ตอนที่ 2 ศีลศักดิ์สิทธิ์เจ็ดประการของพระศาสนจักร
(จากหนังสือประมวลคำสอนพระศาสนจักรคาทอลิก ข้อที่ 250-356)
บทที่ 3 ศีลศักดิ์สิทธิ์ที่เสริมสร้างความสัมพันธ์และการแพร่ธรรม ศีลบวช ศีลบวช คือศีลศักดิ์สิทธิ์ซึ่งพระคริสตเจ้าได้ทรงมอบพันธกิจให้แก่บรรดาอัครสาวกของพระองค์ การบวช หมายถึงการเข้าเป็นส่วนหนึ่งในกายของพระศาสนจักรด้วยการเจิมถวายอย่างพิเศษ “มีแต่พระคริสตเจ้าเท่านั้นที่ทรงเป็นสงฆ์อย่างแท้จริง คนอื่นๆ เป็นเพียงศาสนบริกรของพระองค์” (น.โธมัส อไควนัส) ในพันธสัญญาเดิมได้มีรูปแบบล่วงหน้าถึงศีลนี้ในการให้บริการของตระกูลเลวี ศีลบวชมี 3 ระดับ คือ สังฆภาพของพระสังฆราช พระสงฆ์ และสังฆานุกร การอภิเษกพระสังฆราชมอบความครบครันแห่งศีลบวช มีหน้าที่ในการดูแลพระศาสนจักรท้องถิ่นที่ได้รับมอบหมาย พระสงฆ์ได้รับตราพิเศษด้วยการเจิมของพระจิตไม่อาจลบล้างได้ เนื่องจากได้รับการบวชเพื่อการแพร่ธรรม พระสงฆ์จึงปฏิบัติพันธกิจนั้นในพระศาสนจักรท้องถิ่นของตน สังฆานุกรรูปแบบของพระคริสตเจ้าผู้รับใช้ของทุกคนได้รับการบวชเพื่อรับใช้พระศาสนจักร แต่ละขั้นของศีลบวชทั้งสามมีการโปรดให้โดยการปกมือของพระสังฆราช ผู้ชายที่ได้รับศีลล้างบาปแล้วเท่านั้นจึงสามารถรับศีลประการนี้ได้ ศีลศักดิ์สิทธิ์ประการนี้ประทานพระจิตเจ้าลงมาอย่างพิเศษ พระสงฆ์ที่ได้รับการบวชในการปฏิบัติศาสนบริการศักดิ์สิทธิ์นั้นท่านไม่ได้พูดและกระทำด้วยอำนาจของตน แต่ในพระบุคคลของพระคริสตเจ้าผู้ทรงเป็นศีรษะและในนามของพระศานจักร ศีลสมรส จุดประสงค์ของการแต่งงานประการแรก คือเพื่อมีบุตร การแต่งงานระหว่างคาทอลิกกับคาทอลิกเท่านั้นที่เป็นศีลศักดิ์สิทธิ์ ถ้าแต่งกับศาสนาอื่นเป็นการอนุญาตให้ถูกตามกฎหมายพระศาสนจักรเท่านั้น ไม่ถือว่าเป็นศีลศักดิ์สิทธิ์ การแต่งงานนั้นเป็นแผนการของพระเจ้า ทุกกิจการเป็นกระแสเรียกไม่ใช่เฉพาะพระสงฆ์ นักบวชเท่านั้น ผลของการทะเลาะเบาะแว้งมาจากบาปไม่ใช่ธรรมชาติ ความสัมพันธ์ของมนุษย์ถูกทำลายด้วยการกล่าวโทษซึ่งกันและกันตั้งแต่สมัยอาดัม เอวา ความทุกข์ยากที่เกิดขึ้นในครอบครัวจะทำให้บาปลดลง ข้อแม้ที่พระศาสนจักรกำหนดคือ การเป็นหนึ่งเดียวกันมิอาจหย่าร้างได้ การแต่งงานเป็นพันธสัญญาที่มีต่อพระเยซูคริสตเจ้า การแต่งงานไม่สามารถลบล้างได้ แต่สามารถประกาศเป็นโมฆะได้เมื่อฝ่ายใดฝ่ายหนึ่งมีข้อขัดขวางในศีลสมรสนั้นๆ มิสซาคือหัวใจของพิธีกรรม ไม่ว่าอะไรก็ตามจะมารวมที่มิสซาหมด คาทอลิกก่อนแต่งงานต้องแก้บาป การถือพรหมจรรย์ เป็นการแต่งงานกับพระเป็นเจ้า “อิสระ” ในการแต่งงานและความสมัครใจถ้าโดนบังคับจะกลายเป็นโมฆะ ความสมัครใจเป็นข้อผูกมัดของทั้งสองฝ่ายเป็นสิ่งสำคัญที่ขาดมิได้ การมีภรรยาหรือสามีหลายคนขัดแย้งกับศักดิ์ศรีที่เท่าเทียมกัน แต่งงานแล้วแยกกันอยู่ยังสามารถแก้บาปรับศีลได้ แต่ถ้าแต่งงานใหม่ก็รับไม่ได้เพราะพระศาสนจักรไม่อาจยอมรับว่าการแต่งงานใหม่นั้นถูกต้องเพราะฉะนั้นจึงไม่ได้รับสิทธิในพระศาสนจักร |
แบบฝึกหัดบทที่ 3 ศีลศักดิ์สิทธิ์ที่เสริมสร้างความสัมพันธ์และการแพร่ธรรม