ตอนที่ 2 ศีลศักดิ์สิทธิ์เจ็ดประการของพระศาสนจักร
(จากหนังสือประมวลคำสอนพระศาสนจักรคาทอลิก ข้อที่ 250-356)
บทที่ 2 ศีลศักดิ์สิทธิ์แห่งการเยียวยารักษา พระคริสตเจ้าแพทย์ของวิญญาณและร่างกาย ได้ทรงตั้งศีลศักดิ์สิทธิ์ทั้งสองประการนี้ขึ้นมาเพื่อชีวิตใหม่ที่พระองค์ประทานแก่เราในศีลศักดิ์สิทธิ์แห่งการเริ่มชีวิตคริสตชน ทรงประสงค์ให้พระศาสนจักรของพระองค์ดำเนินการต่อเนื่องงานแห่งการเยียวยารัษาและช่วยให้รอด ศีลแห่งการใช้โทษบาปและศีลแห่งการคืนดี เนื่องจากศีลล้างบาปไม่ได้ขจัดความอ่อนแอตามธรรมชาติของมนุษย์ให้หมดไป พระคริสตเจ้าจึงได้ตั้งศีลนี้ขึ้น เพื่อการกลับใจของผู้ที่ได้รับศีลล้างบาปแล้ว แต่ห่างเหินจากพระเจ้าเนื่องจากบาป ต้นตอของบาปคือจิตใจของมนุษย์ พระองค์ได้ทรงตั้งศีลนี้ขึ้นหลังจากที่ทรงกลับคืนชีพในค่ำวันปัสกา ขณะที่ทรงแสดงพระองค์แก่บรรดาอัครสาวก (ยน 20:22-23) การเรียกของพระคริสตเจ้าให้กลับใจดังกังวานอย่างต่อเนื่องในชีวิตของผู้ที่ได้รับศีลล้างบาป ความสำนึกผิด คือการเปลี่ยนแปลงของจิตใจ “จิตใจที่เป็นทุกข์” ตอบสนองต่อความรักและเมตตาของพระเจ้า รวมไปถึงความเกลียดชังต่อบาป พร้อมกับความวางใจในความช่วยเหลือของพระเป็นเจ้า การทำกิจใช้โทษบาปแสดงออกได้หลายวิธี การพิจารณามโนธรรมอย่างเอาใจใส่ ความเป็นทุกข์ถึงบาปจะสมบูรณ์ได้เมื่อได้รับแรงบันดาลใจจากความรักต่อพระเจ้า การสารภาพบาปหนักเป็นหนทางปกติหนทางเดียวที่จะได้รับการอภัย บาปไม่ใช่เรื่องส่วนตัวแต่เป็นเรื่องของส่วนรวมที่ต้องรับผิดชอบร่วมกัน เป็นการไม่ซื่อสัตย์ต่อพระองค์ เมื่อมีความเลวร้ายเกิดขึ้นมันเป็นความยุติธรรม ให้สำนึกในจิตใจและกลับมาหาพระเจ้า การแก้บาปเป็นการสกัดกั้นให้บาปที่ทำนั้นเป็นบาปใหม่อยู่เสมอ เพราะฉะนั้นการเยียวยารักษาจึงจำเป็นสำหรับพระศาสนจักร พระสงฆ์คือผู้ที่สามารถฟังแก้บาปและยกบาป พระศาสนจักรกำหนดการแก้บาปอย่างน้อยปีละครั้งและทุกครั้งที่ทำบาปหนัก ศีลเจิมคนป่วย เรียกอีกอย่างว่า ศีลทาสุดท้าย จุดประสงค์ที่ทรงรักษาคนเจ็บป่วยนั้น เป็นการรักษาภายในจิตใจ และก่อนจะรักษาพระองค์จะถามว่า “ท่านเชื่อไหม” เพราะฉะนั้นความเชื่อนำไปสู่ความรอด เราต้องยอมรับว่าสิ่งที่เกิดขึ้นไม่ใช่ผลของความเลวร้ายแต่เป็นกางเขนที่พระองค์ประทานให้ ความเจ็บป่วยเป็นเครื่องหมายที่เกิดขึ้นได้ตลอด ผู้ที่สามารถรับศีลประการนี้คือคริสตชนทุกคนที่ไกล้จะสิ้นใจเพราะความเจ็บป่วยหรือชราภาพ พระสงฆ์เท่านั้นที่เป็นผู้โปรดศีลประการนี้ พระศาสนจักรสอนว่า ศีลเจิมคนไข้ไม่ใช่การต่อเติมชีวิตหรือเพิ่มชีวิต แต่ว่าเป็นขบวนการของศีลขั้นสุดท้ายของชีวิต มีความหมายสำหรับคนที่ใกล้จะตายและจะต้องควบคู่ไปกับศีลอื่นๆ บางประการ ศีลมหาสนิทในศีลนี้ เรียกว่า “ศีลเสบียง” มีไว้สำหรับการเตรียมตัวในการเดินทางเข้าสู่ชีวิตนิรันดร์ ศีลศักดิ์สิทธิ์นั้นมีไว้สำหรับผู้ที่ยังมีชีวิตอยู่เท่านั้น ถ้าตายแล้วก็ไม่จำเป็น น้ำมันมะกอกที่ใช้เจิมนั้นให้ผลรอดฝ่ายวิญญาณ |