พระสันตะปาปาฟรังซิสทรงพบปะกับเยาวชนจากภาคต่าง ๆ ของประเทศกรีซ เมื่อเช้าวันจันทร์ที่ 6 ธันวาคม A.D.2021 ที่กรุงเอเธนส์ ก่อนที่พระองค์จะเสด็จกลับกรุงโรม ประเทศอิตาลี ณ โรงเรียนนักบุญดีโอนีซีอุส (Saint Dionysius School) ซึ่งดูแลโดยซิสเตอร์คณะอูร์ซูลิน ด้วยการแบ่งปันประสบการณ์ของเยาวชนจากประเทศฟิลิปปินส์ กรีซ และซีเรีย
มหัศจรรย์แห่งความรักของพระและการให้อภัย (The wonder of God’s love and forgiveness)
จากการแบ่งปันประสบการณ์ของคาเทริน่า บินีบินี่ เยาวชนชาวฟิลิปปินส์ (Katerina Binibini) พระสันตะปาปาฟรังซิสได้ทรงตรัสว่า ความสงสัยเป็นสัญลักษณ์ของการขาดความเชื่อ มืดมน ตรงกันข้าม ความสงสัยก็เป็นวิตามินแห่งความเชื่อ ที่ทำให้เราเข้มแข็งทางความเชื่อ ให้มีสติมากยิ่งขึ้น มีอิสระ และเติบโตเป็นผู้ใหญ่ด้วยเช่นเดียวกัน ความเชื่อเป็นดังการเดินทางไปด้วยกันกับพระเยซูคริสตเจ้าในชีวิตประจำวัน
เราเริ่มต้นวันใหม่ด้วยการส่องกระจกเพื่อมองตนเอง แต่ทำไมไม่เปิดหน้าต่างห้องนอนของเรา แล้วมองไปยังธรรมชาติสวยงามที่อยู่รอบข้างเรา? ถ้าหากธรรมชาติในสายตาของเราสวยงามขนาดนี้ แล้วพวกเราในสายตาของพระเจ้าจะสวยงามขนาดไหน
การรู้จักตนเอง (Know yourself)
ขุมทรัพย์ของเราอยู่ที่เราเป็นใครไม่ใช่สิ่งที่เรามี หรือยี่ห้องของเครื่องประดับที่เราสวมใส่ด้วยวัฒนธรรมของบริโภคนิยม และความงดงามฝ่ายร่างกาย เหมือนกับดอกไม้ไฟที่ถูกจุดขึ้นชั่วคราวแล้วหายไปในอากาศ
เช่นเดียวกัน ความสวยงามของความเชื่อ การเป็นคริสตชนไม่ใช่หน้าที่เท่านั้น แต่เป็นความสวยงาม เยาวชนควรจะพิจารณาถึงความมหัศจรรย์ของสิ่งสร้างต่าง ๆ มิตรภาพ การให้อภัยของพระเจ้า และความงามที่ใบหน้าของเพื่อนมนุษย์คนอื่น
การเผชิญหน้ากับบุคลจริงๆ (Faces of real people)
จากการแบ่งปันของโจอันนา วิดาลี (Ioanna vidali) เยาวชนจากประเทศกรีซ ได้แบ่งปันเกี่ยวกับแม่และยายของเธอ ซึ่งสอนให้เธอได้รู้จักกับการสวดภาวนาและการขอบคุณพระเจ้าในทุก ๆ วัน ซึ่งทำให้เขามีความเชื่อ เราจึงต้องสวดภาวนาต่อพระเจ้าทุกวัน พูดและแบ่งปันความกังวลใจกับพระองค์ เพื่อที่พระเยซูคริสตเจ้าจะได้กลายเป็นเพื่อนของเรา และนำชีวิตของเราไปสู่เบื้องหน้าของพระองค์
การเผชิญหน้ากับความจริงและความเสมือนจริง (Real vs virtual encounters)
โจอันนายังได้แบ่งปันเพิ่มเติมอีกว่า “ชีวิตคือการรับใช้ผู้อื่น และนำความชื่นชมยินดีมาให้กับตนเอง” พระสันตะปาปาฟรังซิสกล่าวว่า การรับใช้คนอื่นไม่ใช่คนอ่อนแอ หรือว่าเป็นผู้แพ้ แต่เป็นผู้ชนะ
คนเราคงความอ่อนเยาว์อยู่เสมอ ไม่ใช่ด้วยการทำท่าทางภายนอกหรือตกแต่งภาพให้สวยงาม แต่อยู่โลกแห่งความเป็นจริง โดยเฉพาะอย่างยิ่ง กับคนที่มีความต้องการ หลายคนในโลกยุคปัจจุบันอยู่ในโลกโซเชียลตลอดเวลา แต่ไม่ค่อยเข้าสังคมเท่าไหร่ พวกเขาติดอยู่กับตนเอง และกลายเป็นนักโทษของโทรศัพท์มือถือในมือของพวกเขา
พวกเราจึงควรปลูกฝังจิตตารมณ์แห่งการอยู่ร่วมกันกับผู้อื่น การเป็นหนึ่งเดียวกัน ความสุขของการแบ่งปัน ความกระตือรือร้นในการรับใช้ รักษาความฝันแห่งความเป็นพี่น้องกัน เพราะการอยู่ร่วมกับคนอื่นเป็นหนทางที่ทำให้เราได้ค้นพบตนเอง
พระสันตะปาปาฟรังซิสยอมรับว่าไม่ใช่เรื่องง่ายที่จะออกจากโลกแห่งความสุขของตัวเอง (Comfort Zone) และออกจากโซฟาหน้าทีวี เราต้องมีส่วนร่วมในออกกำลังกาย (Athletics) เพื่อจิตวิญญาณด้วยการฝึกฝนตนเอง เช่น ให้เปิดใจรับผู้อื่น ทำตามขั้นตอนพิเศษสองสามก้าวเพื่อใกล้ชิดกับผู้อื่นมากขึ้น กระโดดด้วยหัวใจเหนือสิ่งกีดขวาง ยกภาระของกันและกัน ฯลฯ
ฝันให้ใหญ่ (Dream big)
เยาวชนที่แบ่งปันคนที่สามคือ อาบูด กาโบร (Aboud Gabro) ผู้ซึ่งหนีจากสงครามซีเรียไปกับครอบครัวของเขาทางเรือและติดอยู่กับหินในทะเลโดยไม่มีน้ำและอาหาร และรอการช่วยเหลือ ชีวิตของเขาเป็น “การผจญภัยในยุคปัจจุบันอย่างแท้จริง ... ความหมายของชีวิตไม่ได้ถูกค้นพบโดยการนั่งรออยู่ที่ชายหาดเพื่อรอให้สายลมพัดพาสิ่งใหม่ ๆ เข้ามา”
เยาวชนจงอย่าเป็นอัมพาตด้วยความกลัวที่จะฝันถึงสิ่งใหญ่และฝันด้วยกัน เช่นเดียวกับชีวิตของอาบูดที่ได้รับหล่อเลี้ยงด้วยความหวัง การเลือกในสิ่งที่ถูกต้องและการตัดสินใจที่ดีเป็นเรื่องที่เกี่ยวกับผู้อื่นเสมอ ไม่ใช่เพื่อตัวของเราเอง
เยาวชนต้องกล้าที่จะก้าวไปข้างหน้า กล้าที่จะเสี่ยง พวกเขาต้องมีความกล้า ไม่ยึดติดกับโซฟา หรืออยู่กับตนเอง แต่อยู่กับคนอื่นเสมอซึ่งจะทำให้พวกเราได้ค้นพบความหมายที่แท้จริงของชีวิตตนเอง...