ตอนที่ 1 ระบบของศีลศักดิ์สิทธิ์
(จากหนังสือประมวลคำสอนพระศาสนจักรคาทอลิก ข้อที่ 218-249)
บทที่ 2 การฉลองพระธรรมล้ำลึกปัสกาโดยทางศีลศักดิ์สิทธิ์ การประกอบพิธีกรรมของพระศาสนจักร ผู้ประกอบพิธีกรรมคือ พระคริสตเจ้าทั้งครบ บรรดาผู้ประกอบพิธีกรรมโดยไม่ใช้ศีลศักดิ์สิทธิ์และเครื่องหมายก็คือ ผู้ที่ร่วมพิธีกรรมอยู่บนสวรรค์โดยบรรดานักบุญ ทูตสวรรค์ ทั้งในพันธสัญญาเดิมและใหม่ เป็นพิเศษจากพระมารดาของพระเจ้า พระศาสนจักรประกอบพิธีกรรมบนแผ่นดินนี้ในฐานะประชากรสงฆ์ ซึ่งแต่ละคนก็ทำหน้าที่ของตนในการเป็นหนึ่งเดียวกับพระจิต ในผู้ที่รับศีลล้างบาปแล้ว ประกอบพิธีกรรมอย่างไร การประกอบพิธีกรรมเป็นการรวมเครื่องหมายและสัญลักษณ์เข้าด้วยกัน ซึ่งมีความหมายที่หยั่งรากลึกลงในงานการสร้างโลกและในวัฒนธรรมมนุษย์ เครื่องหมายนั้นบางอย่างมาจากสิ่งที่ถูกสร้าง บางอย่างมาจากชีวิตทางสังคม และบางอย่างมาจากประวัติศาสตร์แห่งความรอดพ้นในพันธสัญญาเดิม เครื่องหมายเหล่านี้บางอย่างถูกกำหนดไว้และเปลี่ยนแปลงไม่ได้ การร้องเพลงและดนตรีเกี่ยวเนื่องกับพิธีกรรมอย่างแนบแน่น จึงต้องเคารพต่อเกณฑ์ คือตัวบทจะต้องสอดคล้องกับข้อคำสอน ควรเป็นความงดงามที่แสดงออกมาในการอธิษฐาน “ใครร้องเพลงก็เท่ากับภาวนาเป็นสองเท่า” (น.ออกัสติน) รูปภาพศักดิ์สิทธิ์มีจุดประสงค์เพื่อปลุกเร้าและหล่อเลี้ยงความเชื่อ ประกอบพิธีกรรมเมื่อไหร่ ศูนย์กลางของเทศกาลด้านพิธีกรรม คือ วันอาทิตย์ ซึ่งเป็นรากฐานศูนย์กลางของปีพิธีกรรม ในพิธีกรรมนั้นพระศาสนจักรเฉลิมฉลองธรรมล้ำลึกทั้งครบของพระคริสตเจ้า แสดงคารวะเป็นพิเศษต่อพระนางมารีย์และระลึกถึงบรรดานักบุญ เพราะเหตุนี้ ปัสกา จึงไม่เป็นเพียงแต่การฉลองงานหนึ่งท่ามกลางฉลองอื่น ๆ ทั่วไป แต่เป็น “งานฉลองของการฉลองทั้งหลาย” พิธีกรรมทำวัตร เป็นบทภาวนาโดยส่วนรวมและสามัญของพระศาสนจักร คือบทภาวนาของพระคริสตเจ้าประกอบด้วยบทเพลงสดุดีเป็นส่วนใหญ่ เราฉลองพิธีกรรมที่ไหน คารวกิจ “เดชะพระจิตและตามความจริง” (ยน 4:24) ในพันธสัญญาใหม่ไม่ผูกติดกับสถานที่ใดโดยเฉพาะบรรดาคริสตชนและพระศาสนจักรเป็นพระวิหารของพระเจ้า แต่อย่างไรก็ตามโลกนี้จำเป็นต้องมีสถานที่เพื่อชุมชนสามารถรวมกันเพื่อประกอบพิธีกรรม อาคารศักดิ์สิทธิ์คือบ้านพระเป็นเจ้า สัญลักษณ์ของพระศาสนจักร พระแท่น ตู้ศีล ที่เก็บน้ำมันศักดิ์สิทธิ์ อาสน์ของพระสังฆราชหรือของพระสงฆ์ แท่นอ่านบทอ่าน อ่างล้างบาป และที่แก้บาป เป็นสถานที่สำหรับสิทธิพิเศษ ความแตกต่างกันทางพิธีกรรมและเอกภาพของพระธรรมล้ำลึก ความมั่งคั่งที่ไม่อาจหยั่งได้ในพระธรรมล้ำลึกของพระคริสตเจ้าไม่สามารถแสดงออกโดยธรรมประเพณีทางพิธีกรรมอันใดอันหนึ่งได้หมด ความซื่อสัตย์ต่อธรรมประเพณีของอัครสาวกเป็นเกณฑ์ในความเป็นหนึ่งเดียวกัน คือความสัมพันธ์ในความเชื่อและศีลศักดิ์สิทธิ์ พระศาสนจักรเป็นสากลจึงสามารถรวมความมั่งคั่งของวัฒนธรรมทั้งหมดเข้าไปในความเป็นหนึ่งเดียวกัน พระศาสนจักรมีหน้าที่เฝ้ารักษาปัจจัยบางส่วนที่เปลี่ยนไม่ได้ และสามารถเปลี่ยนแปลงหรือประยุกต์บางส่วนให้เข้ากับวัฒนธรรมของประชากรที่หลากหลาย |
แบบฝึกหัดบทที่ 2 การฉลองพระธรรมล้ำลึกปัสกาโดยทางศีลศักดิ์สิทธิ์