HomeJubilee 2025 (APP)การเดินทางแสวงบุญของวัดทั้งเจ็ดในกรุงโรม (The Seven Churches Pilgrimage)

การเดินทางแสวงบุญของวัดทั้งเจ็ดในกรุงโรม (The Seven Churches Pilgrimage)

#การเดินทางแสวงบุญของวัดทั้งเจ็ดในกรุงโรม (The Seven Churches Pilgrimage)

การแสวงบุญของ 'วัดทั้งเจ็ด' ซึ่งเดิมเป็นแนวคิดของนักบุญฟิลิป เนรี (St. Philip Neri) ในศตวรรษที่ 16 เป็นหนึ่งในประเพณีโรมันที่เก่าแก่ที่สุด โดยจะต้องเดินเท้าเป็นระยะทางประมาณ 25 กม. ซึ่งตัดผ่านทั่วทั้งเมือง ไปจนถึงชนบทของโรมัน สุสานใต้ดิน และแวะที่พระมหาวิหารอันงดงามบางแห่งของกรุงโรม

1. #พระมหาวิหารนักบุญเปโตร นครรัฐวาติกัน (St Peter's Basilica in the Vatican)

ตามประเพณี หลุมฝังศพซึ่งอัครสาวกเปโตรถูกฝังไว้หลังจากการตรึงกางเขนของท่านอยู่ที่นี่ บนจุดสูงสุดของเนินวาติกัน และ ณ จุดนี้ในศตวรรษที่ 4 จักรพรรดิคอนสแตนตินได้ตัดสินใจสร้างวิหารแห่งนี้ เพื่ออุทิศให้กับนักบุญเปโตร

ในช่วงยุคกลางตอนปลาย สถานที่สักการะแห่งนี้กลายเป็นสถานที่แสวงบุญหลักของโลกตะวันตก ในปี 1506 พระสันตะปาปาจูเลียสที่ 2 ตัดสินใจรื้อโครงสร้างเดิมเพื่อสร้างสักการะที่ใหญ่กว่าเดิม

ศิลปินที่ยิ่งใหญ่ที่สุดในประวัติศาสตร์บางคน มีส่วนร่วมในการก่อสร้าง และตกแต่งมหาวิหารอันน่าทึ่งแห่งนี้ เช่น บรามันเต (Bramante), ราฟาเอล (Raphael) และ ไมเคิลอันเจโล (Michelangelo) และอื่น ๆ อีกมากมาย ในปี 1629 เบอร์นีนี (Bernini) ได้ตกแต่งภายในพระมหาวิหารทั้งหลังจนเสร็จสิ้น ทำให้เกิดรูปลักษณ์ในปัจจุบัน

2. #พระมหาวิหารแม่พระแห่งกรุงโรม (Basilica of Saint Mary Major)

พระมหาวิหารแม่พระแห่งกรุงโรม เป็นสักการะสถานของพระนางมารีที่เก่าแก่และสำคัญที่สุดในพระศาสนจักรตะวันตก และเป็นพระมหาวิหารแห่งเดียวของพระสันตะปาปาที่ยังคงรักษารูปลักษณ์ภายนอกแบบคริสตศาสนาในยุคแรกเอาไว้

แม้ว่าจะได้รับการตกแต่งและขยายออกไปในช่วงหลายปีที่ผ่านมา ผู้รับผิดชอบทุกคนยังคงเคารพรูปแบบและการออกแบบดั้งเดิม ซึ่งตามธรรมเนียมแล้ว ได้รับแรงบันดาลใจมาจากความศรัทธาที่มีต่อพระเจ้า

ตามเรื่องราวดั้งเดิมของก่อตั้ง พระนางมารีย์ทรงปรากฏในความฝันต่อขุนนางที่ชื่อยอห์น และพระสันตะปาปาลิเบเรียส (Pope Liberius) ทรงแนะนำให้เขาสร้างวัดเพื่ออุทิศให้กับพระนาม ณ จุดที่เกิดอัศจรรย์หิมะตกลงมาในฤดูร้อน เมื่อเช้าวันที่ 5 สิงหาคม 358 มีผู้พบเห็นหิมะบนเนินเขาเอสควิลีน (Esquiline Hill) ซึ่งเป็นเนินเขาที่สูงที่สุดในกรุงโรม ครอบคลุมอาณาเขตพื้นที่ของวัดที่จะถูกสร้างขึ้นทั้งหมด

ทุกวันนี้ หิมะตกอันน่าอัศจรรย์นั้นยังคงได้รับการระลึกถึง เมื่อกลีบกุหลาบสีขาวร่วงลงมาจากเพดานของพระมหาวิหารในระหว่างพิธีสวดทำวัตรเย็นในวันฉลอง  ประเพณีนี้ทำให้พระมหาวิหารแห่งนี้มีความพิเศษ โดยกำหนดให้ที่นี่เป็นอนุสรณ์สถานของพระนางมารีย์ ซึ่งเป็นสถานที่ที่พระมารดาของพระเจ้าทรงปรารถนาและวางแผนให้สร้างขึ้น

พระมหาวิหารเป็นที่ตั้งของสัญลักษณ์ที่สำคัญที่สุดของพระแม่มารีย์ นั่นคือ ภาพวาดพระนางมารีย์แห่งความรอดพ้นของชาวโรม (Salus Populi Romani) ซึ่งจากธรรมประเพณีถือว่างานศิลปะนี้ เป็นฝีมือของนักบุญลูกาผู้นิพนธ์พระวรสาร และองค์อุปถัมภ์ของจิตรกร

พระสันตะปาปาฟรังซิสทรงกำหนดให้การเดินทางอภิบาลต่างประเทศของพระองค์ อยู่ภายใต้ความคุ้มครองของพระรูปนี้ โดยแวะสวดภาวนาก่อนที่พระองค์จะเสด็จออกจากกรุงโรม และอีกครั้งหนึ่งเมื่อพระองค์เสด็จกลับมา

พระธาตุเปลศักดิ์สิทธิ์ของพระกุมารเยซูเจ้า (The relic of the holy crib) ถูกวางไว้ใต้พระแท่นบูชาหลักของพระมหาวิหาร ทำให้พระมหาวิหารแห่งนี้ได้ชื่อว่า 'เบธเลเฮมแห่งตะวันตก' ที่นี่ มีการเฉลิมฉลองพิธีบูชาขอบพระคุณเที่ยงคืนวันคริสต์มาสเป็นครั้งแรก โดยพระสันตปาปาจะมาที่นี่เพื่อสืบสานประเพณีดังกล่าวมานานหลายศตวรรษ

ในบรรดาโบราณวัตถุที่สำคัญอื่น ๆ ที่อยู่ภายในมหาวิหาร ได้แก่ พระธาตุของนักบุญมัทธิวอ้ครสาวก และนักบุญเยโรมผู้แปลพระคัมภีร์จากภาษากรีกมาเป็นภาษาลาติน

พระสันตะปาปาเอเดรียนที่ 2 ทรงต้อนรับนักบุญซีริล (Saints Cyril) และนักบุญเมโทเดียส (Methodius) ในปี 867 และอนุมัติให้ใช้ข้อความภาษาสลาฟในพิธีกรรมได้ สิ่งที่น่าสังเกตก็คือ ความจริงที่ว่ามีพระสันตะปาปา 7 องค์ถูกฝังอยู่ในพระมหาวิหารแห่งนี้

3. #พระมหาวิหารนักบุญยอห์นแห่งลาเตรัน (Basilica of Saint John Lateran)

อาร์คบาซิลิกาของพระผู้ไถ่ และของนักบุญยอห์นผู้ทำพิธีล้างและผู้นิพนธ์พระวรสาร หรือที่รู้จักกันทั่วไปในชื่อนาม พระมหาวิหารนักบุญยอห์นแห่งลาเตรัน ตั้งอยู่ในบริเวณเนินเขาเคเลียน (Caelian Hill)

เดิมที ก่อนการก่อสร้างพระมหาวิหาร ตระกูลลาเทรานีโบราณ (Laterani) เป็นเจ้าของพื้นที่นี้และอาศัยอยู่ใกล้เคียง บันทึกพงศาวดารแห่งทาสิทัส (Tacitus) ในปีคริสตศักราช 65 บันทึกการยึดที่ดินโดยจักรพรรดิเนโร เนื่องจากสมาชิกบางคนในครอบครัวมีส่วนร่วมในแผนการต่อต้านเขา

ต่อมา ดินแดนดังกล่าวตกไปอยู่ในการครอบครองของเฟาสตา (Fausta) ซึ่งเป็นภรรยาของฟลาวิอุส วาเลริอุส คอนสแตนตินัส (Flavius Valerius Constantinus) ซึ่งหลังจากการสวรรคตของบิดาของเขาในปี 306 ก็ได้รับการสถาปนาเป็นจักรพรรดิ

จักรพรรดิคอนสแตนติน - โดยพระราชกฤษฎีกาแห่งมิลาน - ประทานเสรีภาพในการนับถือศาสนาให้กับบรรดาคริสตชนในปี 313 เพื่อให้คริสตจักรที่เพิ่งตั้งขึ้นใหม่มีสถานที่ที่เหมาะสมสำหรับการเฉลิมฉลอง (พิธีบูชาขอบพระคุณ) พระองค์จึงมอบที่ดินของที่ดินลาเตรันแก่พระสันตะปาปาเมลคิอาเดส (Pope Melchiades) ซึ่งถือเป็นส่วนหนึ่งของสินสอดของภรรยาของเขา เพื่อที่พระสันตะปาปาจะได้สร้างวัดขึ้นนั่น

พระมหาวิหารแห่งนี้ได้มีพิธีเปิดและเสกอย่างเป็นทางการในปี 324 โดยพระสันตะปาปาซิลเวสเตอร์ที่ 1 (Pope Sylvester I) และอุทิศให้กับพระผู้ไถ่ ต่อมา ในศตวรรษที่ 9 พระสันตะปาปาเซอร์จิอุสที่ 3 (Pope Sergius III) ยังได้อุทิศอุทิศให้กับนักบุญยอห์นผู้ทำพิธีล้าง และในศตวรรษที่ 12 พระสันตะปาปาลูเซียสที่ 2 (Pope Lucius II) ได้เพิ่มนักบุญยอห์นผู้นิพนธ์พระวรสารไปอีกชื่อหนึ่ง

ตั้งแต่ศตวรรษที่ 4 ถึงศตวรรษที่ 14 เมื่อพระสันตะปาปาย้ายที่ประทับไปยังเมืองอาวิญง (Avignon) ประเทศฝรั่งเศส ลาเตรันยังคงความเป็นอาสนวิหารหลักของตำแหน่งสันตะปาปา จึงกลายเป็นสัญลักษณ์ และเป็นหัวใจสำคัญของชีวิตของพระศาสนจักรมาอย่างยาวนาน

ในปี 1378 ด้วยการเลือกตั้งเกรกอรีที่ 11 (Gregory XI) พระสันตะปาปาเสด็จกลับมายังกรุงโรม แต่พระสันตะปาปาทรงตัดสินใจย้ายความเป็นอาสนวิหารไปยังวาติกัน เนื่องจากลาเตรันอยู่ในสภาพที่ย่ำแย่มาก

ในปี 1650 พระสันตะปาปาอินโนเซนต์ที่ 10 (Innocent X) ทรงรับหน้าที่บูรณะพระมหาวิหารทั้งหมด โดยมอบหมายงานให้กับฟรานเชสโก บอร์โรมินี (Francesco Borromini) ศิลปินชื่อดังในขณะนั้น

4. #พระมหาวิหารนักบุญเปาโลนอกกำแพงเมือง (Basilica of Saint Paul Outside the Walls)

หลังจากคำสั่งของมิลานในปี 313 ซึ่งให้เสรีภาพแก่คริสตชนในการนับถือศาสนา จักรพรรดิคอนสแตนตินได้ตัดสินใจบริจาคมหาวิหาร 2 แห่งให้กับวัดที่เพิ่งตั้งขึ้นใหม่ ซึ่งสร้างขึ้นบนหลุมศพของนักบุญเปโตรและเปาโล

อย่างไรก็ตาม ในศตวรรษที่ 5 จักรพรรดิทั้งสามผู้ครองราชย์ในสมัยนั้น ได้แก่ ธีโอโดเซียส (Theodosius) วาเลนติเนียนที่ 2 (Valentinian II) และอาร์คาดิอุส (Arcadius) เมื่อเห็นว่าผู้แสวงบุญหลั่งไหลเข้ามาอย่างต่อเนื่องนั้น มากเกินกว่าที่พระมหาวิหารดั้งเดิมจะรับมือได้ จึงต้องสร้างอาคารที่ใหญ่ขึ้น ในการทำเช่นนั้น การวางแนวของพระมหาวิหารก็เปลี่ยนไปโดยหันหน้าไปทางทิศตะวันตก

เฉพาะในปี 1854 เท่านั้นที่พระสันตปาปาปิอุสที่ 9 (Pius IX) ทรงเปิดพระมหาวิหารหลังปัจจุบันซึ่งมีสายโซ่ ซึ่งตามประเพณีเชื่อว่าได้มัดอัครสาวกเปาโลไว้กับทหารโรมันที่เฝ้าดูเขาในขณะที่ท่านถูกจำคุกเพื่อรอการพิจารณาคดี

5. #พระวิหารนักบุญลอเรนซ์นอกกำแพงเมือง (Basilica of Saint Lawrence outside the Walls)

ในปี 258 จักรพรรดิวาเลเรียนได้ประกาศใช้พระราชกฤษฎีกาให้ประหารพระสังฆราช พระสงฆ์ และสังฆานุกรทั้งหมด ในบรรดาผู้ที่ตกเป็นเหยื่อคือนักบุญลอเรนซ์ สังฆานุกรเชื้อสายสเปน ซึ่งพระวิหารแห่งนี้อุทิศให้และบรรจุพระธาตุของท่านไว้

ตามประเพณีเล่าว่านักบุญลอเรนซ์ถูกสังหารบนตะแกรงเหล็กที่ลุกเป็นไฟ ตรงกับจุดที่จักรพรรดิคอนสแตนตินสร้างพระวิหารไว้ในปัจจุบัน

พระวิหารหลังปัจจุบันเป็นการผสมผสานระหว่างโครงสร้างสองหลังก่อนหน้านี้ โดยหลังหนึ่งสร้างขึ้นในช่วงปลายศตวรรษที่ 6 และอีกหลังหนึ่งเมื่อต้นศตวรรษที่ 13

พระวิหารแห่งนี้ถูกทำลายอย่างสิ้นเชิงในช่วงสงครามโลกครั้งที่ 2 จากการโจมตีทางอากาศของฝ่ายสัมพันธมิตร และต่อมาได้รับการสร้างขึ้นใหม่จากซากปรักหักพัง ภาพจิตรกรรมฝาผนังจำนวนมากสูญหายไปในการบุกโจมตี ในขณะที่ส่วนที่เหลือของพระวิหารโบราณถูกมารวมกันไว้ที่สุสานเวราโน (Verano Cemetery) ในปัจจุบัน

6. #พระวิหารไม้กางเขนศักดิ์สิทธิ์ในเยรูซาเล็ม (Basilica of the Holy Cross in Jerusalem)

ในสมัยจักรพรรดิออกุสตุส (Emperor Augustus) บริเวณที่พระวิหารตั้งอยู่ในปัจจุบันเป็นเขตที่อยู่อาศัยบริเวณชานเมือง ต่อมาในศตวรรษที่ 3 ได้มีการสร้างที่ประทับของจักรพรรดิคอนสแตนตินบนเนื้อที่นี้

เมื่อจักรพรรดิคอนสแตนตินย้ายเมืองหลวงของจักรวรรดิไปยังกรุงคอนสแตนติโนเปิล พื้นที่ดังกล่าวยังคงอยู่ในมือของนักบุญเฮเลน ผู้เป็นมารดาของพระองค์ ซึ่งตัดสินใจเปลี่ยนส่วนหนึ่งของที่พักอาศัยให้เป็นห้องอธิษฐานภาวนาสำหรับเก็บพระธาตุของไม้กางเขนศักดิ์สิทธิ์ ซึ่งเธอเองได้พบที่เขากัลวารีโอ ระหว่างที่เธอ แสวงบุญไปยังดินแดนศักดิ์สิทธิ์ในปี 325 รอบ ๆ วัดเดิมมีการสร้างพระวิหารในปัจจุบันขึ้นในภายหลัง

มีการบูรณะและดัดแปลงอาคารต่าง ๆ มากมายตลอดหลายศตวรรษที่ผ่านมา โดยเฉพาะอย่างยิ่ง ผลงานของพระคาร์ดินัลเมนโดซา (1478-1495) ซึ่งในระหว่างนั้น มีการพบหีบศพที่มีป้ายไม้ที่เขียนข้อหาของพระเยซูเจ้าบนไม้กางเขน (Titulus Crucis) อยู่ในส่วนโค้ง (apsidal arch)

ตั้งแต่แรกเริ่ม พระวิหารได้รับการพิจารณาว่าเป็นศูนย์รวมวัตถุโบราณ ซึ่งมีหน้าที่หลักในการปกป้องและรักษาโบราณวัตถุอันล้ำค่าแห่งพระมหาทรมานของพระเยซูเจ้า มันถูกเรียกว่า "ในกรุงเยรูซาเล็ม" เพราะมีการนำดินจากเขากัลวารีโอจากกรุงเยรูซาเล็มมาบรรจุไว้ในรากฐานของพระวิหารแห่งนี้

7. #พระวิหารนักบุญเซบาสเตียนนอกกำแพงเมือง (Basilica of Saint Sebastian outside the Walls)

จักรพรรดิคอนสแตนตินทรงสั่งให้สร้างพระวิหารแห่งนี้ขึ้นในศตวรรษที่ 4 โดยตั้งชื่อให้ว่า พระวิหารแห่งอัครสาวก (Basilica Apostolorum) เพื่อเป็นเกียรติแก่นักบุญเปโตรและเปาโลอัครสาวก ซึ่งพระธาตุของท่านทั้งสองได้ถูกเก็บไว้ที่นี่ประมาณ 50 ปีในช่วงการเบียดเบียนของจักรพรรดิวาเลอเรียน ในศตวรรษที่ 3

ต่อมาชื่อของพระก็เปลี่ยนเป็นนักบุญเซบาสเตียน เพื่อเป็นเกียรติแก่ทหารที่เสียชีวิตในสมัยของจักรพรรดิดิโอคลีเชียน ซากศพของทหารเหล่านั้นถูกเก็บรักษาไว้ในสุสานใต้ดินที่อยู่ติดกัน กลายเป็นจุดศูนย์กลางของความศรัทธาต่อนักบุญที่เพิ่มมากขึ้น

การก่อสร้างวัดประจำชุมชน (parish) เกิดขึ้นในปี 1714 โดยพระสันตะปาปาเคลมองต์ที่ 11 ผู้มอบหมายให้วัดนี้ดูแลโดยนักบวชคณะซิสเตอร์เซียน (Cistercians) ต่อมาในปี 1826 พระสันตะปาปาลีโอที่ 12 ได้ทรงมอบหมายให้นักบวชคณะฟรังซิสกันภราดาน้อยเป็นผู้ดูแลมาจนถึงทุกวันนี้

เมื่อวันที่ 3 พฤษภาคม 1957 นักบุญเซบาสเตียนได้เป็นผู้อุปถัมภ์ของพนักงานจราจรของอิตาลี (Italian Parking Wardens) ตามคำสั่งของพระสันตะปาปาปิอุสที่ 12 จนถึงทุกวันนี้ ในวันที่ 20 มกราคม ซึ่งเป็นวันฉลองนักบุญเซบาสเตียน เจ้าหน้าที่จราจรของกรุงโรมจะมาร่วมพิธีเฉลิมฉลอง ณ วิหารแห่งนี้


สถิติการเยี่ยมชม

10185710
Today
Yesterday
This Week
Last Week
This Month
Last Month
All days
1013
5938
27582
10131058
83098
93445
10185710
Your IP: 52.15.55.18
Server Time: 2024-09-21 10:28:10

แบบฟอร์ม

instagram

พระศาสนจักร


สื่อ YOUTUBE


Laudato si’

บทเรียนคำสอน





บทภาวนา

พิธีกรรมต่างๆ

เอกสารพระศาสนจักร

บทความคำสอน



KAMSONCHAN

 

   องค์กรคาทอลิก              คณะนักบวช  
 

สภาพระสังฆราชคาทอลิกแห่งประเทศไทย
คณะกรรมการคาทอลิกเพื่อคริสตศาสนธรรม
แผนกคริสตศาสนธรรม
อัครสังฆมณฑลกรุงเทพฯ
ศูนย์คริสตศาสนธรรม อัครสังฆมณฑลกรุงเทพฯ
สังฆมณฑลจันทบุรี
คณะรักกางเขนแห่งจันทบุรี
มูลนิธิสงเคราะห์เด็ก พัทยา
คามิลเลียนโซเชียลเซนเตอร์ ระยอง

  สังฆมณฑลนครราชสีมา                       
ศูนย์คริสตศาสนธรรม สังฆมณฑลนครราชสีมา
สังฆมณฑลอุบลราชธานี
ศูนย์คริสตศาสนธรรม สังฆมณฑลอุบลราชธานี   
สังฆมณฑลราชบุรี
ศูนย์คริสตศาสนธรรม สังฆมณฑลราชบุรี
ศูนย์คริสตศาสนธรรม สังฆมณฑลราชบุรี
สังฆมณฑลนครสวรรค์
สังฆมณฑลเชียงใหม่
  สังฆมณฑลสุราษฎ์ธานี
สังฆมณฑลอุดรธานี
ศูนย์คริสตศาสนธรรม สังฆมณฑลอุดรธานี

สภาการศึกษาคาทอลิกประเทศไทย
คณะกรรมการคาทอลิกเพื่อความยุติธรรมและสันติ (ยส.)
คณะกรรมการคาทอลิกเพื่อพระคัมภีร์
คณะกรรมการคาทอลิกเพื่อสุขภาพอนามัย
สื่อมวลชนคาทอลิกประเทศไทย
สื่อมวลชนคาทอลิกประเทศไทย (อุดมสาร)
  ชมรมอธิการิณีเจ้าคณะนักบวชแห่งประเทศไทย
คณะภคินีเซนต์ปอลเดอร์ชาร์ต
คณะภคินีศรีชุมพาบาล       
คณะพระมหาไถ่แห่งประเทศไทย
คณะเซนต์คาเบรียล
คณะซาเลเซียน
คณะซาเลเซียน (ซิสเตอร์)
กางเขนแดงสาร

 



JSN Megazine template designed by JoomlaShine.com