สื่อมวลชนคาทอลิกควรตรวจสอบข้อเท็จจริงและให้เกียรติผู้อื่นเสมอ
(Pope to Catholic media: Check facts but always respect people)
เมื่อวันศุกร์ที่ 28 มกราคม ค.ศ. 2022 พระสันตะปาปาฟรังซิสทรงพบปะกับสมาชิกของสมาคมสื่อสารมวลชนคาทอลิกสากล (the International Catholic Media Consortium) ซึ่งเป็นการรวมตัวกันของ 2 เว็บไซต์ 2 คือ Aleteia และ I Media ได้ก่อตั้งเว็บไซต์ที่ชื่อว่า "Catholic FactChecking" (การตรวจสอบข้อเท็จจริงคาทอลิก) เพื่อตรวจสอบข้อเท็จจริงของข่าวสารต่าง ๆ ตั้งแต่ต้นปี ค.ศ. 2021 ที่ผ่านมา
จากการแพร่ระบาดของโควิด-19 ทำให้เกิดข่าวปลอมมากมาย พระสันตะปาปาฟรังซิสจึงให้คำแนะนำบรรดานักสื่อสารมวลชนช่วยกันตรวจสอบข้อเท็จจริง ขณะเดียวกันก็แสดงความเคารพต่อผู้ที่ผลิตและผู้รับข่าวปลอมนั้น พระสันตะปาปาฟรังซิสจึงทรงนำการไตร่ตรองร่วมกันในหัวข้อ การสื่อสารและความจริง
เปิดโปงข่าวปลอม (Unmasking fake news)
พระสันตะปาปาฟรังซิสทรงชื่นชมการทำงานของสมาคมฯ ที่ช่วยกันเปิดโปงข่าวปลอม หรือข้อมูลบางประการที่ไม่ถูกต้องเกี่ยวกับโควิด-19 และคำถามทางด้านศีลธรรมที่เกี่ยวข้อง ซึ่งต้องอาศัยการทำงานร่วมกันของผู้เชี่ยวชาญด้านโรคระบาดวิทยา นักเทววิทยา และนักชีววิทยา สื่อสารมวลชนที่มีบทบาทมากขึ้น ทำให้ผู้สื่อข่าวต้องทำงานด้วยความรอบคอบมากขึ้นด้วยเช่นกัน
“ผู้สื่อสารต้องสังเกตข้อเท็จจริงอย่างรอบคอบ ตรวจสอบความถูกต้อง ประเมินแหล่งที่มาของข้อมูลอย่างมีวิจารณญาณ และสุดท้าย ส่งต่อสิ่งที่ค้นพบ ภาระความรับผิดชอบมีมากขึ้น เมื่อผู้รายงานถูกเรียกให้ไม่เพียงแต่ให้ข้อเท็จจริงง่าย ๆ ของข่าวเท่านั้น แต่ยังต้องอธิบายความหมายโดยให้ความเห็น และองค์ประกอบที่จำเป็นสำหรับการประเมินอย่างยุติธรรม” (สารวันสื่อมวลชนสากลของนักบุญพระสันตะปาปาเปาโลที่ 6 ปี ค.ศ. 1972)
ทำงานร่วมกันเพื่อความจริง (together for truth)
ช่วงระยะเวลาแห่งการแพร่ระบาดของโรคระบาด ก็ได้เกิดการแพร่ระบาดของข้อมูลข่าวสารที่เกิดขึ้นมาพร้อม ๆ กันในโลกของเรา เรียกว่า “การบิดเบือนความจริงอันอยู่บนพื้นฐานของความกลัว” ทำให้เกิดการวิพากษ์วิจารณ์หรือแสดงความคิดเห็นต่อข่าวต่าง ๆ ที่สร้างขึ้นมา การได้รับข่าวสารที่ถูกต้อง ช่วยทำให้เข้าใจสถานการณ์ตามข้อมูลทางวิทยาศาสตร์ ข่าวปลอมไม่ถือว่าเป็นเรื่องของสิทธิมนุษยชน การได้รับข้อมูลข่าวสารที่ถูกต้องเป็นสิ่งที่จำเป็นมากที่สุดเหนือสิ่งอื่นใดสำหรับผู้ที่ไม่มีอาวุธ ผู้ที่อ่อนแอและผู้ที่เปราะบางมากที่สุด
เพื่อความจริงโดยไม่ต่อต้าน (For, not against)
คริสตชนควรจะต่อต้านความอยุติธรรมและการโกหกเสมอ แต่สำหรับบุคคลเสมอ เราไม่ควรมองข้ามความแตกต่างขั้นพื้นฐานระหว่างข้อมูลข่าวสารละประชาชน แม้ว่าพวกเขาจะต้องเผชิญหน้ากับการบิดเบือนข้อมูลก็ตามข่าวปลอมต้องถูกหักล้าง แต่บุคคลแต่ละคนต้องได้รับการเคารพเสมอ เพราะบ่อยครั้งพวกเขาเชื่อโดยปราศจากความตระหนักรู้หรือความรับผิดชอบอย่างเต็มที่ วิธีการนี้เรียกร้องให้นักข่าวคริสตชนมีรูปแบบในการประกาศข่าวดี เป็นผู้สร้างสะพาน ผู้ส่งเสริมสันติภาพ และเหนือสิ่งอื่นใดในการค้นหาความจริง
พระสันตะปาปาฟรังซิสยังเตือนถึงพฤติกรรมที่ขัดแย้งกันและความซื่อตรงต่อวิทยาศาสตร์ ซึ่งมักจะนำไปสู่กระบวนการแก้ไขปัญหา ความเป็นจริงนั้นมีความซับซ้อนกว่าที่เราคิดเสมอ เราต้องเคารพความสงสัย ข้อกังวล และคำถามที่ผู้คนหยิบยกขึ้นมา พยายามที่จะติดตามพวกเขาอย่างไม่ละเลย นักข่าวคริสตชนควรอยู่เคียงข้างผู้คนโดยการให้คำตอบที่เป็นกลางและสมเหตุสมผล
ความจริงนำไปสู่ความเป็นหนึ่งเดียวกัน (Truth, toward communion)
การนำเสนอข่าวดีไม่ควรที่จะคำนึงถึงผลได้ผลเสียงหรือผลประโยชน์ทางด้านการค้ามากเกินไป ยาแก้พิษของการปลอมแปลงทุกประเภท คือการปล่อยให้ความจริงได้ชำระให้บริสุทธิ์ สำหรับคริสตชนความจริงไม่ได้เป็นเพียงแนวคิดที่เกี่ยวข้องกับการตัดสินสิ่งต่างๆ แต่ความจริงเกี่ยวข้องกับชีวิตแบบองค์รวม การทำงานเพื่อรับใช้ความจริง หมายถึง การแสวงหาสิ่งที่ส่งเสริมการมีส่วนรวมและส่งเสริมความดีของทุกคน ไม่ใช่การแยกตัว แบ่งแยก และต่อต้าน