Homeบทความบทความ :: คุณพ่อนุพันธุ์ ทัศมาลีก้าวไปกับโป๊ปก้าวไปกับโป๊ป #615 : เน้นเรื่องบทบาทของสตรีและความรับผิดชอบในเอกสารประกอบการสมัชชาสมัยที่ 2 (Emphasis on women and accountability in document for second Synod session)

ก้าวไปกับโป๊ป #615 : เน้นเรื่องบทบาทของสตรีและความรับผิดชอบในเอกสารประกอบการสมัชชาสมัยที่ 2 (Emphasis on women and accountability in document for second Synod session)

#เน้นเรื่องบทบาทของสตรีและความรับผิดชอบในเอกสารประกอบการสมัชชาสมัยที่ 2 (Emphasis on women and accountability in document for second Synod session)

เมื่อวันอังคารที่ 9 กรกฎาคม 2024 สำนักข่าวสันตะสำนักได้เผยแพร่เอกสารประกอบการสมัชชาสมัยสามัญ ครั้งที่ 16 สมัยที่ 2 ระหว่างวันที่ 2-27 ตุลาคม 2024 (Instrumentum Laboris หรือ IL) จุดเน้นประการหนึ่งของเอกสารคือ ความต้องการความโปร่งใสและความรับผิดชอบ และบทบาทของสตรีในพระศาสนจักร

#เราจะเป็นพระศาสนจักรที่ก้าวเดินไปด้วยกันได้อย่างไร? นั่นคือคำถามที่เป็นหัวใจของเอกสารนี้

เอกสารนี้จะช่วยพิจารณาว่า พระศาสนจักรโดยรวมจะสามารถตอบสนองต่อ "ความจำเป็นในการเป็น 'พระศาสนจักรที่ก้าวเดินไปในพันธกิจ' ได้อย่างไร นั่นก็คือ เพื่อเป็นพระศาสนจักรที่ใกล้ชิดกับผู้คน มีระบบเอกสารน้อยลง โดยที่ผู้รับศีลล้างบาปแล้วทุกคนอยู่ในพันธกิจและบทบาทที่แตกต่างกัน รับผิดชอบร่วมกันและมีส่วนร่วมในชีวิตของพระศาสนจักร

#ห้าส่วนของเอกสาร (The five parts of the document)

เอกสารนี้มีโครงสร้าง 5 ส่วน ได้แก่ บทนำ แนวความคิดพื้นฐาน และเนื้อหา 3 ส่วน

บทนำชวนให้นึกถึงการเดินทางที่มาไกล และเน้นย้ำถึงเหตุการณ์สำคัญที่ได้เกิดขึ้นมาแล้ว เช่น การใช้ระเบียบวิธีการของการก้าวเดินไปด้วยกันในการสนทนาทางด้านจิตวิญญาณอย่างกว้างขวาง

ในบทนำ (ข้อ 1-18) จึงอาศัยความเข้าใจเรื่องการก้าวเดินไปด้วยกัน ซึ่งถูกมองว่าเป็นเส้นทางแห่งการกลับใจและปฏิรูป ในโลกที่เต็มไปด้วยความแตกแยกและความขัดแย้ง เน้นย้ำว่าพระศาสนจักรได้รับเรียกให้เป็นสัญลักษณ์ของความเป็นหนึ่งเดียวกัน เป็นเครื่องมือของการปรองดองและการรับฟังทุกคน โดยเฉพาะอย่างยิ่ง สำหรับคนยากจน คนชายขอบ และชนกลุ่มน้อยที่ถูกกีดกันจากผู้มีอำนาจ

#บทบาทของสตรีในพระศาสนจักร (Valuing women in the Church)

แนวความคิดพื้นฐาน (ข้อ 13-18) ได้ไตร่ตรองบทบาทของสตรีในทุกด้านของชีวิตพระศาสนจักร โดยเน้นย้ำถึง "ความจำเป็นในการให้การยอมรับอย่างเต็มที่มากขึ้น" ต่อความสามารถพิเศษ และกระแสเรียกของพวกเธอ

“พระเจ้าทรงเลือกผู้หญิงเป็นพยานคนแรก และผู้ประกาศเรื่องการกลับคืนพระชนม์” ดังนั้น "โดยอาศัยศีลล้างบาป พวกเขามีความเสมอภาคอย่างเต็มที่ โดยได้รับพระพรจากพระจิตเจ้าเช่นเดียวกัน และถูกเรียกให้รับใช้พันธกิจของพระคริสตเจ้า"

#การมีส่วนร่วมและความรับผิดชอบ (Participation and responsibility)

ในบางวัฒนธรรม "บทบาทของผู้ชายยังคงเข้มแข็งอยู่" ดังนั้น การประชุมสมัชชาสมัยที่สองนี้ จึงเรียกร้องให้ “บรรดาสตรีมีส่วนร่วมมากขึ้นในกระบวนการตัดสินใจของพระศาสนจักร และในทุกขั้นตอนของกระบวนการตัดสินใจ” ควบคู่ไปกับ “การเข้าถึงตำแหน่งที่รับผิดชอบในสังฆมณฑล และโครงสร้างการทำงานของพระศาสจักรให้กว้างขวางขึ้น” เช่น ในสามเณราลัย, สถาบันต่าง ๆ, คณะเทววิทยา, และ "การเพิ่มจำนวนผู้พิพากษาหญิงในกระบวนการกฎหมายของพระศาสนจักร"

ข้อเสนอแนะยังเกี่ยวข้องกับบรรดาสตรีที่ถวายตัวแล้วด้วย โดยเน้นย้ำถึงความจำเป็นในการ “ได้รับการยอมรับและสนับสนุนมากขึ้น” ต่อชีวิตและความสามารถพิเศษของพวกเขา ควบคู่ไปกับ “การจ้างงานในตำแหน่งที่รับผิดชอบ”

#การไตร่ตรองทางเทววิทยาเกี่ยวกับสังฆานุกรหญิงยังคงดำเนินต่อไป (Theological reflection on female diaconate continues)

ในส่วนของการรับผู้หญิงให้ทำหน้าที่เป็นสังฆานุกร ตามข้อเรียกร้องจาก "พระศาสนจักรท้องถิ่นบางแห่ง" ในขณะที่บางแห่ง "ยังคงไม่เห็นด้วย" (ข้อ 17) มีข้อสังเกตว่า ในหัวข้อนี้จะไม่ถูกกล่าวถึงในการสมัชชาในครั้งนี้ ส่วน "การไตร่ตรองทางเทววิทยาในเรื่องนี้ควรดำเนินต่อไป"

อย่างไรก็ตาม การไตร่ตรองเกี่ยวกับบทบาทของสตรี "เน้นให้เห็นถึงความปรารถนาที่จะเสริมสร้างพันธกิจทั้งหมดที่ฆราวาส (ชายและหญิง) สามารถปฏิบัติได้" และยังตั้งข้อสังเกตถึงคำขอสำหรับ "ชายและหญิงที่ได้รับการฝึกอบรมมาอย่างดีเพียงพอ เพื่อมีส่วนร่วมในการประกาศพระวาจาของพระเจ้า รวมทั้งในระหว่างพิธีบูชาขอบพระคุณด้วย” (ข้อ 18)

#เนื้อหาส่วนที่ 1 - ความสัมพันธ์กับพระเจ้า ระหว่างพี่น้อง และระหว่างพระศาสนจักร (Part I - Relationships with God, among brothers and sisters, and among the Churches)

หลังจากบทนำและแนวความคิดพื้นฐานที่มุ่งเน้นไปที่ความสัมพันธ์ (ข้อ 22-50) ที่ทำให้พระศาสนจักรสามารถก้าวเดินไปด้วยกันในพันธกิจ นั่นคือ ความสัมพันธ์กับพระเจ้าพระบิดา ท่ามกลางพี่น้องชายหญิง และท่ามกลางพระศาสนจักรต่าง ๆ

พระพรพิเศษ ศาสนบริกร และศาสนบริกรที่ได้รับศีลบวชแล้วจึงมีความสำคัญในโลก โดยเฉพาะอย่างยิ่ง ในโลกที่กำลังแสวงหาความยุติธรรม สันติภาพ และความหวัง ท่ามกลางความขัดแย้งต่าง ๆ มากมาย

จากสังฆมณฑลต่าง ๆ มีเสียงของคนหนุ่มสาวที่ดังออกมาเช่นกัน ผู้ร้องขอพระศาสนจักรที่ไม่ใช่โครงสร้างหรือระบบราชการ แต่ตั้งอยู่บนความสัมพันธ์ที่ดำเนินชีวิตและขับเคลื่อนโดยพลวัตและหนทางต่าง ๆ

จากมุมมองนี้ สมัชชาเดือนตุลาคม 2024 จะสามารถช่วยกระตุ้นให้พระศาสนจักรมีทัศนคติแห่ง “การรับฟังและความร่วมมือ” กันมากยิ่งขึ้น

#เนื้อหาส่วนที่ 2 – เส้นทางการอบรมและการวิเคราะห์แยกแยะของชุมชน (Part II – Formative paths and community discernment)

ความสัมพันธ์เหล่านี้ควรได้รับการพัฒนาอันอยู่บนหนทางชีวิตของคริสตชน (ข้อ 51-79) ของการอบรมและ "การวิเคราะห์แยกแยะในชุมชน" ซึ่งช่วยให้พระศาสนจักรสามารถตัดสินใจได้อย่างเหมาะสม แสดงออกถึงความรับผิดชอบ และการมีส่วนร่วมของทุกคน

มี "โรงเรียนแห่งความเป็นหนึ่งเดียวกัน" ในการสืบสานจากรุ่นสู่รุ่น ทุกคน “ผู้อ่อนแอและผู้เข้มแข็ง ทั้งเด็กและผู้ใหญ่ ผู้ที่รับมากก็ควรจะให้มาก” (ข้อ 55)

#ความสำคัญของความรับผิดชอบ (The importance of accountability)

“พระศาสนจักรที่ก้าวเดินไปด้วยกัน ต้องการทั้งวัฒนธรรมและการปฏิบัติในเรื่องความโปร่งใสและความรับผิดชอบ ซึ่งจำเป็นต่อการส่งเสริมความไว้วางใจซึ่งกันและกันที่จำเป็นสำหรับการก้าวไปด้วยกัน และใช้ความรับผิดชอบร่วมกันเพื่อประโยชน์ของพันธกิจส่วนรวม” (ข้อ 73)

ในปัจจุบัน "ความต้องการความโปร่งใสและความรับผิดชอบ ทั้งภายในและโดยการดำเนินงานของพระศาสนจักร ได้เกิดขึ้นอันเป็นผลมาจากเรื่องอื้อฉาวทางการเงินที่เกิดขึ้น และยิ่งกว่านั้นคือ การล่วงละเมิดทางเพศและการละเมิดอื่น ๆ ต่อผู้เยาว์และบุคคลที่มีความอ่อนแอ" (ข้อ 75)

#เนื้อหาส่วนที่ 3 – สถานที่ของการทำคริสตศาสนจักรสัมพันธ์และศาสนสัมพันธ์ (Part III – Places of ecumenical and interreligious dialogue)

การสมัชชาส่งเสริมสถานที่และความสัมพันธ์ทุกรูปแบบ ที่จะทำให้การทำคริสตศาสนจักรสัมพันธ์และศาสนสัมพันธ์เป็นรูปเป็นร่าง พยายามเอาชนะทัศนคติคงที่แบบเดิม ๆ ที่ไม่เปลี่ยนแปลง อาศัยการยอมรับประสบการณ์ทางศาสนาอันหลากหลาย ด้วยการเสวนาระหว่างศาสนาคริสต์นิกายต่าง ๆ  หว่างศาสนา และระหว่างวัฒนธรรม  (ข้อ 80-108)

ในบริบทนี้จะทำให้เราได้ค้นพบรูปแบบใหม่ของการประกาศพระวรสารที่สืบทอดตำแหน่งมาจากนักบุญเปโตร เปิดกว้างไปสู่สถานการณ์ใหม่ ๆ  ของการเดินทางด้านคริสตศาสนจักรสัมพันธ์ (ข้อ 102 และ 107) ต่อไป

#การจาริกแห่งความหวัง (Pilgrims of hope)

เอกสารนี้ปิดท้ายด้วยคำเชื้อเชิญให้เดินทางต่อไปในฐานะ "ผู้จาริกแห่งความหวัง" ในมุมมองของปีศักดิ์สิทธิ์ยูบีลี 2025 (ข้อ 112)

ภาพ: การทำสมัชชาสมัยที่ 1 ในเดือนตุลาคม 2023

#ก้าวไปกับโป๊ป 615 #synodality #synod #synodal #synodalchurch #generalassembly #สมัชชา #สมัชชาบิชอปสากล #สมัชชาบิชอปสากลครั้งที่16 #การก้าวเดินไปด้วยกัน #ก้าวไปด้วยกัน #สังฆมณฑลจันทบุรี #chanthaburidiocese

สถิติการเยี่ยมชม

10392887
Today
Yesterday
This Week
Last Week
This Month
Last Month
All days
1006
3712
4718
10361496
38501
133621
10392887
Your IP: 52.14.0.59
Server Time: 2024-11-11 04:30:25

แบบฟอร์ม

instagram

พระศาสนจักร


สื่อ YOUTUBE


Laudato si’

บทเรียนคำสอน





บทภาวนา

พิธีกรรมต่างๆ

เอกสารพระศาสนจักร

บทความคำสอน



KAMSONCHAN

 

   องค์กรคาทอลิก              คณะนักบวช  
 

สภาพระสังฆราชคาทอลิกแห่งประเทศไทย
คณะกรรมการคาทอลิกเพื่อคริสตศาสนธรรม
แผนกคริสตศาสนธรรม
อัครสังฆมณฑลกรุงเทพฯ
ศูนย์คริสตศาสนธรรม อัครสังฆมณฑลกรุงเทพฯ
สังฆมณฑลจันทบุรี
คณะรักกางเขนแห่งจันทบุรี
มูลนิธิสงเคราะห์เด็ก พัทยา
คามิลเลียนโซเชียลเซนเตอร์ ระยอง

  สังฆมณฑลนครราชสีมา                       
ศูนย์คริสตศาสนธรรม สังฆมณฑลนครราชสีมา
สังฆมณฑลอุบลราชธานี
ศูนย์คริสตศาสนธรรม สังฆมณฑลอุบลราชธานี   
สังฆมณฑลราชบุรี
ศูนย์คริสตศาสนธรรม สังฆมณฑลราชบุรี
ศูนย์คริสตศาสนธรรม สังฆมณฑลราชบุรี
สังฆมณฑลนครสวรรค์
สังฆมณฑลเชียงใหม่
  สังฆมณฑลสุราษฎ์ธานี
สังฆมณฑลอุดรธานี
ศูนย์คริสตศาสนธรรม สังฆมณฑลอุดรธานี

สภาการศึกษาคาทอลิกประเทศไทย
คณะกรรมการคาทอลิกเพื่อความยุติธรรมและสันติ (ยส.)
คณะกรรมการคาทอลิกเพื่อพระคัมภีร์
คณะกรรมการคาทอลิกเพื่อสุขภาพอนามัย
สื่อมวลชนคาทอลิกประเทศไทย
สื่อมวลชนคาทอลิกประเทศไทย (อุดมสาร)
  ชมรมอธิการิณีเจ้าคณะนักบวชแห่งประเทศไทย
คณะภคินีเซนต์ปอลเดอร์ชาร์ต
คณะภคินีศรีชุมพาบาล       
คณะพระมหาไถ่แห่งประเทศไทย
คณะเซนต์คาเบรียล
คณะซาเลเซียน
คณะซาเลเซียน (ซิสเตอร์)
กางเขนแดงสาร

 



JSN Megazine template designed by JoomlaShine.com