#ยูบิลลีคืออะไร? (What is the #Jubilee?)
"ยูบีลี" เป็นชื่อที่ตั้งให้กับปีใดปีหนึ่งโดยเฉพาะ ชื่อนี้มาจากเครื่องดนตรีที่ใช้ในการเปิดตัว คือ โยเบล (yobel) ทำจากเขาแกะ ที่ใช้ในการประกาศวันแห่งการชดเชยบาป (หรือเรียกว่าวันยมคิปปูร์/ Yom Kippur เป็นวันหยุดของชาวยิว) ซึ่งเกิดขึ้นทุกปี แต่จะมีความสำคัญเป็นพิเศษเมื่อเป็นจุดเริ่มต้นของปีศักดิ์สิทธิ์ยูบีลี (Jubilee year) ในพระคัมภีร์ระบุไว้ว่า ปีศักดิ์สิทธิ์นี้จะต้องมีขึ้นทุก ๆ 50 ปี เนื่องจากนี้จะเป็นปี "พิเศษ" ซึ่งจะเกิดขึ้นทุก ๆ เจ็ดสัปดาห์ของเจ็ดปี กล่าวคือ ทุก ๆ 49 ปี (เทียบ เลวีนิติ 25:8-13) แม้ว่าจะไม่ใช่เรื่องง่ายที่จะจัดระเบียบ แต่ก็มีจุดมุ่งหมายให้ทำ
เครื่องหมายว่าเป็นเวลาที่จะสร้างความสัมพันธ์ที่เหมาะสมกับพระเจ้าอีกครั้ง กับสิ่งสร้างทั้งหมด เกี่ยวข้องกับการยกหนี้ การคืนหนี้สินที่ยืมมา ที่ดิน และการปล่อยที่ดินให้รกร้างในช่วงระยะเวลานี้ (งดการเพาะปลูกเพื่อให้ผืนดินกลับคืนสู่สภาพเดิม)
ในพระวรสารของนักบุญลูกา ได้อ้างอิงคำพูดของประกาศกอิสยาห์ บรรยายถึงพันธกิจของพระเยซูเจ้าในลักษณะนี้ว่า: "พระจิตขององค์พระผู้เป็นเจ้าทรงอยู่เหนือข้าพเจ้า เพราะพระองค์ทรงเจิมข้าพเจ้าไว้ ให้ประกาศข่าวดีแก่คนยากจน ทรงส่งข้าพเจ้าไปประกาศการปลดปล่อยแก่ผู้ถูกจองจำ คืนสายตาให้แก่คนตาบอด ปลดปล่อยผู้ถูกกดขี่ให้เป็นอิสระ ประกาศปีแห่งความโปรดปรานจากองค์พระผู้เป็นเจ้า” (ลูกา 4:18-19; เทียบ อิสยาห์ 61:1-2) พระเยซูเจ้าทรงดำเนินชีวิตตามพระวาจาเหล่านี้ในชีวิตประจำวัน ในการพบปะกับผู้อื่น และในความสัมพันธ์ของพระองค์ ซึ่งทั้งหมดนี้นำมาซึ่งการปลดปล่อยและการกลับใจใหม่
ในปี 1300 สมเด็จพระสันตะปาปาโบนิฟาซที่ 8 ทรงประกาศปีศักดิ์สิทธิ์เป็นครั้งแรก เนื่องจากเป็นช่วงเวลาที่ความศักดิ์สิทธิ์ของพระเจ้าเปลี่ยนแปลงเรา ความถี่ของปีศักดิ์สิทธิ์เปลี่ยนแปลงไปตามกาลเวลา ในตอนแรกมีการเฉลิมฉลองทุก ๆ 100 ปี ต่อมาในปี 1343 พระสันตะปาปาเคลเมลต์ที่ 6 ได้ลดช่องว่างระหว่างปีศักดิ์สิทธิ์ลงทุก ๆ 50 ปี และในปี 1470 พระสันตะปาปาเปาโลที่ 1 ทำทุก ๆ 25 ปี ยังมีปีศักดิ์สิทธิ์ที่ "พิเศษ" อีกด้วย เช่น ในปี 1933 พระสันตะปาปาปีอุสที่ 11 ทรงประกาศฉลองครบรอบ 1900 ปีแห่งการไถ่บาป และในปี 2015 พระสันตะปาปาฟรังซิสทรงประกาศปีแห่งความเมตตาเป็นปีศักดิ์สิทธิ์พิเศษ วิธีการทำเครื่องหมายปีศักดิ์สิทธ์ก็เปลี่ยนไปตลอดหลายศตวรรษ เดิมทีปีศักดิ์สิทธิ์ประกอบด้วยการแสวงบุญไปยังพระมหาวิหารนักบุญเปโตรและนักบุญเปาโล ต่อมามีการเพิ่มสัญลักษณ์อื่น ๆ เช่น การเปิดประตูศักดิ์สิทธิ์ โดยผู้ที่ได้เข้าร่วมพิธีกรรมต่าง ๆ ในปีศักดิ์สิทธิ์จะได้รับพระคุณการุณย์ครบบริบูรณ์ (plenary indulgence)