Homeบทความบทความ :: คุณพ่อนุพันธุ์ ทัศมาลีก้าวไปกับโป๊ปก้าวไปกับโป๊ป #593 : พระสันตะปาปาฟรังซิสทรงสอนคำสอนในโรงรถของคอนโดมิเนียมในกรุงโรม (Pope Francis gives catechesis in garage of Roman condominium)

ก้าวไปกับโป๊ป #593 : พระสันตะปาปาฟรังซิสทรงสอนคำสอนในโรงรถของคอนโดมิเนียมในกรุงโรม (Pope Francis gives catechesis in garage of Roman condominium)

#พระสันตะปาปาฟรังซิสทรงสอนคำสอนในโรงรถของคอนโดมิเนียมในกรุงโรม (Pope Francis gives catechesis in garage of Roman condominium)

สำหรับการพบปะครั้งที่สามของ 'โรงเรียนแห่งการอธิษฐานภาวนา' (School of Prayer) เพื่อเตรียมพร้อมสำหรับปีศักดิ์สิทธิ์ยูบีลี 2025 พระสันตะปาปาฟรังซิสได้พบกับกลุ่มคริสตชนที่ไม่ได้นัดหมายล่วงหน้าประมาณ 30 ครอบครัว ในโรงรถคอนโดมิเนียมของชาวโรมในเขตวัดบริเวณชานเมืองทางตะวันตกของกรุงโรม ทรงเทศน์สอนว่า ในขณะที่การดิ้นรนต่อสู้เป็นเรื่องปกติธรรมดา เราจะต้องพยายามจะแก้ไข หรือทำให้ดีขึ้นกว่าเดิม

ครังนี้สถานที่แห่งการพบปะ ไม่ใช่ห้องโถงหรือโรงละคร แต่เป็นโรงจอดรถของคอนโดมิเนียมที่มีพื้นกรวด กำแพงอิฐ ต้นไม้ และไม้เลื้อยอยู่รอบ ๆ โดยมีบานประตูหน้าต่างซ่อนรถที่จอดอยู่และผู้พักอาศัยจ้องมองจากระเบียงห้องของตน

ตรงกลางมีเก้าอี้นวมตัวหนึ่ง ข้างหน้ามีครอบครัว คู่รัก ลูก ๆ เยาวชน และคริสตชนจากวัดนักบุญบริดเจ็ตแห่งสวีเดนอยู่ประมาณ 30 ครอบครัว ซึ่งบางคนมาถึงหลังจากการประชุมได้เริ่มต้นแล้ว สวมรองเท้าแตะ หรือเสื้อผ้าที่ใส่อยู่ที่บ้านแบบธรรมดา

ในจำนวนนั้นมีผู้หญิงคนหนึ่งรีบวิ่งลงบันไดลงมาและพยายามจะจัดทรงผมของเธอ พร้อมกับพูดว่า “โอ้พระเจ้า ช่างน่าประหลาดใจจริง ๆ คุณน่าจะบอกกับฉันก่อนหน้านี้!”

#ครอบครัวหลังจากเด็กและวัยรุ่น (Families after children and teenagers)

หลังจากพบปะกับเด็ก ๆ และเยาวชนในโครงการโรงเรียนแห่งการอธิษฐานภาวนาในที่อื่น ๆ ที่ผ่านมา ในช่วงบ่ายของวันพฤหัสบดีที่ 6 มิถุนายน 2026 พระสันตะปาปาฟรังซิสต้องการพบปะกับครอบครัวต่าง ๆ ในย่านปาลมาโรลา (Palmarola) ในพื้นที่บอร์กาต้า ออตตาเวีย (Borgata Ottavia) ของกรุงโรม ในเขตชานเมืองทางตะวันตกสุดของเมือง

มีคู่สมรสใหม่ ปู่ย่าตายาย กลุ่มเยาวชนของวัด ทารก และเด็กที่มีจุกนมหลอก กลุ่มสตรีจากกลุ่มภาวนาเซเนเกิ้ล (Senegal) ชายที่นับถือศาสนาคริสต์นิกายออร์โธดอกซ์ และประธานเขต

กล่าวโดยสรุป การต้อนรับพระองค์คือมนุษยชาติที่หลากหลาย ซึ่งได้รับแจ้งในนาทีสุดท้ายของชั่วโมงพิเศษของการสอนคำสอนในช่วงบ่ายของวันนั้น

#การมาถึงและความประหลาดใจ (The arrival and surprise)

เมื่อรถยนต์เฟียตรุ่น 500แอล (Fiat 500L) ของพระสันตะปาปาฟรังซิสขับเข้ามา ณ สถานที่แห่งนั้น ประมาณ 17.00 น. บนทางลาดของอาคารบนถนนปาลมาโรลา (Via Palmarola) โดยที่กำแพงยังอยู่ระหว่างการก่อสร้าง ผู้คนมีความเงียบในช่วงแรก เบิกตากว้างสองสามครั้ง และสมาร์ทโฟนบางเครื่องพร้อมที่จะจับภาพเหตุการณ์ดังกล่าว จากนั้นพระสันตะปาปาฟรังซิสทรงกล่าวทักทายทุกคนว่า “สวัสดีตอนเย็นทุกคน” เสียงปรบมือดังได้เกิดขึ้นพร้อมกับคำพูดว่า “ขอให้พระองค์ทรงพระเจริญ” (Viva il Papa!)

พระสันตะปาปาฟรังซิสทรงเดินผ่ากลางฝูงชนเป็นช่วงระยะเวลาสั้น ๆ โดยทรงแจกขนม หยุดถ่ายภาพเซลฟี่สั้น ๆ มีผู้หญิงคนหนึ่งก้าวไปข้างหน้าถามพระองค์ว่า “คุณช่วยอธิษฐานภาวนาเพื่อแม่ของฉันได้ไหม” พระสันตะปาปาฟรังซิสทรงอวยพรให้กับเธอ

จากนั้น พระสันตะปาปาฟรังซิสทรงประทับบนเก้าอี้เท้าแขน ทรงตอบคำถามให้กับผู้เข้าร่วมเรียนคำสอนในวันนั้น

#ประการแรก พระสันตะปาปาฟรังซิสดูขบขันกับสถานที่ที่ไม่ธรรมดา: “กำแพง… ต้นไม้… มะเขือเทศ…” จากนั้นทรงทักทายกลุ่มที่อยู่ตรงหน้าพระองค์ว่า “คุณเป็นครอบครัว คนหนุ่มสาว เด็กวัยุร่น ผู้สูงวัย เป็นครอบครัวเสมอ”

#ไม่ท้อแท้กับลมพายุ (Not discouraged by "storms")

พระสันตะปาปาฟรังซิสตรัสเกี่ยวกับครอบครัว ความท้าทาย และความยากลำบาก ความงดงามและศักยภาพสำหรับพระศาสนจักรและสังคม ทั้งในสิ่งที่พระองค์เรียกว่า “บทเทศน์” แบบติดตลก และในช่วงถามตอบยาว 45 นาทีต่อมา

“มาปกป้องครอบครัวซึ่งจำเป็นต่อการเลี้ยงดูลูกกันเถอะ” ในขณะที่พระองค์ทรงรับทราบถึงการทะเลาะวิวาท การโต้เถียง และบางครั้งการแยกจากกันซึ่งพระองค์ทรงเรียกว่า “พายุ” อย่างหลีกเลี่ยงไม่ได้ ซึ่งไม่ควรทำให้ท้อแท้ใจ

“ถ้าพ่อแม่ทะเลาะกันก็เป็นเรื่องปกติ แต่ควรสงบศึกก่อนสิ้นวัน เพราะสงครามเย็นในวันรุ่งขึ้นจะเลวร้าย” พระองค์ทรงย้ำหลายครั้ง โดยเน้นคำสำคัญสามคำที่เรียบง่าย แต่ย้ำมาตลอดการเป็นพระสันตะปาปาของพระองค์ นั่นก็คือ #ขอโทษ #ได้โปรด และ #ขอบคุณ แม้แต่การขอบคุณที่เรียบง่ายที่สุดก็ยังสร้างความแตกต่างได้

“ขอบคุณที่ทำอาหารเย็นดี ๆ นี้…” แม้คำพูดที่พูดออกไปไม่ได้ทำให้สถานการณ์มันดีขึ้น ก็ให้แสดงท่าทีเล็ก ๆ น้อย ๆ เพื่อพยายามสร้างความสงบสุขให้เกิดขึ้นอีกครั้ง และเริ่มต้นชีวิตใหม่ในวันรุ่งขึ้น

#เด็กๆกำลังดูพวกเราอยู่ ("The children are watching us")

ขั้นตอนเล็ก ๆ น้อย ๆ ในแต่ละวันเหล่านี้ มีความสำคัญอย่างยิ่งสำหรับเด็ก ๆ “เด็ก ๆ กำลังดูพวกเราอยู่” ดังเช่นภาพยนตร์ปี 1944 ของวิตโตริโอ เด ซิกา (Vittorio De Sica) และเตือนว่าเมื่อพวกเขาดูพ่อแม่ทะเลาะกัน พวกเขาต้องทนทุกข์ทรมานเมื่อพ่อแม่ของพวกเขาไม่เข้าใจกัน

ผู้ปกครองที่แยกทางกันไม่ควรพูดจาดูถูกกัน แต่ควรให้ความรู้แก่บุตรหลานเกี่ยวกับความเคารพซึ่งกันและกัน

#เยาวชนจงสืบสานประวัติศาสตร์ (The mandate to young people: carry forward the history)

คนหนุ่มสาว 4 คนจากวัด ได้ถามพระสันตะปาปาฟรังซิสว่า ทุกวันนี้เราจะเพิ่มความเชื่อของเราได้อย่างไร? พระสันตะปาปาฟรังซิสทรงตอบว่า “วิธีเดียวคือการประจักษ์พยาน พวกคุณมีหน้าที่ที่ในการสืบสานประวัติศาสตร์ เมื่อเราล้มลงเราต้องรีบลุกขึ้นใหม่ และก้าวต่อไปข้างหน้า สิ่งสวยงามอย่างหนึ่งเกี่ยวกับคนหนุ่มสาว คือการที่พวกคุณลุกขึ้น เราทุกคนล้มลงในชีวิตได้ แต่สิ่งสำคัญคืออย่าหยุดหากคุณล้มลง”

#พ่อผู้เป็นผู้นำ ("A father who leads...")

ชายคนหนึ่งแสดงความปรารถนาที่จะมีวัดที่ใหญ่ขึ้นในบริเวณนั้น เพื่อใช้เป็นที่นัดพบสำหรับผู้ที่อาศัยอยู่ในละแวกนั้นทั้งหมด

ผู้หญิงคนหนึ่งพูดออกมาว่า “ฉันอยากจะร้องไห้ ขอบคุณพระสันตะปาปาที่เสด็จมาที่นี่ นับตั้งแต่วันเด็กสากลเป็นต้นมา จากสุนทรพจน์ของพระองค์และสิ่งที่มาถึงเรา พระองค์คือบิดาที่เป็นผู้นำชุมชนใหญ่ในเรื่องเล็ก ๆ น้อย ๆ ที่แท้จริง การได้เห็นพระองค์ในที่นี่หน้ากำแพงอิฐ เป็นสิ่งที่น่าสะเทือนใจมากที่สุด เพราะพรุ่งนี้เราจะมีการฉลองวัดของเรา วัดที่มีฝนรั่วอยู่ตลอดเวลา เราไม่มีแม้แต่ยางมะตอยที่จะซ่อมแซมมัน แต่มันก็ไม่สำคัญ เราจะใช้มันต่อไป และการปรากฏตัวของพระองค์ที่นี่ ทำให้เรารู้สึกว่า พระองค์เป็นส่วนหนึ่งของชุมชนของเรา”

#ปรีชาญาณของผู้สูงอายะและคำสัญญาของเด็กๆ (The elderly, wisdom. The children, a promise)

ท่ามกลางเสียงหัวเราะและเสียงปรบมือ พระสันตะปาปาฟรังซิสทรงเชื่อมโยงประเด็นสุดท้ายนี้ว่า “พระศาสนจักรเริ่มเป็นรูปเป็นร่างในชุมชน” และทรงขอร้องอีกครั้งหนึ่งว่า #อย่าละเลยผู้สูงอายุ และเลี้ยงดูลูก ๆ วัดที่ไม่มีเสียงของเด็กและละเลยผู้สูงอายุ ไม่ใช่ชุมชนคริสตชนที่แท้จริง อย่าลืมว่าผู้สูงอายุคือความทรงจำ ส่วนบรรดาเด็ก ๆ คือพระสัญญา”

“อย่าลืมผู้สูงอายุที่เป็นความทรงจำของประชากรของพระเจ้า เป็นเรื่องจริงที่บางครั้งผู้สูงอายุก็อาจจะน่าเบื่อ มักจะพูดถึงสิ่งเดียวกันเสมอ เช่น สงคราม ฯลฯ แต่เรามีความอ่อนโยนอย่างมาก “เด็ก ๆ เข้าใจภาษาแห่งความอ่อนโยน”

#การรักและกันแบบครอบครัว (Loving each other as family)

เมื่อพูดถึงลูก ๆ มีพ่อสองคนเป็นฝาแผดกัน หนึ่งในนั้นถามพระสันตะปาปาว่า จะรักษาความเชื่อในช่วงเวลาที่ยากลำบากเหล่านี้ได้อย่างไร? และจะเลี้ยงดูลูกให้ใกล้ชิดกับพระศาสนจักรได้อย่างไร? แม้ว่าพวกเขาจะได้รับศีลกำลังแล้วก็ตาม

“การเป็นประจักษ์พยาน” เป็นคำตอบอีกครั้ง โดยพื้นฐานแล้วเป็นคนที่เกิดในครอบครัว “คำแนะนำประการแรกคือ พ่อแม่ต้องรักกัน เพราะลูก ๆ ต้องรู้สึกว่าพ่อกับแม่รักกัน ถ้าต้องทะเลาะกันก็อย่าทำต่อหน้าลูก ส่งพวกเขาเข้านอนจากนั้นจึงโต้เถียงมากเท่าที่พวกคุณต้องการ”

#การให้ความรู้อย่างมีอิสระ (Educating with freedom)

พื้นฐานที่เท่าเทียมกันคือการพูดคุยกับลูก ๆ ของคุณ “อย่าหยุดที่จะพูดคุยกับพวกเขา การเรียนรู้เกิดขึ้นผ่านการพูดคุย โดยไม่ต้อง "ทิ้งพวกเขาไว้ตามลำพัง" โดยไม่สร้างเรื่องอื้อฉาวหรือกดดันพวกเขา แต่สุดท้ายก็ปล่อยให้พวกเขาเป็นอิสระ นี่เป็นแนวทางที่ดีที่สุด

“ทำให้พวกเขาเข้าใจว่า พวกเขาสามารถพูดได้ทุกเรื่อง เกี่ยวกับทุกสิ่ง”

“บทเรียนของชีวิตเรียนรู้ได้ที่บ้าน ไม่ใช่จากคนอื่นที่จะสอนให้ใครรู้อะไร”

#การทักทายและมอบของขวัญ (Greetings and gifts)

การเรียนคำสอนจบลงด้วยการที่พระสันตะปาปาฟรังซิส ทรงทักทายทุกคนที่มาร่วมงาน สวมกอด แจกสายประคำ ถ่ายรูป และแม้กระทั่งสนทนากับ “คุณย่ามาเรีย” ผ่านทางสไกป์ (Skype) ทางโทรศัพท์ของหลานชาย “สวัสดี สวดเผื่อฉันด้วย!” พระสันตะปาปาฟรังซิสตรัสกับเธอ

เพื่อเป็นของขวัญสำหรับครอบครัวเหล่านี้ พระสันตะปาปาฟรังซิสทรงมอบรูปพระแม่มารีอุ้มพระกุมารเยซูเจ้าให้พวกเขา พร้อมกับตรัสว่า "เก็บไว้ในบ้าน" เพื่อเป็นความทรงจำที่จับต้องได้ของการพบกันที่ไม่มีผู้ใดคาดคิดมาก่อน

#ก้าวไปกับโป๊ป 593 #kamsonchanthaburi #catechesis #catechesisofchanthaburi #คำสอนจันท์ #chanthaburidiocese #สังฆมณฑลจันทบุรี

สถิติการเยี่ยมชม

10486201
Today
Yesterday
This Week
Last Week
This Month
Last Month
All days
634
3833
7177
10448190
7177
124638
10486201
Your IP: 3.138.122.90
Server Time: 2024-12-03 00:57:52

แบบฟอร์ม

instagram

พระศาสนจักร


สื่อ YOUTUBE


Laudato si’

บทเรียนคำสอน





บทภาวนา

พิธีกรรมต่างๆ

เอกสารพระศาสนจักร

บทความคำสอน



KAMSONCHAN

 

   องค์กรคาทอลิก              คณะนักบวช  
 

สภาพระสังฆราชคาทอลิกแห่งประเทศไทย
คณะกรรมการคาทอลิกเพื่อคริสตศาสนธรรม
แผนกคริสตศาสนธรรม
อัครสังฆมณฑลกรุงเทพฯ
ศูนย์คริสตศาสนธรรม อัครสังฆมณฑลกรุงเทพฯ
สังฆมณฑลจันทบุรี
คณะรักกางเขนแห่งจันทบุรี
มูลนิธิสงเคราะห์เด็ก พัทยา
คามิลเลียนโซเชียลเซนเตอร์ ระยอง

  สังฆมณฑลนครราชสีมา                       
ศูนย์คริสตศาสนธรรม สังฆมณฑลนครราชสีมา
สังฆมณฑลอุบลราชธานี
ศูนย์คริสตศาสนธรรม สังฆมณฑลอุบลราชธานี   
สังฆมณฑลราชบุรี
ศูนย์คริสตศาสนธรรม สังฆมณฑลราชบุรี
ศูนย์คริสตศาสนธรรม สังฆมณฑลราชบุรี
สังฆมณฑลนครสวรรค์
สังฆมณฑลเชียงใหม่
  สังฆมณฑลสุราษฎ์ธานี
สังฆมณฑลอุดรธานี
ศูนย์คริสตศาสนธรรม สังฆมณฑลอุดรธานี

สภาการศึกษาคาทอลิกประเทศไทย
คณะกรรมการคาทอลิกเพื่อความยุติธรรมและสันติ (ยส.)
คณะกรรมการคาทอลิกเพื่อพระคัมภีร์
คณะกรรมการคาทอลิกเพื่อสุขภาพอนามัย
สื่อมวลชนคาทอลิกประเทศไทย
สื่อมวลชนคาทอลิกประเทศไทย (อุดมสาร)
  ชมรมอธิการิณีเจ้าคณะนักบวชแห่งประเทศไทย
คณะภคินีเซนต์ปอลเดอร์ชาร์ต
คณะภคินีศรีชุมพาบาล       
คณะพระมหาไถ่แห่งประเทศไทย
คณะเซนต์คาเบรียล
คณะซาเลเซียน
คณะซาเลเซียน (ซิสเตอร์)
กางเขนแดงสาร

 



JSN Megazine template designed by JoomlaShine.com