ปีศักดิ์สิทธิ์2025 การแสวงบุญเพื่อความหวัง
Jubilee Year 2025: Pilgrims of Hope
ความหมายของตราสัญลักษณ์
1. คนที่ใส่เสื้อ 4 สี คือ ฟ้า เหลือง เขียว แดง เป็นตัวแทนของคน 4 มุมทั่วโลก พวกเขาทั้งสี่กำลังสวมกอดกันและกัน แสดงให้เห็นถึง “ความเป็นหนึ่งเดียวกัน” ความเป็นพี่น้อง ที่จะต้องเป็นหนึ่งเดียวกันกับบุคคลอื่น ๆ ไม่ได้เป็นการเดินทางแสวงบุญโดยลำพัง แต่ก้าวเดินไปร่วมกับบุคคลอื่น ๆ เป็นพลังที่ทำให้เติบโต ผลักดันไปข้างหน้า ตามที่ไม้กางเขนหรือองค์พระเยซูเจ้าจะพาไป
2. พวกเขากำลังจับ “ไม้กางเขน” ด้านล่างของไม้กางเขนเป็นรูปสมอเรือ ที่มีความหมายถึง “ความหวัง”
3. คลื่นสีฟ้าที่อยู่ด้านล่าง คือ “การแสวงบุญของชีวิต” ที่ไม่ได้ราบรื่นเสมอไป
4. สถานการณ์ของบุคคลและโลกเรีกกร้องความรู้สึกมากขึ้นแห่งความหวัง
5. กางเขนที่โค้งงออันเนื่องมาจากการเคลื่อนไหวของคลื่น หมายถึง พระเยซูเจ้าที่เป็นหนึ่งเดียวและร่วมเดินทางไปกับมนุษยชาติ ในการฟันฝ่าคลื่นลมแห่งชีวิต เป็นหลักประกันในความหวังในโลกยุคปัจจุบัน
6. ตัวอักษรคำว่า “การแสวงบุญแห่งความหวัง” แสดงออกด้วยตัวอักษรสีเขียว
#ความสำคัญต่อปีศักดิ์สิทธิ์ต่อชีวิตของพระศาสนจักร (Jubilees' importance to life of the Church)
ปีศักดิ์สิทธิ์เป็นช่วงระยะเวลาที่เราจะเติบโตทางด้านฝ่ายจิต ด้านพระศาสนจักร และด้านสังคม ที่ส่งผลกระทบต่อชีวิตของพระศาสนจักรทั้งภายในและภายนอก โดยปีศักดิ์สิทธิ์ครั้งแรกเกิดขึ้นเมื่อ ค.ศ. 1300 อันเป็นเครื่องหมายของการให้อภัยบาปโดยได้รับพระคุณการุญ (Indulgence) จากความเมตตาของพระเจ้า
#ปีศักดิ์สิทธิ์เป็นเหตุการณ์ทางด้านศาสนาที่สำคัญ (In the Church, a Jubilee, or Holy Year, is a great religious event)
โดยปกติปีศักดิ์สิทธิ์ (Ordinary) ได้กำหนดให้มีขึ้นในทุก ๆ 25 ปี หรือถูกกำหนดให้มีขึ้นอย่างเป็นพิเศษ (Extraordinary) ในปีนั้น ๆ ตามโอกาสสำคัญต่าง ๆ โดยปีศักดิ์สิทธิ์ครั้งล่าสุดเกิดขึ้นเมื่อปี ค.ศ. 2000 และในปี ค.ศ. 2015 พระสันตะปาปาฟรังซิสประกาศปีศักดิ์สิทธิ์พิเศษแห่งเมตตาธรรม
#จะมีอะไรเกิดขึ้นหลังจากนี้ (What to expect soon)
หลังจากฤดูร้อนนี้แล้ว เว็บไซต์ปีศักดิ์สิทธิ์จะถูกสร้างขึ้นมา รวมถึงโปรแกรมคอมพิวเตอร์ที่เกี่ยวข้อง (Application) เพื่อประชาสัมพันธ์ แจ้งรายละเอียด ประวัติความเป็นมา การเดินทางในกรุงโรม เงื่อนไขในการแสวงบุญ โดยเฉพาะอย่างยิ่งผู้พิการและด้อยโอกาสด้านต่าง ๆ
โดยจะให้ความสำคัญเป็นพิเศษกับครอบครัว เด็ก เยาวชน กลุ่มองค์กร ผู้สูงอายุ ปู่ย่าตายาย ผู้พิการ นักกีฬา ผู้เจ็บป่วย ผู้ดูแลผู้เจ็บป่วย มหาวิทยาลัย ผู้ใช้แรงงาน นักร้องประสานเสียง นักบวช พระสงฆ์ พระศาสนจักรตะวันออก ครูคำสอน คนยากจน ผู้ถูกจองจำ และอื่น ๆ โดยจะมีกิจกรรมตลอดทั้งปี