#ให้เรามาทำงานร่วมกันเพื่อโลกทั้งหมดมากขึ้น ('Pope to Buddhists: 'Let’s work together for a more inclusive world')
เมื่อวันจันทร์ที่ 27 พฤษภาคม 2024 พระสันตะปาปาฟรังซิสทรงต้อนรับคณะพระภิกษุจากวัดพระเชตุพนฯ (หรือวัดโพธิ์) กรุงเทพฯ ซึ่งเป็นหนึ่งในวัดพุทธศาสนาที่สำคัญที่สุดในประเทศไทย ทรงสนับสนุนให้พวกท่านส่งเสริมการเสวนาและความร่วมมือเพื่อโลกที่ดีกว่าต่อไป
พระสันตะปาปาฟรังซิสทรงย้ำถึงความสำคัญของการทำงานร่วมกันอย่างแน่นแฟ้นระหว่างพระศาสนจักรคาทอลิกและศาสนาพุทธ เพื่อจัดการกับความท้าทายเร่งด่วนที่โลกแตกสลายของเราในปัจจุบัน
คณะพระภิกษุนี้มีจำนวนประมาณ 100 รูป จากวัดพระเชตุพลฯ กรุงเทพฯ พระองค์ได้ทรงแสดงความขอบคุณอย่างสุดซึ้งและซาบซึ้งสำหรับ "มิตรภาพที่ยั่งยืน" และความเต็มใจที่จะทำงานร่วมกัน "เพื่อนำแสงแห่งความหวัง" ไปสู่มนุษยชาติของเราที่กำลังได้รับบาดเจ็บ
#การรักษามนุษยชาติและโลกที่ได้รับบาดเจ็บด้วยกัน (Healing a wounded humanity and earth together)
ในคำปราศรัยต่อคณะพระภิกษุ พระสันตะปาปาฟรังซิสทรงระลึกถึง “การต้อนรับและมิตรไมตรีอันแสนพิเศษ” ที่พระองค์ทรงได้รับระหว่างเสด็จเยือนประเทศไทยในปี 2019 และการประชุมสัมมนาพุทธ-คริสต์ ครั้งที่ 7 ซึ่งจัดขึ้นที่กรุงเทพฯ เมื่อเดือนพฤศจิกายนปี 2023 ซึ่งมีผู้เข้าร่วมประมาณ 150 คนจากภาคส่วนต่าง ๆ ของทวีปเอเชีย ในหัวข้อ “ความกรุณาและความรักฉันท์พี่น้องในการเสวนาเพื่อการเยียวยามนุษยชาติและโลกที่ได้รับบาดเจ็บ” (Karuna and Agape in Dialogue for the Healing of a Wounded Humanity and the Earth)
จากคำแถลงการณ์สุดท้ายของการประชุมสัมมนาที่ผู้เข้าร่วม “ให้ร่วมกันหยั่งรากลึกในธรรมประเพณีทางศาสนาของตน” มุ่งมั่นที่จะ “ทำงานร่วมกับทุกคน” เพื่อ “นำแสงแห่งความหวังไปสู่มนุษยชาติที่สิ้นหวัง” ท่ามกลาง “เมฆดำ” ที่ปกคลุมโลกทุกวันนี้
“ทุกวันนี้มนุษยชาติและโลก ซึ่งเป็นบ้านส่วนรวมของเรา ได้รับบาดเจ็บจริงๆ! สงครามมากมาย ผู้คนมากมายที่สูญเสียทุกสิ่งทุกอย่างและถูกบังคับให้หนี เด็กจำนวนมากได้รับผลกระทบจากความรุนแรง”
#ไม่มีใครได้รับความรอดพ้นแต่เพียงผู้เดียว (No one is saved alone)
พระสันตะปาปาฟรังซิสกล่าวถึงประเด็นสำคัญสามประการที่เน้นย้ำในระหว่างการประชุมสัมมนา คือ
1) #ไม่มีใครรอดได้โดยลำพัง
2) #เราจะรอดได้ด้วยกันเท่านั้น
3) #เนื่องจากเราเชื่อมโยงถึงกันและพึ่งพาอาศัยซึ่งกันและกัน
เมื่อคำนึงถึงสัจธรรมดังกล่าว พระองค์จึงทรงแบ่งปันกับพระภิกษุให้ “ทำงานร่วมกับทุกคนต่อไป” ได้แก่ ภาคประชาสังคม สมาชิกของศาสนาอื่น รัฐบาล องค์กรระหว่างประเทศ องค์กรวิชาการและวิทยาศาสตร์ และผู้มีส่วนได้ส่วนเสียอื่น ๆ ทั้งหมด “ให้ส่งเสริมมิตรภาพที่ค้ำจุนสันติภาพและภราดรภาพ และสร้างโลกทั้งหมดมากขึ้น”
#การดูแลซึ่งกันและกันและสิ่งแวดล้อม (Caring for one another and for the environment)
การสัมมนาในประเทศไทยยังเน้นย้ำถึงความสำคัญของการให้ความรู้แก่ทุกคน โดยเฉพาะอย่างยิ่ง กับเยาวชนและเด็ก “ในการดูแลและแบ่งปันความสัมพันธ์ระหว่างกันและสิ่งแวดล้อม” ตลอดจนการสวดมนต์และการทำสมาธิที่ “สามารถพลิกสถานการณ์ด้วยการชำระจิตใจและความคิดของเราให้สะอาดบริสุทธิ์” ทำให้เกิดความรักความอ่อนโยน ความเมตตา และการให้อภัยแทนที่ความเกลียดชังและการแก้แค้น ทำให้เกิดความเคารพและห่วงใยผู้อื่นและโลก”
#ส่งเสริมการเสวนาและความร่วมมือกับพระศาสนจักรคาทอลิกต่อไป (Continue to foster dialogue and cooperation with the Catholic Church)
พระสันตะปาปาฟรังซิสทรงกล่าวว่า จะมีการอธิษฐานภาวนาร่วมกันในวันอังคารที่ 28 พฤษภาคม 2024 นี้ ณ พระวิหารพระนางมารีย์ในย่านชุมชนตราสเตเวเร (Basilica of Santa Maria in Trastevere) กรุงโรม
พระสันตะปาปาฟรังซิสทรงขอบคุณคณะพระภิกษุสงฆ์ไทยที่มาเยือนอย่างอบอุ่น และทรงขอให้พวกท่าน “ส่งเสริมการเสวนาและความร่วมมือต่อไป โดยเฉพาะอย่างยิ่ง กับพระศาสนจักรคาทอลิกในประเทศไทย ด้วยจิตวิญญาณแห่งมิตรภาพที่ยั่งยืน”
#ก้าวไปกับโป๊ป 582 #PopetoBuddhists #Buddhists #โป๊ปกับพระภิกษุ #ecumenism #interfaith #interreligious #interreligiousdialogue #dialogue #faith #faiths #peace #justiceandpeace #justice #คริสตสัมพันธ์ #คริสตศาสนจักรสัมพันธ์ #ศาสนสัมพันธ์ #เสวนา #สันติภาพ #ความยุติธรรม #ยุติธรรมและสันติ #สังฆมณฑลจันทบุรี #chanthaburidiocese