศักดิ์สิทธิ์ แต่เป็นเพียงเพราะเกิดขึ้นจากจินตนาการของใครบางคน ความปรารถนาในสิ่งแปลกใหม่ แนวโน้มที่จะสร้างเรื่องเท็จ (เทพนิยาย) หรือการโน้มเอียงไปสู่การโกหก”

#แนวทางทั่วไป (General guidelines)

ตามกฎเกณฑ์ใหม่ พระศาสนจักรจะปฏิบัติหน้าที่แห่งการไตร่ตรองตามสิ่งต่อไปนี้:

“1) มีสัญญาณของการกระทำอันศักดิ์สิทธิ์สามารถยืนยันได้ในปรากฏการณ์ที่ถูกกล่าวหาว่ามีต้นกำเนิดเหนือธรรมชาติหรือไม่;

2) มีสิ่งใดที่ขัดแย้งกับความเชื่อและศีลธรรมในงานเขียนหรือข้อความของผู้ที่เกี่ยวข้องกับปรากฏการณ์ที่ถูกกล่าวหาหรือไม่

3) อนุญาตให้ชื่นชมผลทางจิตวิญญาณของพวกเขา ไม่ว่าพวกเขาจำเป็นต้องได้รับการชำระให้บริสุทธิ์จากองค์ประกอบที่เป็นปัญหาหรือไม่ หรือว่าผู้ที่มีความเชื่อควรได้รับการเตือนเกี่ยวกับความเสี่ยงที่อาจเกิดขึ้นหรือไม่

4) เป็นการสมควรหรือไม่ที่เจ้าหน้าที่ของพระศาสนจักร (พระสงฆ์) ผู้มีอำนาจจะตระหนักถึงคุณค่าทางอภิบาลของตน” (1, 10)

อย่างไรก็ตาม “ไม่ได้เป็นการระบุว่า ผู้ที่มีอำนาจใจพระศาสนจักรต้องรับรองหรือเห็นชอบกับเหตุการณ์เหนือธรรมชาติที่เกิดขึ้นเหล่านี้ทุกกรณีเสมอไป” (I, 11)

ดังนั้น ตามกฎแล้ว “ทั้งบิชอปของสังฆมณฑล หรือสภาบิชอป หรือสมณสภาฯ จะไม่ประกาศรับรองว่าปรากฏการณ์เหล่านี้ว่ามีต้นกำเนิดเหนือธรรมชาติอย่างแท้จริง แม้ว่าจะได้รับการรับรองว่าไม่มีอะไรขัดขวางหรือตรงกันข้ามกับความเชื่อ (Nihil obstat)  ก็ตาม ซึ่งต้องรอการประกาศจากพระสันตะปาปาก่อนทุกกรณี” (1, 23)

#ข้อสรุปที่เป็นไปได้เกี่ยวกับปรากฏการณ์ที่ถูกอ้างถึง (Possible conclusions regarding an alleged phenomenon)

การแยกแยะปรากฏการณ์เหนือธรรมชาติที่ถูกกล่าวหาอาจมีข้อสรุป 6 ประการ ได้ดังต่อไปนี้

1. #ไม่มีอะไรที่เป็นอุปสรรค (Nihil Obstat) โดยไม่ต้องมีการรับรองใด ๆ เกี่ยวกับความถูกต้องของเหตุการณ์เหนือธรรมชาติที่เกิดขึ้น แต่มีสัญญาณหลายอย่างเกิดขึ้น ซึ่งได้รับการยอมรับว่าเป็นผลมาจากพระจิตเจ้า บิชอปท้องถิ่นได้รับการสนับสนุนให้ชื่นชมคุณค่าของการอภิบาลและส่งเสริมการเผยแพร่ปรากฏการณ์นี้ รวมถึงการแสวงบุญ

2. #ควรนำมาซึ่งการไตร่ตรอง (Prae oculis habeatur) แม้ว่าสัญญาณเชิงบวกที่สำคัญจะได้รับการยอมรับ แต่ก็มีบางอย่างยังคงอยู่ในความสับสนหรือมีความเสี่ยงบางประการที่อาจเป็นไปได้เช่นกัน ซึ่งกำหนดให้บิชอปของสังฆมณฑลต้องมีส่วนร่วมในการไตร่ตรองอย่างรอบคอบ และสนทนากับผู้รับประสบการณ์ทางวิญญาณที่ได้รับ หากมีงานเขียนหรือข้อความ อาจจำเป็นต้องมีการชี้แจงหลักคำสอน

3. #ภัณฑารักษ์/ผู้ดูแลพิพิธภัณฑ์/ผู้ดูแลทรัพย์สมบัติ (Curatur) ในกรณีที่ปรากฏการณ์เหนือธรรมชาติได้แพร่ขยายออกไปอย่างกว้างขวางแล้ว และเกิดผลทางจิตวิญญาณที่ตรวจสอบได้ซึ่งเกิดขึ้นจากปรากฎการณ์ดังกล่าว ดังนั้น จึงไม่แนะนำให้ห้ามซึ่งอาจทำให้ผู้ที่มีความเชื่อไม่พอใจ แต่บิชอปท้องถิ่นควรพิจารณาถึงปรากฏการณ์ที่เกิดขึ้นนี้ต่อไป

4. #คำสั่งย่อย (Sub mandato) ประเด็นสำคัญไม่ได้เชื่อมโยงกับปรากฏการณ์ที่เกิดขึ้น แต่เกี่ยวข้องกับการใช้งานที่ไม่เหมาะสมโดยบุคคลหรือกลุ่มบุคคล เช่น การได้รับผลประโยชน์ทางการเงินเกินควร หรือการกระทำที่ผิดศีลธรรม สันตะสำนักจะมอบหมาย/แต่งตั้งให้บิชอปประจำสังฆมณฑล หรือผู้แทนที่ได้รับมอบหมายให้เป็นผู้นำด้านการอภิบาล ณ สถานที่ใดสถานที่หนึ่งโดยเฉพาะ

5. #ข้อห้ามและอุปสรรค (Prohibetur et obstruatur) แม้จะมีองค์ประกอบเชิงบวกเกิดขึ้นหลายประการ แต่ก็มีประเด็นสำคัญและความเสี่ยงที่เกี่ยวข้องกับปรากฏการณ์นี้เกิดขึ้นร้ายแรงด้วยเช่นกัน สมณสภาขอให้บิชอปท้องถิ่นเสนอคำสอนที่จะช่วยให้ผู้ที่มีความเชื่อเข้าใจเหตุผลของการตัดสินใจ และปรับประเด็นทางจิตวิญญาณของพวกเขาให้ถูกต้อง

6. #ประกาศว่าไม่เป็นปรากฏการณ์เหนือธรรมชาติ (Declaratio de non supernaturalitate) สมณสภาฯ อนุญาตให้บิชอปท้องถิ่นประกาศว่า ปรากฏการณ์ดังกล่าวพบว่าไม่ใช่เรื่องเหนือธรรมชาติโดยอาศัยข้อเท็จจริงและหลักฐานที่เป็นรูปธรรม เช่น คำสารภาพของผู้ถูกกล่าวหาว่ามีวิสัยทัศน์ หรือคำให้การที่น่าเชื่อถือเกี่ยวกับการปรากฏการณ์เท็จที่เกิดขึ้น

#ขั้นตอนการปฏิบัติตาม (Procedures to follow)

กฎเกณฑ์ใหม่จะระบุขั้นตอนที่ต้องดำเนินการ ขึ้นอยู่กับบิชอปสังฆมณฑลที่จะตรวจสอบคดีต่าง ๆ และส่งคำตัดสินให้สมณสภาฯ อนุมัติ ขอให้บิชอปสังฆมณฑลงดเว้นจากการประกาศต่อสาธารณะเกี่ยวกับความถูกต้องของปรากฏการณ์เหนือธรรมชาติ และเพื่อให้แน่ใจว่าจะไม่มีความสับสน หรือความรู้สึกที่เกินจริง

หากองค์ประกอบของกรณีนี้ “ดูเหมือนเพียงพอ” บิชอปสังฆมณฑลจะตั้งคณะกรรมการสอบสวน ซึ่งควรจะประกอบด้วยนักเทววิทยาอย่างน้อยหนึ่งคน นักกฎหมายพระศาสนจักรหนึ่งคน และผู้เชี่ยวชาญอีกหนึ่งคนที่ได้รับเลือกตามลักษณะของปรากฏการณ์ที่เกิดขึ้น

#กฎเกณฑ์ด้นบวกและด้านลบ (Positive and negative criteria)

เอกสารดังกล่าวได้วางกฎเกณฑ์เชิงบวกหลายประการเพื่อประเมินปรากฏการณ์เหนือธรรมชาติที่เกิดขึ้น

ได้แก่ “ความน่าเชื่อถือและชื่อเสียงที่ดีของบุคคลที่อ้างว่าเป็นผู้ได้รับเหตุการณ์เหนือธรรมชาติ หรือมีส่วนเกี่ยวข้องโดยตรงกับเหตุการณ์นั้น ตลอดจนชื่อเสียงของพยานที่ได้รับฟัง...; เนื้อแท้ของหลักคำสอนที่เกิดขึ้นในปรากฏการณ์และข้อความใด ๆ ที่เกี่ยวข้อง ลักษณะที่ไม่อาจคาดเดาได้ของปรากฏการณ์ ซึ่งเห็นได้ชัดว่าไม่ได้เป็นผลมาจากความคิดริเริ่มของประชาชนที่เกี่ยวข้อง และผลของชีวิตคริสตชน” (II, 14)

เกณฑ์เชิงลบเกี่ยวข้องกับ “ความเป็นไปได้ของข้อผิดพลาดอย่างชัดแจ้งเกี่ยวกับเหตุการณ์; ข้อผิดพลาดด้านหลักคำสอนที่อาจเกิดขึ้น...; จิตวิญญาณแห่งนิกายใหม่ที่ก่อให้เกิดความแตกแยกในพระศาสนจักร การแสวงหาผลกำไร อำนาจ ชื่อเสียง การยอมรับทางสังคม หรือผลประโยชน์ส่วนตัวอื่น ๆ ที่เกี่ยวข้องอย่างใกล้ชิดกับงานดังกล่าวอย่างเปิดเผย การกระทำที่ผิดศีลธรรมอย่างร้ายแรง…; การเปลี่ยนแปลงทางจิตวิทยาหรือแนวโน้มทางจิตในบุคคลที่อาจมีอิทธิพลต่อเหตุการณ์เหนือธรรมชาติที่ถูกกล่าวหา และโรคจิต และองค์ประกอบอื่น ๆ ที่สามารถสืบย้อนไปถึงบริบททางพยาธิวิทยา” (II, 15)

ท้ายที่สุด “การใช้ประสบการณ์เหนือธรรมชาติ หรือองค์ประกอบลึกซึ้งที่อ้างว่าเป็นวิธีการหรือข้ออ้างในการพยายามควบคุมผู้คนหรือล่วงละเมิดบุคคลอื่น” (II, 16) ถือเป็นความผิดทางศีลธรรมโดยเฉพาะ

โดยไม่คำนึงถึงการตัดสินใจขั้นสุดท้ายที่ได้รับอนุมัติ บิชอปสังฆมณฑล “ต้องเฝ้าดูปรากฏการณ์นี้และผู้คนที่เกี่ยวข้องต่อไป โดยใช้อำนาจตามปกติของท่าน” (II, 24)

#ก้าวไปกับโป๊ป 571

#chanthaburidiocese

สถิติการเยี่ยมชม

10485748
Today
Yesterday
This Week
Last Week
This Month
Last Month
All days
181
3833
6724
10448190
6724
124638
10485748
Your IP: 3.145.34.237
Server Time: 2024-12-03 00:32:01

แบบฟอร์ม

instagram

พระศาสนจักร


สื่อ YOUTUBE


Laudato si’

บทเรียนคำสอน





บทภาวนา

พิธีกรรมต่างๆ

เอกสารพระศาสนจักร

บทความคำสอน



KAMSONCHAN

 

   องค์กรคาทอลิก              คณะนักบวช  
 

สภาพระสังฆราชคาทอลิกแห่งประเทศไทย
คณะกรรมการคาทอลิกเพื่อคริสตศาสนธรรม
แผนกคริสตศาสนธรรม
อัครสังฆมณฑลกรุงเทพฯ
ศูนย์คริสตศาสนธรรม อัครสังฆมณฑลกรุงเทพฯ
สังฆมณฑลจันทบุรี
คณะรักกางเขนแห่งจันทบุรี
มูลนิธิสงเคราะห์เด็ก พัทยา
คามิลเลียนโซเชียลเซนเตอร์ ระยอง

  สังฆมณฑลนครราชสีมา                       
ศูนย์คริสตศาสนธรรม สังฆมณฑลนครราชสีมา
สังฆมณฑลอุบลราชธานี
ศูนย์คริสตศาสนธรรม สังฆมณฑลอุบลราชธานี   
สังฆมณฑลราชบุรี
ศูนย์คริสตศาสนธรรม สังฆมณฑลราชบุรี
ศูนย์คริสตศาสนธรรม สังฆมณฑลราชบุรี
สังฆมณฑลนครสวรรค์
สังฆมณฑลเชียงใหม่
  สังฆมณฑลสุราษฎ์ธานี
สังฆมณฑลอุดรธานี
ศูนย์คริสตศาสนธรรม สังฆมณฑลอุดรธานี

สภาการศึกษาคาทอลิกประเทศไทย
คณะกรรมการคาทอลิกเพื่อความยุติธรรมและสันติ (ยส.)
คณะกรรมการคาทอลิกเพื่อพระคัมภีร์
คณะกรรมการคาทอลิกเพื่อสุขภาพอนามัย
สื่อมวลชนคาทอลิกประเทศไทย
สื่อมวลชนคาทอลิกประเทศไทย (อุดมสาร)
  ชมรมอธิการิณีเจ้าคณะนักบวชแห่งประเทศไทย
คณะภคินีเซนต์ปอลเดอร์ชาร์ต
คณะภคินีศรีชุมพาบาล       
คณะพระมหาไถ่แห่งประเทศไทย
คณะเซนต์คาเบรียล
คณะซาเลเซียน
คณะซาเลเซียน (ซิสเตอร์)
กางเขนแดงสาร

 



JSN Megazine template designed by JoomlaShine.com